ปฏิจจสมุปบาท โดยย่อ
กระบวนธรรมการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ โดยย่นย่อ
วงจรปฏิจจสมุปบาท |
คลิกขวาเมนู |
มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ว่า อย่าประมาทในปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นของง่าย
อวิชชา อีกทั้งร่วมด้วยกับ อาสวะกิเลส อันได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส คือ กิเลสที่หมักหมมนอนเนื่องทับถมอยู่ในจิตคือความทุกข์สุขต่างๆแต่อดีต หรือก็คือสัญญาเจือกิเลสที่เคยสั่งสมอบรมแต่นอนเนื่อง รอเวลาขึ้นมาซึมซ่านย้อมจิต เมื่อผุดขึ้นมา หรือนึกคิดขึ้น หรือมีสิ่งมากระทบคืออายตนะภายนอกต่างๆคือรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ มากระทบกระตุ้นเร้า จึงเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิด สังขาร คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น(ย่อมแฝงด้วยกิเลสจากอาสวะกิเลส)หรือ สังขารกิเลสคือสังขารเดิมๆตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่อดีตขึ้น ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดกรรมคือการกระทำต่างๆ แต่สังขารนี้ย่อมแฝงกิเลสไว้ด้วยอำนาจของอาสวะกิเลสและอวิชชาอันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นมา เช่นจาก อายตนะภายนอกที่จรมา ความคิดนึกต่างๆ(ธรรมารมณ์), และแม้กระทั่งอารมณ์ทางโลกฝ่ายอกุศลต่างๆที่สามารถผุดขึ้นได้จากอดีตคืออาสวะกิเลส(สังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล เช่น ราคะ โทสะ โมหะ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ.) ฯ. จึงย่อมแฝงครอบงำสังขารนี้อยู่ในที จึงเป็นสังขารกิเลสหรืออกุศลสังขาร สังขารนี้จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ให้เกิด วิญญาณ ที่ย่อมต้อง"รู้แจ้ง"ในสิ่งที่กระทบอันเป็นวิสัยของชีวิต ณ.ที่นี้ก็คือ สังขารกิเลสข้างต้นหรือธรรมารมณ์หรือความนึกคิดต่างๆที่ได้สั่งสมอบรมมาที่ได้ผุดระลึกขึ้นมา หรืออาจถูกกระตุ้นเร้าด้วยเหตุอันใดก็ดี จึงเป็นเหตุปัจจัยกระตุ้นให้เกิดวิญญาณ คือ"รู้"ในสังขารที่เกิดขึ้นนั้นนั่นเอง เป็นธรรมดาของชีวิต วิญญาณนี้จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด นาม-รูป รูป-นาม หมายถึงชีวิต แต่ ณ.ที่นี้เป็น นาม-รูป ที่มีความหมายถึงฝ่ายนามธรรม คือ เป็นการกล่าวถึงการทำหน้าที่การงาน จึงหมายถึงการเกิดเริ่มทำงานตามหน้าที่คือครบองค์ประกอบเร้าให้การเกิดทำงานของชีวิตหรือรูปนาม กล่าวคือขันธ์ทั้ง ๕ เกิดการเชื่อมสัมพันธ์กันด้วยวิญญาณ(ระบบประสาท)อีกด้วย นาม-รูปจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ เป็นนามธรรมในการกล่าวถึงการทำงานของอายตนะภายในทั้ง ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดการตื่นตัวหรือพร้อมถูกเร้าให้เริ่มการทำงานตามหน้าที่ของตนนั่นเอง เนื่องสัมพันธ์กับสังขารที่เกิดขึ้น ; สฬายตนะจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ผัสสะ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ อันมี สังขาร สฬายตนะ และวิญญาณ (เช่น คิด+ใจ+วิญญาณ) ข้างต้นกล่าวคือครบองค์ของการเกิดการผัสสะ หรือการประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ครบองค์ของการตื่นตัวทำงานร่วมกัน ผัสสะจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด เวทนา การเสวยอารมณ์หรือการเสวยความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการรสสัมผัสของการกระทบกับสังขารนั้นๆ(ผัสสะ) จึงเกิดความรู้สึกจากรับรู้รสสัมผัส ที่ย่อมแฝงด้วยอาสวะ เวทนาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ตัณหา ความทะยานอยากความปรารถนา คือสังขารขันธ์ อาการของจิตหรืออารมณ์ที่ประกอบด้วยความปรารถนา ความทะยานอยาก ความใคร่ อีกทั้งรวมถึง สังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลต่างๆอีกด้วย เช่น โทสะ โมหะ โลภะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน