ปฏิจจสมุปบาท

แสดงตําแหน่ง

ที่ดีที่สุด

ในการดับทุกข์

และ

แสดงตําแหน่ง

ที่เหตุปัจจัยภายนอก

(อายตนะภายนอก)

เข้ากระทบโดยตรง

   

 

 

     

      

 

    

     

 

                             คลิ๊ก เลื่อนลงหน้าสารบัญ   

                              เลื่อนลง

 

     

                             anired02_down.gif                                                 ( อุทธัจจะ)

                     สัญญาหมายรู้                                              

                             anired02_down.gif                                                            

                  สังขารขันธ์(คิด)               ถ้ามีการ..คิดปรุงแต่ง..ต่อ 

[หรือทางกาย วาจา ใจ อันเป็นขันธ์๕ สภาวะธรรมชาติ]

                   แล้วถืออุเบกขา

                             anired02_down.gif

 

 

  

 

 

 

        เนื่องจากยังไม่มีวิชชาบริบูรณ์  ดังนั้นอาสวะกิเลสจึงเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันกับอวิชชา จึงยังเป็นปัจจัยให้สังขารที่สั่งสมไว้ที่ก่อให้เป็นทุกข์ได้อยู่ อันย่อมเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา  แล้วดำเนินไปตามองค์ธรรมต่างๆในวงจรปฏิจจสมุปบาทจนถึงเวทนา  แล้วมีสติอันได้ฝึกปรือไว้แล้วระลึกรู้เท่าทันเวทนานั้น  วงจรของทุกข์จึงถูกทำลายลงชั่วขณะ  แล้วเกิดปัญญาที่ทำงานร่วมกับสัญญาหมายรู้ จึงจัดการต่อปัญหาหรือดับทุกข์เหล่านั้น  เกิดเป็นสังขารขันธ์อันไม่เป็นทุกข์  เป็นขันธ์ของชีวิต

สติระลึกรู้อะไร    ปัญญาทำหน้าที่อย่างไร

         สติระลึกรู้ ในกาย  ในเวทนา  ในจิต  ในธรรม  นั่นเอง  อันล้วนมีคุณประโยชน์ในการดับทุกข์   สติระลึกรู้เท่าทันในธรรม(สิ่ง)ใดก่อน ก็ใช้ปัญญาในธรรมนั้นๆ   พึงจดจำไว้อย่างหนึ่งว่า   สติมีหน้าที่สำคัญที่สุดก็เพื่อระลึกอย่างเท่าทันในเวทนาและจิตหรือจิตสังขารเป็นจุดประสงค์สำคัญสูงสุด  ถ้าไม่เท่าทันในเวทนาแล้ว จึงพึงให้ระลึกอย่างเท่าทันในจิต หรือจิตสังขารนั่นเอง เช่น จิตมีโทสะ  จิตมีโมหะ  จิตมีราคะ   จิตคิดฟุ้งซ่าน  จิตคิดหดหู่  จิตคิดปรุงแต่งต่างๆ  หรือ(จิต)สังขารขันธ์ความคิดนั่นเอง   อันเป็นผลที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากเวทนานั่นเอง เพราะสังขารหรือธรรมารมณ์บางอย่างเห็นเวทนาอันแผ่วเบาเคยชินเช่นอทุกขมสุขได้ไม่ชัดเจนเหมือนสังขารจิตเช่นความคิดนั่นเอง  ดังนั้นจึงเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกันและกัน   กล่าวคือเมื่อสติไม่เท่าทันเวทนาแล้วย่อมต้องเกิดจิตสังขารขึ้นเป็นธรรมดา ก็รู้เท่าทันในในจิตสังขารนั้นแทน   ดังนั้นการฝึกสติและอุบายวิธีทั้งหลายทั้งปวงเป็นร้อยเป็นพันทุกวิธี  แม้ในกาย เวทนา จิต ธรรม ตามที่กล่าวมาก็เช่นกัน ก็มีความเนื่องสัมพันธ์กันในที่สุดเพื่อสรุปลงมาที่จุดประสงค์สูงสุดเดียวนี้เท่านั้นจริงๆ,   เมื่อสติระลึกเท่าทันเวทนาหรือจิตได้แล้ว   ปัญญาจึงทำหน้าที่จัดการต่อไป  ดังเช่น นิพพิทาญาณ  ปัญญาที่รู้เข้าใจตามความเป็นจริงจึงยังให้เกิดความหน่ายคลายความกำหนัด จึงไม่ไปยึดไปอยากอันเกิดขึ้นจากการไปรู้ตามความเป็นจริงที่เป็นไปของธรรมนั้นๆ ทุกข์จึงจางคลายหรือดับไป,  เช่น ปฏิจจสมุปบาท ปัญญารู้เหตุแห่งทุกข์อย่างแจ่มแจ้งจึงดับเหตุ  ขันธ์๕ ปัญญารู้เข้าใจสภาวะธรรมของชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง  นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ปัญญาที่รู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย ทุกข์จึงจางคลายหรือดับไป,  ปัญญาที่เห็นพระไตรลักษณ์(สัมมสนญาณ) ทุกข์จึงจางคลายหรือดับไป  เป็นต้น.   ปัญญาจึงมีหน้าที่จัดการดับทุกข์โดยตรง   แต่ตามความเป็นจริงต้องใช้ทั้ง สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ(มีสติอย่างแน่วแน่ ที่หมายถึง อย่างต่อเนื่อง) และสัมมาปัญญา     แต่ทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธิที่หมายถึงอย่างถูกต้องดีงามนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเกิดแต่สัมมาปัญญาหรือสัมมาญาณเป็นเบื้องต้นก่อนล้วนสิ้น  และต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง   จึงกล่าวว่า พ้นทุกข์ได้ด้วยปัญญา     การมีสติระลึกรู้แต่ฝ่ายเดียวโดยขาดปัญญาก็ไม่สามารถดับทุกข์ได้ยกเว้นในลักษณะของการเกิดอทุกขมสุขหรือเวทนาที่ไม่รุนแรง จึงเกิดการหลงว่าปฏิบัติดีถูกต้องแค่สติก็พอเพียง

