แสดงกระบวนธรรมของการคิดนึกปรุงแต่ง แบบขันธ์๕
ปุถุชน มีระบบความคิด ที่แสดงในรูปแบบกระบวนธรรมของขันธ์๕ หรืออุปาทานขันธ์๕ เป็นเช่นดังนี้
หู
เสียง
โสตะวิญญาณ
ผัสสะ
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขาร(คิด ประกอบด้วยโทสะ)
ใจ
มโนวิญาณ
ผัสสะ
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขาร(คิด
ประกอบด้วยโทสะ)
ใจ
มโนวิญาณ
ผัสสะ
....................ฯ.
มักเป็นดั่งนี้ไปเรื่อยๆ ด้วยอวิชชาตามสังขารที่สั่งสมหรือความเคยชินโดยไม่รู้ตัว
จนกว่าจะดับไปเพราะไตรลักษณ์ หรือถูกเบี่ยงเบน,บดบังโดยเหตุอันใดก็ดี
อธิบายกระบวนธรรมข้างต้น
หู
เสียง
โสตะวิญญาณ
ผัสสะ
สัญญาจำ
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารความคิด
เป็นกระบวนธรรม ตามธรรมชาติของขันธ์ ๕ ของผู้ที่มีชีวิต ที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
แต่ด้วยอวิชชาและความเคยชิน ตามที่สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่เก่าก่อน
จึงมักนำเอาสังขารความคิดที่เกิดขึ้นนั้น ชนิดที่ไม่สมควรไปปรุงแต่งต่อเช่นประกอบด้วยโทสะ แต่เพราะความไม่รู้ และสติไม่เท่าทัน
จึงดำเนินการคิดนึกปรุงแต่งสืบต่อไป ดังกระบวนธรรมที่เกิดสืบเนื่องต่อไปดังนี้
สังขารความคิดที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา
ใจ
มโนวิญาณ
ผัสสะ
สัญญาจำ
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารความคิดใหม่
แล้วก็ยังนำเอา สังขารความคิดใหม่ นี้ไปปรุงแต่งต่อไปอีก เป็นดังนี้อยู่เรื่อยๆ...โดยไม่รู้ตัว เพราะความที่ได้สั่งสมไว้จนเคยชินหรือสังขาร
กระบวนธรรมขันธ์ ๕ ดังข้างต้น จึงนำมาแสดงเป็นวงจรของการคิดปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านได้ดังนี้
รูป(ธรรมารมณ์)
สังขารขันธ์
วงจรแสดงการทำงานหรือกระบวนธรรมของ ขันธ์ทั้ง๕ |
จึงเกิดเวทนาขันธ์เกิดดับๆๆๆ....ต่อเนื่องกันราวกับว่า เป็นเวทนาเดียว อันแสนยาวนาน
กล่าวคือเวทนาขันธ์หนึ่งเกิดขึ้น กำลังจางคลาย,กำลังจะดับไปด้วยไตรลักษณ์ แต่เกิดเวทนาขันธ์ของการปรุงแต่งขึ้นต่อเนื่องเสียก่อนดับไป
และในที่สุดเวทนาของความคิดใดความคิดหนึ่งที่ปรุงแต่งมิรู้จักหยุดหย่อนนั้น
จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา
อุปาทาน.......
กล่าวคือ จึงแปรปรวนไปดำเนินตามวงจร ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นทุกข์ในที่สุดนั่นเอง
ขันธ์ทั้ง ๕ เดิมอันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ จึงถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทาน
เมื่อขันธ์ทั้ง
๕ ประกอบด้วยตัณหา
อุปาทานจึงยังให้เกิดการเร่าร้อนเผาลนอย่างแท้จริงขึ้น
กล่าวคือ สภาพความเร่าร้อนเผาลนนี้เกินสภาพความจริงตามธรรมชาติของทุกข์ธรรมชาติหรือเวทนานั้นๆ
หรือที่ท่านกล่าวว่าทุกข์อุปาทานได้เกิดขึ้นแล้ว
และยังดำเนินไปในลักษณาการเช่นเดียวกับขันธ์ ๕ ข้างต้นต่อไปเช่นกัน กล่าวคือยังคงวนเวียนปรุงแต่งฟุ้งซ่านต่อไป
แต่ล้วนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายเพราะล้วนประกอบด้วยอุปาทาน จนกว่าจะดับไปด้วยเหตุอันหนึ่งอันใดก็ดี
แต่ล้วนสั่งสมเป็นอาสวะกิเลส
รอวันกำเริบเสิบสานต่อไปในภายหน้าให้เกิดภพเกิดชาติอันเป็นทุกข์ขึ้นอีก
.....ตัณหา
→ อุปาทาน
→ ภพ → ชาติ
→ รูปูปาทานขันธ์
+ ใจ สังขารูปาทานขันธ์
เช่นคิดที่เป็นทุกข์ ในวงจรล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ เพราะล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
|