|
จิตเดิมที่ปภัสสร แต่หมองเพราะกิเลสที่จรมา จิตที่หมองหม่น, หดหู่, ขุ่นมัว, หรือเศร้าหมองเพราะอาสวะกิเลสความจําอันเจือด้วยกิเลสเป็นปัจจัย อันล้วนเกิดมาแต่ความเศร้าใจ(โสกะ), ครํ่าครวญ อาลัย รําพันในสุข(ปริเทวะ), ทุกข์ทางกาย(ทุกข์), ทุกข์อันเกิดแต่ใจ(โทมนัส), ความคับแค้นขุ่นข้องใจ(อุปายาส) อันเกิดมาจากความทุกข์และสุขทางโลกๆตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่อดีต, จึงได้ครอบงํา หมักหมม ราวกับ เป็น ตัณหา และ อุปาทาน ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต ที่ท่านกล่าวว่า" อาสวะกิเลส" ซึ่งเมื่อผุดขึ้นมา หรือเจตนาขึ้นมา
ความไม่รู้ตามความเป็นจริง, สติไม่รู้เท่าทัน ตามที่มันเกิด ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ) อันคือ อวิชชา ความไม่รู้, ความไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมในการดับทุกข์
สังขาร การกระทําทางกาย, วาจา หรือใจ(ความคิดนึก)ต่างๆ ตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม เคยประพฤติ ปฏิบัติ เคยชิน มาแต่อดีต หรือจะเรียกสังขารกิเลส หรือสังขารวิบากก็ยังได้
วิญญาณ การรับรู้ใน "สังขาร" ดังกล่าว ที่ได้เกิดขึ้นมานั้นๆ
นาม-รูป ครบองค์ประกอบของขันธ์๕ หรือชีวิต อันตื่นตัวพร้อมทํางานตามหน้าที่ของตน
สฬายตนะ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนต่างๆของนาม-รูปตามธรรมชาติจึงตื่นตัวทํางานตามหน้าที่แห่งตน รับการกระทบสัมผัสใน รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส, ธรรมารมณ์(คิด,นึก) ที่มากระทบนั้นๆ
ผัสสะ การประจวบรวม(กระทบ)กันของปัจจัย ๓ อย่างอันมี สังขารอันมีทางกาย,วาจา,ใจ + วิญญาณ + สฬายตนะ ดังกล่าวข้างต้น อันล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วและพร้อมทําหน้าที่แห่งตน
เวทนา การเสวยอารมณ์(ความรู้สึกรับรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัสเช่น ความคิด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พร้อมทั้งจําและเข้าใจขั้นพื้นฐานในสิ่งที่มากระทบนั้น)
ตัณหา ความรู้สึกทะยานอยาก,หรือไม่อยาก ต่อความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสนั้นๆ(เวทนา) อุปาทาน ที่นอนเนื่องนั้น เกิดการทํางาน ในความยึดมั่น ถือมั่นที่จะสนองต่อความรู้สึกตัณหานั้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลัก
ภพ การเลือกบทบาทหรือสภาวะ หรือการตกลงใจ(ในขณะจิต)ที่จะกระทําใดๆ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจแห่งตนนั้น จะได้รับการตอบสนองเยี่ยงใด
ชาติ การเกิดขึ้นของทุกข์ หรือการเริ่มกระทําทางกาย หรือทางวาจา หรือทางใจ ตามภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่ได้ตกลงใจเลือกโดยขาดสติเพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน
ชรา-มรณะ อันคือการแปรปรวน เปลี่ยนแปลง ไปๆมาๆ ของทุกข์ตามกฎอนิจจัง และการดับไปของทุกข์ในที่สุดตามกฎทุกขัง, แต่ก็ยังให้เกิด อาสวะกิเลส ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตใต้สํานึกอีกด้วย อันเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง และนอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต(ใต้สํานึก)สืบต่อไป
อวิชชา ความไม่รู้, ความไม่รุ้เท่าทัน ตามที่มันเกิด ตามความเป็นจริงของธรรม(ชาติ) ทําให้ตัณหา แล อุปาทานที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต กําเริบ เกิดทํางานขึ้นใหม่อีก
เป็นวงจร วงจักรอุบาทที่ไม่วันจบสิ้น เวียนว่าย ตายเกิด อยู่ในสังสารวัฏ...........