อีกทั้งนันทิความติดเพลิน ฯ. เพราะทั้งอาสวะกิเลสและอวิชชาที่ครอบงำมาแต่แรก ล้วนเพื่อให้เป็นไปตามกิเลสคือความปรารถนาความต้องการของตน(กล่าวคือ เกิดสังขารขันธ์ชนิดอกุศลสังขาร อันคือตัณหา เพราะอาสวะที่แฝงครอบงำอยู่แต่เบื้องต้น จึงเกิดสังขารกิเลสขึ้นข้างต้น ตัณหาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน ความยึดมั่นหมายมั่นด้วยอำนาจกิเลสตนตามสัญญาที่ได้สั่งสมอบรมไว้แต่อดีต คือตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน หรือก็คืออกุศลเจตนา(อกุศลสัญเจตนานั่นเอง แต่เจตนา,ความคิดอ่านต่างๆนี้ย่อมเห็นเป็นไปตามกิเลสความความยึดถือหมายมั่นของตัวตนเป็นสำคัญ หรือ"อกุศลเจตนา"นั่นเอง จึงเป็นไปดั่งพุทธภาฆิตที่กล่าวว่า "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" ที่แปลได้ว่า "เจตนา(หรืออุปาทานด้วย)นั่นแหละกรรม" อันมีที่มาจากพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทาม, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละกรรม(เกิดการกระทำ) เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรม(การกระทำต่างๆ)โดยทางกาย วาจา ใจ" อุปาทานจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ภพ สภาวะความตกลงปลงใจของจิต หรือสภาวะของจิต หรือภพจิตของชีวิต ความมี ความเป็น ณ.ขณะนั้นๆ จึงเทียบได้กับกรรม(ในขันธ์ ๕ หรือก็คือมโนสังขาร-สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ให้เกิดกรรม) ภพจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ การเกิด แต่หมายถึง การเกิดขึ้นของทุกข์ด้วยประการละฉะนี้ ดังเช่น โทสะ โลภะ โมหะ ฯ. เนื่องต่อสัมพันธ์กันต่อไปอีกเรื่อยๆ เกิดความคิด(กรรม)อันเป็นทุกข์จากอกุศลสังขารขันธ์(มโนกรรม)ในองค์ธรรมตัณหา จึงตกอยู่ในความครอบงำของอุปาทานจึงแรงกล้า ตัณหาอันเป็นเพียง"อกุศลสังขารขันธ์"จึงแปรปรวนครอบงำด้วยอำนาจอุปาทานอีกครา จึงแปรปรวนไปเป็นอุปาทานขันธ์ คือ "สังขารูปาทานขันธ์คือสังขารขันธ์ที่อยู่ในอำนาจของอุปาทาน" อันเป็นทุกข์ด้วยอำนาจอุปาทาน จึงเป็นการเกิดขึ้น(ชาติ)ของทุกข์หรือการกระทำต่างๆที่เนื่องให้เป็นทุกข์ด้วยประการฉะนี้ ชาติจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา-มรณะ พรั่งพร้อมอีกทั้ง โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส(อาสวะกิเลส) ชราคืออาการแปรปรวน การเปลี่ยนแปลง จึงหมายถึงการแปรปรวน เปลี่ยนแปลง การวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ คือวนเวียนอยู่ในกองทุกข์นั้นๆคือวนเวียนอยู่ในความคิดหรือธรรมารมณ์ที่เกิดนั้นในชาติ อันเป็นสังขารูปาทานขันธ์ อารมณ์ต่างๆภายใต้อำนาจอุปาทาน จึงแรงกล้า จึงวนเวียนเป็นวงจรอีกวงจรหนึ่งที่เกิดภายในองค์ธรรมชรา ที่ล้วนแต่เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์เพราะถูกครอบงำด้วยอุปาทานข้างต้นแล้ว เมื่อวนเวียนจึงจมอยู่ในกองทุกข์นั้นๆแสนยาวนาน จนกว่าจะดับไปคือมรณะ คือการดับไปของกองทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นๆในชั่วขณะหนึ่งๆ แต่ยังมีผลพวงคือสัญญา การบันทึก เก็บจำ คือสัญญาจำได้ไปนอนเนื่องในเหล่าทั้งสุขและทุกข์ต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้นเองโดยธรรมชาติของชีวิต ในสิ่งทที่ท่านเรียกว่าอาสวะกิเลส คือเก็บจำนอนเนื่องในเหล่า โสกะ(ความโศกเศร้า) ปริเทวะ(ความร่ำไรรำพัน ความคร่ำครวญ ความรำพันในสุขในทุกข์ ความบ่นเพ้อทั้งจากสุขและทุกข์) ทุกข์(ทุกข์กาย) โทมนัส(ทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ ความสิ้นหวัง) ที่เก็บจำเป็นสัญญา ที่สามารถผุดนึกผุดคิดขึ้นมาเองได้โดยธรรมชาติของชีวิต หรือเมื่อมีสิ่งใดไปกระตุ้นเร้า ซึ่งเมื่อร่วมด้วยอวิชชา(ความไม่รู้จริงในทุกข์) ย่อมทำให้วงจรของทุกข์หมุนหนุนเนื่องเป็นวงจรขึ้นอีก ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด......การเกิดขึ้นของกองทุกข์จึงมีด้วยประการฉะนี้ ไปตลอดกาลนาน
ภาพแสดงลำดับการเกิดวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบปฏิโลมหรือสมุทยวาร
การเกิดขึ้นของกองทุกข์
นอนเนื่องอยู่ในจิต ๑๖. อาสวะกิเลส โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ๑๕. มรณะ พรั่งพร้อมด้วย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ๑๔. เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา อันวนเวียน เร่าร้อนเผาลน ๑๓. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ๑๒. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ๑๑. เพราตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ๑๐. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ๙. |
๑. เพราะยังมีอาสวะกิเลส ๒. จึงเป็นเหตุปัจจัย ร่วมกับอวิชชา ๓. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ๔. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ๕. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูป ๖. เพราะนาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ๗. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ๘. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา |
แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท และวงจรในองค์ธรรมชรา(สีแดง)ที่ทำงานเป็นวงจรอันเร่าร้อนด้วยอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๒ วงจรที่ร่วมเนื่องสัมพันธ์กัน
อาสวะกิเลส อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป มรณะ สฬายตนะ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ (เกิดมโนกรรม) ชรา อันเป็นทุกข์ วนเวียนปรุงแต่งและเร่าร้อน ผัสสะ เวทนูปาทานขันธ์ วิญญูาณูปาทานขันธ์ ใจ ธรรมารมณ์ (มโนกรรมจาก"ชาติ"มาทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์) ชาติ (สังขารขันธ์ แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก เวทนา (มโนสังขาร) (อกุศลสัญเจตนา) (สังขารขันธ์) ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร |
ภาพขยาย กระบวนธรรมขององค์ธรรมชรา ที่หนุนเนื่องวนเวียนเป็นวงจรของความทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนอีกวงจรหนึ่งภายในวงจรปฏิจจสมุปบาท
ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ......ธรรมารมณ์ ใจ วิญญูาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ วงจร ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์ ดำเนินไปตามวงจรใหม่ อาสวะกิเลส มรณะ ......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์ สัญญูปาทานขันธ์ ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
ในองค์ธรรมชรา เกิดกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์ของทุกข์ ที่วนเวียนปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนโดยไม่รู้ตัว ดังภาพที่แสดง จึงเป็นวงจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาด้วยแรงขับเคลื่อนของมโนกรรมหรือความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์นั่นเอง และขันธ์ทั้ง ๕ ก็ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตนอยู่แล้วจึงเป็นทุกข์หมุนเวียนอยู่ในวงจรอย่างยาวนานดังกล่าว จนกว่าจะดับไปด้วยจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือด้วยสติรู้เท่าทันจึงหยุดกรรมได้ และก็เกิดใหม่ได้อีกด้วยผุดขึ้นมาเอง หรืออาจถูกกระตุ้นเร้าจากการผัสสะของอายตนะต่างๆ บรรดาขันธ์ ๕ ที่เกิดในชราคือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนแต่ถูกครอบงำแล้วด้วยอุปาทาน, ทุกขันธ์จึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ตามลำดับ ความทุกข์จึงเกิดได้ยาวนานจนกว่าจะสิ้นกรรม หรือมีสติรู้เท่าทัน เพราะย่อมสามารถผุดคิดผุดนึกหรือถูกกระตุ้นเร้าขึ้นมาอีกเมื่อใดก็ได้นั่นเอง
ขยายความรายละเอียดแต่ละองค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมบันลือโลก