ปฏิบัติ ถูก หรือ ผิด
วิธีพิจารณาว่าปฏิบัติถูกหรือผิดแนวทาง อย่างง่ายๆ
ปฏิบัติแล้ว
จิตเก่ง จิตกล้า มีมานะ ทิฏฐิ อันมักเกิดจากการปฏิบัติสมถสมาธิแต่ฝ่ายเดียว
ปฏิบัติ(สมถวิปัสสนา)แล้ว
แล้วเกิดนิพพิทา
อันเกิดจากการโยนิโสมนสิการหรือการเจริญวิปัสสนา
ปฏิบัติสมถสมาธิแล้ว
อยู่แต่ในความอิ่มเอิบ สุข สบาย ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าในขณะปฏิบัติหรือในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน
ปฏิบัติสมถสมาธิแล้ว
อยู่แต่ในความสงบ แช่นิ่งอยู่ภายใน ไม่ว่าในขณะปฏิบัติหรือในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน
ปฏิบัติสมถสมาธิแล้ว
เกิดความอิ่มเอิบ สุข สงบ สบาย แล้วดำเนินการโยนิโสมนสิการหรือเจริญวิปัสสนา(สมถะ+วิปัสสนา)
ปฏิบัติเพื่อหวังทางอิทธิฤทธิ
ปาฏิหาริย์
ปฏิบัติเพื่อหวังดับอุปาทานทุกข์
ปฏิบัติเพื่อหวังผลทางโลกๆ
ปฏิบัติเพื่อหวังการดับไปแห่งทุกข์
ปฏิบัติดับทุกข์ธรรมชาติหรือทุกขเวทนา
ปฏิบัติเพื่อดับกิเลส
ตัณหา อุปาทาน หรืออุปาทานทุกข์
เห็นหรือระลึกรู้เท่าทันทุกขเวทนา
แล้วอุเบกขา
เห็นทุกขเวทนา
แล้วไม่อยากให้เกิด แล้วคิดปรุงแต่ง
ปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดทุกขเวทนา
ปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดทุกข์อุปาทาน
ปฏิบัติโดย
จิตส่งใน
เพื่อไปเสพรสในฌาน สมาธิ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามที
ปฏิบัติโดย
จิตมีสติระลึกรู้เท่าทัน หรือมีสติพิจารณาอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม(สติปัฏฐาน๔)
ปฏิบัติแล้ว
เมื่ออยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว เผลอจมแช่อยู่ในความสงบสบายภายใน
ปฏิบัติแล้ว
เมื่ออยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว จิตเบิกบาน ว่องไว
ปฏิบัติแล้ว
เห็นว่าทุกข์อุปาทานที่เผาลนน้อยลงไปเป็นลำดับ
ปฏิบัติแล้ว
แต่หวังอยากได้ผลทางโลก หรือหวังแต่มรรคผลนิพพาน
ผู้รู้
ก็คือ สติ
ผู้รู้
คือ ของวิเศษ
ปฏิบัติแล้ว
มีสติหรือผู้รู้เกิดขึ้น แล้วไปยึดถือ หรือไปอุปโลกว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นองค์
มีสติหรือผู้รู้เกิดขึ้น
แล้วปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น (อุเบกขา
หรือ หยุดคิดปรุงแต่ง หรือ ไม่ฟุ้งซ่าน)
ศรัทธาเป็นสิ่งที่ดี
แต่ต้องไม่งมงาย ประกอบด้วยปัญญา
ศรัทธาอย่างงมงาย
ขาดเหตุผล ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นวิปัสสนูปกิเลส(อธิโมกข์)
นิมิตที่เห็น
เห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นไม่จริง จึงอาจผิดหรือถูกก็ได้
นิมิตที่เห็น
แล้วไปยึดว่าจริง ยึดว่าถูกต้อง ยึดว่าเป็นฤทธิ์เป็นเดช
จิต
เกิดแต่เหตุปัจจัย ไม่มีตัวไม่มีตน มีสภาพเหมือนดังเงา ที่เกิดดับ..เกิดดับ
ในผู้ที่มีชีวิต
จิตมีตัวมีตน
มีรูปให้เห็น
เห็นว่าจิตนั้นเป็นตัวตนหรือมีตัวตน เป็นรูป
เป็นโอภาส
เห็นว่าจิต
นั้นเกิดแต่เหตุอันคือขันธ์ ๕และสิ่งที่ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น จึงมีสภาพเกิดๆดับๆ
คล้ายดั่งเงา
อสังขตธรรมหรือธรรมหรือธรรมชาติหรือสภาวธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง
อสังขตธรรมทั้งปวงคงทนอยู่ไม่ได้
อสังขตธรรมธรรมทั้งปวงเที่ยง
อสังขตธรรมทั้งปวงคงทนอยู่ได้ทุกกาล
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงคงทนอยู่ไม่ได้
นับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
โดยปฏิบัติตามธรรมคำสอนของพระองค์
นับถือพระพุทธเจ้าแบบเป็นพระเจ้า
ไว้อ้อนวอนบนบานอธิษฐาน จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี
เห็นเข้าใจว่า
จิตนั้นเป็นตัวตน หรือเป็นของตัวของตน
เห็นเข้าใจว่า
กายนั้นเป็นตัวตน หรือเป็นของตัวของตน
มีความเห็นเข้าใจว่า ทั้งกายและจิตล้วนไม่เป็นตัวตนแท้จริง ล้วนเกิดมาแต่เหตุปัจจัย
มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง
จึงไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนอย่างเป็นแก่นแกนแท้จริง
การตามลมหายใจอย่างต่อเนื่อง
ด้วยความชำนาญเคยชินแต่อย่างเดียว เป็นการปฏิบัติวิปัสสนา
การตามลมหายใจอย่างต่อเนื่อง
ด้วยความชำนาญเคยชินแต่อย่างเดียว เป็นการปฏิบัติสมถะสมาธิ
การตามลมหายใจอย่างมีสติหรือพิจารณา
เป็นทั้งการฝึกสติและวิปัสสนา
การปฏิบัติไม่ว่าจะโดยวิธีการใดๆก็ตาม เช่น ตามลมหายใจ การบริกรรม
-หรือการกำหนดการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอารมณ์
เป็นสมถสมาธิแต่อย่างเดียว
แล้วไปจดจ่อเสพรส ความสุข ความสงบ ความสบายแต่ฝ่ายเดียว ไม่ดำเนินการวิปัสสนา
-เมื่อชำนาญขึ้น
ก็จักยังให้โทษ เป็นมิจฉาสมาธิ
ปฏิบัติแล้ว
ไปยึดมั่นถือมั่นในฌานสมาธิ หรือนิมิต
ปฏิบัติแล้ว
ไม่ยึดมั่นถือมั่นกล่าวคือไม่ติดเพลิน ไม่ยึดถือในฌานสมาธิและนิมิต
|
|