ขันธ์ ๕ และ อุปาทานขันธ์ ๕
ในทางพระพุทธศาสนา เราสามารถแยกกระบวนการทำงานของจิต หรือกระบวนธรรมของจิตได้เป็น ๒ แบบใหญ่ๆ อันต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของจิตอันต่างล้วนเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของปุถุชนอยู่ตลอดเวลา
ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนธรรมของจิต แบบไม่เป็นทุกข์ เป็นกระบวนธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เป็นกระบวนธรรมที่เนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ เพื่อการดำรงคงชีวิต จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมี ต้องเกิด มีเหมือนกันทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้า ดังเช่น
ธรรมารมณ์(คิดอันเป็นเหตุ) |
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นกระบวนธรรมของจิตเช่นเดียวกัน แต่เป็นชนิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ เป็นสภาวธรรมชาติของปุถุชนเช่นกัน แต่เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ดำเนินอยู่ จึงมีอยู่แต่ในปุถุชน หรือเป็นกระบวนธรรมของจิตที่ดำเนินเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดความทุกข์ขึ้นนั่นเอง กล่าวคือ ขันธ์ ๕ ที่จำเป็นในการดำรงคงชีวิตในขณะนั้น ล้วนประกอบหรือล้วนถูกครอบงำด้วยอุปาทาน อันคือความยึดมั่นหรือคิดอ่านให้เป็นไปตามกิเลสหรือความพึงพอใจของตัวของตน ดังภาพ
อาสวะกิเลส
มรณะ สฬายตนะ สัญญูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์
ชาติ (สังขารขันธ์ แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก เวทนา (มโนสังขาร) (อกุศลสัญเจตนา) (อกุศลสังขารขันธ์) ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร |