กระดานธรรม ๑/๑๓

แสดง ขันธ์๕ ที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความทุกข์

คลิกขวาเมนู 

เป็นการพิจารณาในแบบขันธ์ ๕

(ควรมีความเข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์๕ พอสมควร)

รูป เสียง    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิดวิญญาณขึ้น เป็นธรรมดา   วิญญาณ   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี    สัญญาจำ    เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนา    เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้ สัญญาหมายรู้    เป็นปัจจัย จึงมี    สังขารขันธ์ กาย วาจา ใจ

ดังในกรณีที่ ได้ยินเสียงด่า เสียงว่า หรือเสียงอันก่อให้เกิดความไม่พอใจ

หู เสียงด่าทอ    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิดวิญญาณขึ้น เป็นธรรมดา   วิญญาณ   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สัญญาจำ    เป็นปัจจัย จึงมี    ทุกขเวทนา    เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้ สัญญาหมายรู้    เป็นปัจจัย จึงมี    สังขารขันธ์ ชนิด โทสะ

โทสะ อันแสดงออกมาได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ

ในบางครั้งเกิดโทสะ แสดงเด่นชัดออกมาทางจิตสังขารหรือมโนกรรม(ความคิดนึกนั่นเอง)คือใจโกรธไม่พอใจ แต่เพียงอย่างเดียว

โทสะ หรือสังขารขันธ์แรก(ผล) ที่เกิดขึ้นจากการกระทบผัสสะนี้  เป็นไปตามกระบวนธรรมชาติของชีวิต

อันย่อมมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  ดังเป็นไปดังคำกล่าวที่ว่า โกรธมี.......แต่ไม่เอา ของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ใจ หรือ ความคิด อันเป็นสังขารขันธ์ชนิดโทสะหรือความโกรธที่เกิดขึ้นนั้น โดยปกติวิสัยปุถุชน ก็จะคิดนึกปรุงแต่งต่อไปอีก

โดยไม่รู้ตัว หรือ รู้ตัวแต่ห้ามไม่ได้เพราะอวิชชา(ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)และกำลังของโทสะ และขาดการปฏิบัติฝึกฝน

จึงเกิดกระบวนการจิตต่อเนื่องขึ้นดังต่อไปนี้เป็นธรรมดา โดยเอาผลที่เกิดขึ้นอันคือความคิดนึกที่มีโทสะเกิดขึ้นแล้วมาปรุงแต่งต่อ

ความคิดนึกที่มีโทสะเกิดขึ้นแล้วใจ   การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิดวิญญาณขึ้น เป็นธรรมดา   วิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สัญญาจำได้   เป็นปัจจัย จึงมี   ทุกขเวทนา   เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้หมายรู้ในโทสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สังขารขันธ์ คิดนึกอกาการโทสะอย่างเดิม

จึงเป็นไปดังนี้

รูป - ธรรมารมณ์ + ใจ + มโนวิญญูาณขันธ์  anired06_next.gif เวทนาขันธ์

                             ขันธ์ทั้ง๕                             

สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม                        สัญญาขันธ์

(ซึ่งถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ขันธ์ต่างๆที่เกิดใหม่นี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ในชราแล้วนั่นเอง)

แล้ว ความคิดนึกชนิดโทสะอย่างเดิม  ก็ถูกหยิบยกไปทำหน้าที่เป็นรูป(สิ่งที่ถูกรู้)ใหม่อีกเช่นเดิม

ความคิดนึกชนิดโทสะอย่างเดิมใจ   การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิดวิญญาณขึ้น เป็นธรรมดา   วิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สัญญาจำได้  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   ทุกขเวทนา   เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้หมายรู้ในโทสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สังขารขันธ์ คิดนึกชนิดโทสะมากขึ้นกว่าเดิม

ย่อลงได้เป็นดังนี้

รูป ใจ    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิดวิญญาณขึ้น เป็นธรรมดา   วิญญาณ   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนา    เป็นปัจจัย จึงมี    สัญญา    เป็นปัจจัย จึงมี    สังขาร

 

ซึ่งล้วนแต่ถูกอุปาทานครอบงำแล้ว   จึงนำเขียนแสดงในรูปของอุปาทานขันธ์๕ ได้โดยตรง ดังนี้

รูปูปาทานขันธ์ ใจ    เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้ วิญญาณูปาทานขันธ์   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓  เรียกว่าผัสสะผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนูปาทานขันธ์    เป็นปัจจัย จึงมีสัญญาประเภท หมายรู้ สัญญูปาทานขันธ์    เป็นปัจจัย จึงมี    สังขารูปาทานขันธ์

วนเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวังวนของความคิดนึกชนิดโทสะต่างๆเหล่านี้  ที่ก่อให้เกิดไฟโทสะเผาลนจิตจนร้อนลุ่ม

            รูปูปาทานขันธ์24 + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์25 anired06_next.gifเวทนูปาทานขันธ์26

                      อุปาทานขันธ์๕(14 )อันเกิดวนเวียนอยู่ในชราอันเป็นทุกข์        

            สังขารูปาทานขันธ์ มโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์ 28     สัญญูปาทานขันธ์27

             (รูปแสดงอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ทำงานต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างวนเวียนเป็นวงจรของทุกข์์)

จึงเกิดเป็นโทสะหรือความทุกข์อันเกิดแต่ทั้งทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์ เป็นไปอย่างเป็นระยะๆหรืออย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เผาลนจิตใจอย่างต่อเนื่อง

เพราะมิได้หยุดหรือไม่มีกำลังหยุด  ล้วนเพราะอวิชชาจึงขาดปัญญาพละ ในการหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่างๆเหล่านั้น

 

กลับหน้าเดิม

กลับสารบัญ