อ่านรายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์
ธรรมชาติของจิตและนํ้า (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น) จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า, นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ), นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O, จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่าแต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมหรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง, นํ้าไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันใด, จิตก็ไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันนั้น ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด, จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น, การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น, ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟฉันใด, จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลลงตํ่ากลับลงสู่ความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้หรือตามแรงดึงดูดของกิเลสตัณหาอุปาทาน, กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า ลองโยนิโสมนสิการแบบสนุกๆดู, บุคคลใดมีทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีการงานให้ต้องทําหรือรับผิดชอบ มีความสุขทางโลกเต็มที่ ทําบุญครั้งละมากๆ แต่มิได้ปฏิบัติ ท่านว่าบุคคลนี้จักถูกธรรมชาติของจิตดึงดูดลงสู่ที่ตํ่าหรือไม่? สังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ในชีวิตประจําวันนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเคยชิน คิดสั่งการใดแล้ว ก็จักกระทําไปตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่แยกไม่ออก จึงไม่รู้ว่าความเคยชินนี้แหละหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทมีอิทธิพลเยี่ยงไร ดังจะไปกินข้าว เพียงคิดขึ้นมาจะเกิดสังขารขันธ์ต่างๆหลายอย่างเช่นลุกขึ้น, เดิน, หาจาน ช้อน,ทานอาหาร อันเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยอัติโนมัติไม่รู้ตัว เพราะอิทธิพลของความเคยชิน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เรียนรู้ อันได้สั่งสมไว้ อันทํางานอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติหลายๆท่านที่ปฏิบัติก้าวหน้าดีแล้ว จนจางคลายจากทุกข์ได้ผลตามควรแก่ตนแล้ว แต่หยุดปฏิบัติเพราะความพอใจแล้ว หรือหยุดเพราะฤทธิ์ของความเคยชินแล้ว จึงเกิดสภาพไหลลงสู่ที่ตํ่า กล่าวคือกลับสู่สภาพเดิมๆอันได้สั่งสมอบรมไว้เป็นเวลานาน นี้แหละคือธรรมชาติของจิต ดังนั้นความเพียรจนเกิดเป็นความเคยชินดังเช่นการปฏิบัติให้เห็นเวทนาและความคิด(จิต) จึงเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับความเข้าใจในสภาวะธรรม
จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะอาสวะกิเลส เปรียบประดุจดั่ง กองไฟ ตัณหาแลอุปาทานที่นอนเนื่อง(ยังคงมีในจิตแต่ยังไม่ทํางาน)ในอวิชชา เปรียบประดุจดั่ง นํ้ามัน สังขาร(คิด)ที่สั่งสม อันเป็นทุกข์ เปรียบประดุจดั่ง สะเก็ดนํ้ามันที่เดือดพล่านกระเด็นออกมา ถ้าเราพึงโหมไฟ(อาสวะกิเลส)ให้แรงขึ้น นํ้ามัน(อวิชชา)อันปกติราบเรียบสงบ จักมีการเดือดพล่าน แล้วกระเด็นออกมาเป็นสะเก็ดนํ้ามัน(สังขารคิด)อันเป็นของร้อน ซึ่งย่อมก่อทุกข์ กล่าวคือ ถูกที่ไหน สะดุ้งที่นั่น, ถูกที่ไหน ร้อนที่นั่น, ถูกที่ไหน พองที่นั่น. จิตขุ่นมัวเศร้าหมองไปโหมกระพือให้ อวิชชาที่มีตัณหาแลอุปาทานที่นอนเนื่องกลายเป็นของร้อนเดือดพล่านขึ้นมาเป็นสังขาร(คิด)ที่สั่งสมไว้ อันเป็นของร้อนเช่นกัน แล้วย่อมเป็นไปตามวงจรแห่งทุกข์ " ปฏิจจสมุปบาท "....ฯลฯ.
|