ไปสารบัญ

หัวข้อธรรม ๑๐

เวทนาขันธ์ VS. สังขารขันธ์

คลิกขวาเมนู

        เวทนาขันธ์ การเสวยอารมณ์ แปลตรงๆหมายถึงการเสพรสอารมณ์(คือสิ่งที่จิตกำหนดหมายในขณะนั้นๆ)  หรือคือการเสพรู้รสในสิ่งที่ผัสสะ จึงย่อมเกิดความรู้สึกพร้อมการรับรู้ในรสชาดของสิ่งที่ผัสสะนั้นขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต คือ การกระทบกันของอายตนะภายในทั้ง๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับอายตนะภายนอกทั้ง๖(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)  เมื่อรับรู้ที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา(ที่ไม่ธรรมดา)  และเพราะการร่วมด้วยสัญญาความจำได้ในสิ่งที่ผัสสะหรือกระทบนั้น  จึงเสวยหรือเกิดการรับรู้และเสพเสวยในรสชาดของอายตนะภายนอกที่ผัสสะ จึงย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นด้วย เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนา และเฉยๆ(อทุกขมสุขเวทนา คือไม่สุขไม่ทุกข์)  พระองค์ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า เวทนาย่อมต้องเกิดขึ้นประดุจดั่ง เม็ดฝนที่เป็นเหตุตกกระทบผิวน้ำ ที่ย่อมต้องเกิดผล คือฟองน้ำหรือฟองอากาศขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมต้องเกิดฟองอากาศมี ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แตกเป็นระลอกบ้าง จึงดุจดั่งสุขเวทนา  ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เช่นกัน  เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นร่วมด้วยสัญญาตามที่ได้สั่งสมประสบมาในรสสัมผัสนั้นๆ  และยังไม่ได้มีการปรุงแต่งอย่างใดๆ  จึงเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการผัสสะและจำได้สั่งสมมา

        เวทนา การเสวยอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อมีการเสวย ก็ย่อมต้องรับรู้ในรสชาดของสิ่งที่เสวยนั้น  เหมือนดั่ง"เสวยอาหาร" คือเมื่อทานอาหาร ย่อมรับรู้ในรสชาดของอาหารนั้นๆ ซึ่งย่อมพรั่งพร้อมด้วยความรู้สึกในการรับรู้ ที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆกลางๆ นั่นคือสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นั่นเอง  จึงกล่าวว่า เวทนาสักว่าเวทนา คือมันเกิดขึ้นเป็นไปเช่นนี้เอง ไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  เขาทำหน้าที่ของเขาตามธรรมคือธรรมชาติ

        ส่วนสังขารขันธ์ เป็นผลที่เกิดสืบเนื่องต่อจากเวทนา โดยปรุงแต่งร่วมกับสัญญาความหมายรู้(ธัมมสัญเจตนา) จึงทั้งวิเคราะห์สรุปผลอีกทั้งสติปัญญาที่สั่งสม ปรุงแต่งอีกคราหนึ่ง จึงยังให้เกิดผลเป็นสังขารขันธ์ต่างๆขึ้น คือสภาพของใจ หรือความเป็นไปของจิต(ความรู้สึกเช่นโกรธ) ที่ปรุงแต่งจิตหรือใจ ให้เกิดสัญเจตนา(ความจงใจ,ความคิดอ่าน)ให้กระทำต่างๆ ทั้งดี ชั่ว และกลางๆที่หมายรวมถึงการกระทำทั่วๆไปอีกด้วย ในชั่วระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น ความโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ กังวล เป็นสุข เป็นทุกข์ ตัณหา ฯ. ที่ย่อมปรุงแต่งจิต ให้เกิดเจตนาหรือการจงใจกระทำ(สัญเจตนา)ในสิ่งต่างๆทั้งทางดี และชั่ว และแม้ทั้งกลางๆทั่วไปในการดำเนินชีวิต  ซึ่งกระทำออกมาได้ทั้งทางกาย(กายกรรม) หรือทางวาจา(วจีกรรม) หรือทางใจ(มโนกรรม เช่นคิด)   หรือสามารถกล่าวว่าเป็น อารมณ์ในทางโลกนั่นเอง คืออารมณ์ โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. นั่นเอง ซึ่งคือความรู้สึกต่างๆ ซี่งมีช่วงระยะเวลาครอบงำจิตอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งๆ  แล้วจึงแสดงผลหรือเจตนาออกมาเป็นการะทำต่างๆ ทั้งการพูด การคิด การกระทำในขณะระยะเวลานั้นๆ  จึงกล่าวได้ว่า อารมณ์ในทางโลก ก็คือ สังขารขันธ์ เพื่อใช้ในการพิจารณาแยกแยะแตกธรรมได้เข้าใจง่ายขึ้น

