สญชัยปริพาชก : ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในสมัยพุทธกาลตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้ ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต ; นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร ; คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖
วาสนา
อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว
แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก
อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
ท่านขยายความว่า
วาสนา
ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
ก็มี
ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น
ไม่ต้องละ
แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น
แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ
ต่างๆ
ส่วนแรก
พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
จึงมีคำกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
ในภาษาไทย
คำว่า วาสนา
มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
อนัตตา ที่กล่าวว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวใช่ตน มีความหมายที่ว่า ตัวตน(ถ้ามี)ก็ล้วนคือฆนะ คือเป็นแค่กลุ่มก้อนมวลรวมของเหตุปัจจัยต่างๆเท่านั้น เป็นมายาล่อลวงให้เห็นเป็นไปในสิ่งต่างๆนั้น จึงไม่ใช่ตัวตนของธรรมหรือสิ่งนั้นจริงๆเป็นเพียงกลุ่มก้อนของเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันเท่านั้นเอง, ส่วนประเภทที่ไม่มีตัวตนนั้นก็มี เป็นเพียงสภาวธรรม ยังไม่เกิดปรากฏการณ์ของการปรุงแต่งเป็นตัวตนหรือสังขารขึ้น
รูปที่ตาเห็น หรือสิ่งผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามที ล้วนไม่ใช่ตัวตน ของรูปนั้น
ไอ้ที่เห็น หรือผัสสะได้แล้วคิดไปว่าเป็นตัวตนนั้น เป็นเพียงกลุ่มก้อน(ฆนะ)มายาของเหตุปัจจัยเท่านั้น
ทวัตติงสาการ
อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย
คือ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต
ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ);
ในขุททกปาฐะ
(ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย;
ทวัตดึงสาการ
หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน
อุทริยะ
อาหารใหม่,
อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้อง ในลำไส้ กำลังผ่านกระบวนการย่อย แต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ
แสดงภาพรวม ทวัตติงสาการ ทั้ง๓๒
ธาตุกัมมัฏฐาน
๔ (กรรมฐานคือธาตุ,
กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่าง
จึงขึ้นอยู่กับเหตุคือธาตุทั้ง
๔ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา ดังนั้นนั่นเอง นั่นจึงไม่ใช่เรา
เราจึงไม่ใช่นั่น นั่นจึงไม่ใช่ตัวตนของเรา)
๑.
ปฐวีธาตุ (the earth-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี
กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรม
๒. อาโปธาตุ (the
water-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน
สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรม
๓.
เตโชธาตุ (the fire-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี
กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรม
๔.
วาโยธาตุ (the air-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี
กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรม
ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้
ในปฐวีธาตุมี ๑๙ อย่าง ในอาโปธาตุมี ๑๒ อย่าง เติมมัตถลุงค์ คือมันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ
รวมเป็น ๓๒ เรียกว่า อาการ ๓๒ หรือ
ธาตุกัมมัฏฐานนี้
เรียกอย่างอื่นว่า
ธาตุมนสิการ
(การพิจารณาธาตุ - contemplation on the elements) บ้าง จตุธาตุววัฏฐาน
(การกำหนดธาตุสี่ - determining of the four elements) บ้าง เมื่อพิจารณากำหนดธาตุ
๔ ด้วยสติสัมปชัญญะ มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย
มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ดังนี้ จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง
(หมวดที่ ๕ คือ ธาตุมนสิการบรรพ).
(พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระธรรมปิฎก)
กล่าวตู่
กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว,
กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง,
ในคำว่า
กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
หรือ ตู่พุทธพจน์
หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้,
พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด
เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ
(พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก)
วิปลาส
วิปลาส
กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง
มีดังนี้;
ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก
๓ ประการ คือ
๑.
วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส
๒.
วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส
๓.
วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส
ข.
วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
๑.
วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
๒.
วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
๓.
วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน
๔.
วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่อัตตาตัวตนของเรา
เหตุเพราะว่าสังขารทั้งปวง แม้กระทั่งสังขารกาย(รูปขันธ์)ของเราเองนั้น ล้วนเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกัน จึงต่างล้วนขึ้นอยู่กับเหตุนั้นๆ ตัวตนคือกลุ่มหรือก้อนที่เห็นหรือสัมผัสได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตาม ล้วนเป็นเพียงมวลหรือก้อนหรือแท่งคือฆนะของเหตุคือสิ่งต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันคือประชุมรวมกันในขณะนั้นๆ ขันธ์อื่นๆก็ล้วนเป็นเช่นนี้ ตลอดจนสังขารทั้งปวง ดังนั้นสังขารทั้งหลายทั้งปวงความจริงยิ่งแล้ว จึงล้วนไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่นั่น นั่นก็ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา อย่างแท้จริง ล้วนเป็นไปหรือขึ้นอยู่กับเหตุโดยตรง จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราหรือเป็นของเราแต่โดยตรง