จิตตานุปัสสนานิเทส

พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕

[เห็นจิตในจิตภายใน]

             [๔๔๕] ก็ภิกษุ  พิจารณา (จิต,สติ)เห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

             ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ   หรือเมื่อ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

             เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ   หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

             เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ   หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

             เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่   หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน

             เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ   หรือเมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ

             เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ   หรือเมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ

             เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น   หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น

             เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น   หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

             ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น  ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต เข้าไปในจิตภายนอก

[เห็นจิตในจิตภายนอก]

             [๔๔๖] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

             ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น มีราคะ  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น ปราศจากราคะ

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหดหู่  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น  หรือเมื่อจิต ของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

             เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น  หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

             ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต เข้าไปในจิตทั้งภายในและภายนอก

[เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก]

             [๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

             ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

             เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

             เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

             เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

             เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ

             เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ เมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็ รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ

             เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

             เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

             ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภาย นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก

             [๔๔๘] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ  มีนิเทสว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน

             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ

             บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่

             บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน

             การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร

             บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน

             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

             บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน

             สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ

             บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็นไฉน

             จิตนั้นเอง ชื่อว่าโลก   แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก

             อภิชฌา เป็นไฉน  ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา

             โทมนัส เป็นไฉน  ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส(เกิดแต่จิต) กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส

             อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป อย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด ปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

จิตตานุปัสสนานิเทส จบ

 

 

 

 

 

กลับหน้าเดิม

กลับสารบัญ

 

 

 

 

 

hit counter

นับคน . คอม : Realtime counter สำหรับคนไทย