          หรือพอจะจำแนกความแตกต่างระหว่างเวทนาขันธ์และสังขารขันธ์ ซึ่งต่างก็เป็นความรู้สึก ให้พอเห็นความแตกต่างได้

          เวทนาขันธ์ เป็นความรู้สึกจากกระบวนการของการรับรู้ จึงทำหน้าที่เพียงรับรู้ในรสสัมผัสจากการผัสสะ หรือรับเข้าคือเข้ามาจากการผัสสะ(กระทบ)กับอายตนะภายนอกทั้ง ๖ ที่พร้อมด้วยสัญญาความจำได้  เนื่องจากระบบประสาทสัมผัสย่อมมีอยู่ในผู้ที่มีชีวิตหรือดำรงขันธ์อยู่ จึงหลีกหนีพ้นไม่ได้ จึงสักว่าเวทนาเท่านั้นเอง

          สังขารขันธ์ เป็นความรู้สึกเหมือนกันแต่เกิดร่วมด้วยการปรุงแต่งตามสัญญาความคิดอ่านต่างๆที่สั่งสมไว้ของตน และส่งออก คือเกิดการปรุงแต่งด้วยสัญญาความหมายรู้ขึ้นภายใน แล้วยังให้เกิดสัญเจตนา ความจงใจ ความคิดอ่านต่างๆ ซึ่งส่งผลออกมาต่อความคิดและการกระทำต่างๆ(กรรม) ทั้งดี ชั่ว และแม้กลางๆที่ใช้ในการดำเนินชีวิตทั้งปวง ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆที่ครอบงำอยู่อีกด้วย ดังคำสอนที่ว่า เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม ("เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา")  กรรมนี้มีความหมายถึงการกระทำ ไม่ใช่หมายถึงกรรมชั่วแต่อย่างเดียว เพราะเมื่อเอ่ยถึงกรรม ปุถุชนมักเอนเอียงนึกคิดไปทางกรรมชั่วหรือสิ่งที่ไม่ดี ตามที่สื่อสารพูดจากันทั่วๆไป   

 

ความสัมพันธ์ของขันธ์ ๕  เป็นการจำแนก เพียงเพื่อให้เห็นการทำงานโดยประมาณของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำงานประสานร่วมกัน

และแต่ละขันธ์ก็ทำงานอย่างอิสระ  ตามหน้าที่ของขันธ์นั้นๆ  ควบคุมบังคับไม่ได้ ด้วยเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา

                                                                         ผัสสะ     ธัมมสัญญา                        ธัมมสัญเจตนา

ธรรมารมณ์(คิดอันเป็นเหตุ)    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ใจ ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม มโนวิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น  สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด  เวทนา ย่อมทำให้เกิด สัญญาหมายรู้  ย่อมทำให้เกิด สังขารขันธ์ [ เป็นปัจจัยไปปรุงจิต ให้เกิดสัญเจตนาเกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ) จึงทำให้เกิดกรรม (คือ การกระทำต่างๆ ทางใจ(มโนกรรม)เช่นความคิดเป็นทุกข์อันให้โทษ(คิดที่เกิดจากสังขารขันธ์นี้เป็นผล) ]     แสดงขันธ์ ๕ อย่างละเอียด ของสัญญา

 

เพราะเมื่อแยกแยะได้ถูกต้อง ก็ย่อมทำให้จำแนกแตกธรรมได้ถูกต้อง  เห็นเวทนา หรือจิตสังขาร(สังขารขันธ์)ในปฏิจจสมุปปบาท, สติปัฏฐาน ๔ ตลอดจนขันธ์ ๕ ได้แจ่มแจ้งขึ้น อีกทั้งทำให้การปฏิบัติเวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔ เป็นไปอย่างถูกต้อง

ตัวอย่าง

        เวทนาขันธ์ ความรู้สึกจากการรับรู้จากการผัสสะกับสิ่งต่างๆ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยสัญญาความจำต่างๆได้ในสิ่งนั้น คือ เสวยอารมณ์ ในสิ่งที่สัมผัสนั้นๆนั่นเอง  หรือกล่าวว่าก็คือ  การรับรู้ในการลิ้มรสชาดในสิ่งที่สัมผัส(ผัสสะ) ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยความทรงจำต่างๆที่สั่งสมของสิ่งที่ผัสสะนั้น เช่น ตาเห็นรูป คนคุ้นเคยคือคนรัก ย่อมเกิดมโนวิญญาณรับรู้ในภาพของคนรักนั้น พรั่งพร้อมทั้งสัญญาจำได้ที่ย่อมเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติว่า เป็นคนรัก อันแสนรักใคร่ จึงย่อมเกิดเวทนา ชนิดสุขเวทนาขึ้น ความรู้สึกสุข จากการรับรู้จากการกระทบภาพคนรัก