          สติ สมาธิและปัญญาต้องทำงานร่วมกัน  กล่าวคือต้องมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้นอยู่อย่างสมํ่าเสมอหรืออย่างต่อเนื่อง  ปัญญาซึ่งชี้ทางให้สติ,สมาธิแล้วยังมีหน้าที่ดับทุกข์หรือจัดการต่อปัญหาที่เกิดขึ้น   ดังนั้นทั้ง๓ ต่างจำเป็นและต้องทำงานร่วมกันจึงสัมฤทธิ์ผลได้อย่างดี  เพราะถ้าไม่มีสติเสียแล้วย่อมไม่เห็นเวทนาหรือจิต[ จิตตานุปัสสนา-ในภาพแสดงโดยสังขารขันธ์(คิด) ] ที่เกิดขึ้น   ปัญญาก็ย่อมไม่สามารถทำงานได้เต็มกำลังเช่นกัน  ด้วยเหตุดังนี้ การดับสนิทแห่งทุกข์จึงต้องพร้อมทั้งสติสมาธิปัญญาอย่างบริบูรณ์

           การมีสติเห็นเวทนาก็คือเวทนานุปัสสนา การมีสติเห็นจิตก็คือจิตตานุปัสสนา  หมายถึง มีสติเห็นที่หมายถึงระลึกรู้ในเวทนา  หรือจิต  ก็ได้ต่างล้วนถูกต้องดีงาม  เพราะบางเหตุบางปัจจัยเห็นเวทนาได้ชัดเจนกว่า  ในบางเหตุบางปัจจัยก็เห็น(ระลึกรู้)จิตได้ชัดเจนกว่า  ดังเช่น  ถ้าเวทนานั้นเป็นอทุกขมสุขก็จะสังเกตุเวทนานั้นไม่ชัดเจน  แต่จะเห็นจิตสังขารขันธ์(คิด)ที่เกิดขึ้นชัดเจนง่ายกว่านั่นเอง   เห็นคือมีสติรู้เท่าทันอันหนึ่งอันใดก็ได้  เพราะล้วนมีประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อกัน   แล้วล้วนถืออุเบกขา เป็นกลางวางที่เฉย ไม่เอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิด กริยาจิตใดๆไปทั้งในดีหรือชั่ว

           การมีสติเห็นกาย  ก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณคลายความยึดในกาย ทั้งยังเป็นการฝึกสติควบคู่ไปด้วยให้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมอันคือกายซึ่งเป็นของหยาบจึงง่ายต่อการพิจารณากว่าเสียก่อน   จึงฝึกมีสติระลึกรู้เท่าทันในเวทนาอันเป็นนามธรรมเป็นของละเอียดอ่อนสัมผัสรู้ได้ด้วยใจ  และสติรู้เท่าทันจิตก็เพราะบางเหตุปัจจัยเห็นจิตได้ชัดเจนกว่าเวทนาดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง   สติระลึกรู้เท่าทันเวทนาหรือจิตสังขารจึงเอื้ออำนวยกันอยู่ในที    และการมีสติเห็นธรรมก็เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง    การเห็นทั้ง๔ อันหมายถึงมีสติระลึกรู้เท่าทันในทั้ง๔  อันใดอันหนึ่งก็ได้ในการดำเนินชีวิตจึงล้วนต่างถูกต้องดีงามทั้งสิ้น   เป็นการสั่งสมสังขารใหม่อันสวนทวนกระแสโลก แต่ถูกต้องดีงามเพื่อการดับไปแห่งอุปาทานทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง

            เมื่อมีสติแก่กล้าขึ้นจากการสั่งสมอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อน  สติจักเริ่มเท่าทันในองค์ธรรมสังขาร  อาสวะกิเลสย่อมเปลี่ยนไปเป็นสัญญา ที่จำเข้าใจตามจริงไม่แฝงกิเลส  กระบวนจิตก็ดำเนินไปในรูปของขันธ์ ๕ เวทนาก็ยังคงเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมตามเป็นจริง แต่เป็นเวทนาที่ไม่แฝงอามิสอีกต่อไป

 

 

กลับสารบัญ

 

 

 

hit counter