        หู กระทบ เสียงด่าทอต่อว่าเรา ย่อมเกิดโสตวิญญาณจึงได้ยินเสียงนั้น ครบองค์การผัสสะ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยสัญญาจำได้หมายว่าเป็นการด่าทอต่อว่าตน จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น ความรู้สึกทุกข์จากการผัสสะเสียงที่มีความหมายด่าทอนั้น  ตัวเสียงไม่ได้ทำให้เป็นทุกข์ แต่สัญญาจำที่พรั่งพร้อมได้ในความหมายนั้นๆทำให้เป็นทุกข์จาการผัสสะเสียงนี้

                                                    ผัสสะ

หู    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป เสียงด่าทอ  โสตวิญญาณ  anired06_next.gif  สัญญาจํา  ทุกขเวทนา 

       เมื่อพิจารณาการเกิดขึ้นของเวทนาโดยละเอียดแยบคายข้างต้น จะพบว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่เมื่อเกิดการผัสสะกันของอายตนะต่างๆ ก็ย่อมเกิดเวทนาขึ้น เป็นธรรมดา เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยโดยแท้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จึงควบคุมบังคับก็ไม่ได้  แม้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาแต่ควรรู้และทำความเข้าใจว่า สักว่าเวทนา มันเป็นเช่นนี้เอง(ตถตา)

  

        สังขารขันธ์ ธรรมคือสิ่ง หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเวทนาและพรั่งพร้อมทั้งสัญญาหมายรู้ในธรรมหรือสิ่งนั้น เป็นเหตุปัจจัยไปปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญเจตนาความจงใจ ความคิดอ่าน ในการกระทำต่างๆ(กรรม) ทั้งทางกาย วาจา ใจ

        ดังนั้นถ้าเกิดความรู้สึกใดๆที่ประกอบด้วยการกระทำ ไม่ว่าทางกาย วาจา หรือใจเช่นความคิด ก็ล้วนเป็นสังขารขันธ์แล้ว

    สติ เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน เกิดมโนกรรมกระทำทางใจ คือเกิดการระลึกรู้  (ทำบ่อยๆก็จำได้หมายรู้ เป็นสัญญาได้อีกด้วย)

    ปัญญา เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน ให้เกิดมโนกรรม ความคิดเข้าใจในสิ่งต่างๆ (แล้วเป็นสัญญาเก็บจำได้อีกเช่นกัน)

    โกรธ เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน ให้กระทำต่างๆภายใต้ความโกรธ เช่น ทางกาย-ทำร้ายชกต่อย  วาจา-ด่าทอ  ใจ-สาปแช่ง ก่นด่า

    โลภ เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน ให้กระทำต่างๆภายใต้อำนาจของความปรารถนา เช่น กายกรรม-ขโมย  วจีกรรม วาจา-เอ่ยปากขอ  มโนกรรม ใจ-คิดร้าย คิดว้าวุ่นปรุงแต่งตามความปรารถนาต่างๆ

    โมหะ เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน  ให้เกิดการกระทำต่างๆภายใต้ความหลงผิด เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ จึงเกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไปตามความเชื่อ ความเข้าใจของตนเป็นสำคัญ

    หดหู่ เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน  ให้เกิดการกระทำต่างๆภายใต้ความหดหู่ เหี่ยวแห้งใจ การกระทำต่างๆจึงแฝงล้วนหดหู่  กายกรรมก็ทำแบบช่างมันซังกะตาย  พูดจาก็แสนหดหู่  คิดแต่เรื่องราวที่ชวนให้เหี่ยวแห้งใจ

    ฟุ้งซ่าน เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน  ให้เกิดการกระทำต่างๆภายใต้ความฟุ้งซ่าน คือจิตพล่านออกไปปรุงแต่งเรื่อยเปื่อย จนก่อทุกข์ขึ้นได้

    ราคะ(ทางเพศ) เกิดสัญเจตนาความจงใจหรือคิดอ่าน  ให้เกิดการกระทำต่างๆภายใต้อำนาจของราคะ  เช่น กายกรรม กระทำทางกายข่มขืน  วจีกรรม พูดจาแทะโลม มโนกรรมคิดแต่เรื่องราคะทางเพศต่างๆ

    ตัณหา เกิดสัญเจตนาที่เรียกเฉพาะตัวว่า"อุปาทาน"นั่นเอง คือ ความจงใจหรือคิดอ่าน  ให้เกิดการกระทำต่างๆให้เป็นไปตามความทะยานอยาก ความปรารถนาของตน ความยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสตน เช่น จึงกระทำได้ทั้งกายกรรม การกระทำต่างๆให้เป็นไปตามความปรารถนา ชิงทรัพย์ การพนัน วจีกรรม วาจาล่อลวง  มโนกรรม คิดฟุ้งซ่าน

    ถ้าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็น ตัณหา คือธรรมหรือสิ่งที่ปรุงจิตให้เกิดความคิดอ่านให้เกิดการกระทำต่างๆ เป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสตน หรือก็คืออุปาทานนั่นเอง  ซึ่งย่อมเป็นการดำเนินไปในกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

    ทดลองพิจารณาแยกแยะเวทนาและสังขารขันธ์(ซึ่งย่อมรวมมโนกรรมความคิดนึกด้วย) จากตัวอย่างนี้ ในการทานอาหาร

                                                                   ผัสสะ

ลิ้น    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อาหาร(รสอร่อย)  ชิวหาวิญญาณ  anired06_next.gif  สัญญาจํา  สุขเวทนา    สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์  [ anired06_next.gif เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ) anired06_next.gif กรรม (คือ การกระทำต่างๆทางกาย(กายกรรม) ทางวาจา(วจีกรรม) หรือทางใจ(มโนกรรม) ]

         เกิดเวทนา การรับรู้ในรสอร่อยอันถูกใจ นั่นเป็นสุขเวทนา   ส่วนสังขารขันธ์ที่เกิดต่อมานั้นย่อมเป็นอารมณ์ของความพึงพอใจหรือสุขใจ จึงเกิดความคิดอ่านหรือเจตนาขึ้นได้ทั้งทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เช่น ทางกาย เช่น "น้ำลายสอ หรือตักเพิ่มอีก",  ทางวาจาอาจเกิดการพูดขึ้นว่า "ช่างอร่อยเสียจริงๆ",  หรืออาจเกิดทางใจ(มโนกรรม)คิดขึ้นว่า "ช่างอร่อยเสียจริงๆ ต้องซื้อมากินอีกให้ได้",  ลองโยนิโสมนสิการอาจจะทำให้เห็นความแตกต่างของเวทนาและสังขารขันธ์ได้ชัดเจนขึ้น

         ทั้งสองคือ เวทนาขันธ์ และสังขารขันธ์ อีกทั้งขันธ์ต่างๆ ล้วนเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จึงไปควบคุมบังคับบัญชาเขาไม่ได้เลย เขาล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือเป็นไปตามเหตุต่างๆที่มาเป็นประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน  เมื่อรู้ความจริงดั่งนี้แล้ว ที่แม้ทั้งสองเป็นความรู้สึกที่ก่อสุขก่อทุกข์ แต่ก็เพียงสักว่า เป็นเช่นนี้เองโดยธรรม(ชาติ)  จึงต้องเข้าใจเพื่อการไม่ยึดถือใดๆ ให้เป็นเพียงสักว่าเพื่อเป็นเครื่องรู้เครื่องระลึกคือเครื่องใช้งานเพื่อการดำรงขันธ์และดำเนินชีวิตแค่นั้นเอง

         บางท่านสติระลึกรู้เท่าทันเวทนาได้ง่าย บางท่านก็สติระลึกรู้เท่าทันสังขารขันธ์ได้ดี บางท่านก็มีสติเท่าทันได้ทั้งในเวทนาและสังขารขันธ์  ดังนั้นการที่สติระลึกรู้เท่าทันอันใด ขึ้นอยู่กับการสั่งสม ความชำนาญ และจริตของแต่ละบุคคล  แต่ไม่ว่ามีสติระลึกรู้เท่าทันอันใดแล้ว ต้องพึงประกอบด้วยปัญญาด้วยว่า สักว่าเกิดจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่ใช่เราเป็นผู้ควบคุม จึงอย่าไปยึดถือแม้เวทนาหรือสังขารขันธ์  แล้วหยุดวงจรของทุกข์ไม่ให้หนุนหมุนเวียนเนื่องสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันและกันอีกต่อไปเสียด้วยการอุเบกขาสัมโพชฌงค์

 

 

ขันธ์ ๕ ย่อมทำงานของเขาไปตามธรรมชาติ  ไม่มีใครหยุด หรือห้ามการทำงานของเขาได้ เพียงแต่มีสติ ระลึก รู้ แล้ว วาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็สามารถเป็นอิสระเหนือขันธ์ ๕ ได้ โดยวิธีนี้

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

 

 

 หัวข้อธรรม

กลับหน้าเดิม