แสดงกระบวนธรรมของมวลมนุษย์ โดยวงจรปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕
เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายย่อมยังให้เกิดธรรมสามัคคีได้เป็นอัศจรรย์
กระบวนจิตหรือชีวิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕
= อายตนะภายนอก
สฬายตนะ
วิญญาณ
ผัสสะ
เวทนา
สัญญา
สังขารขันธ์
คือเกิดสังขารขันธ์(อารมณ์ทางโลกต่างๆ) ที่แสดงผลออกมาได้ทางกาย วาจา ใจ(มโนกรรม) อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ
กล่าวคือคงมีแค่ทุกขเวทนาและทุกข์ของสังขารขันธ์อันเป็นไปตามธรรมชาติของขันธ์ ๕ ทั้งทางกายและใจ
แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์หรือทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนเกิดแก่ใจ
ชีวิตหรือกระบวนจิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรม(หรือธรรมชาติแท้ๆ)อันไม่ก่ออุปาทานทุกข์หรือทุกข์ทางใจใดๆ ขันธ์๕เป็นเพียงกระบวนการของกายและจิตในการดําเนินชีวิตอันเป็นปกติธรรมชาติของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกหมู่เหล่า ดังขบวนการนี้
อายตนะภายนอก
สฬายตนะ(อายตนะภายใน)
วิญญาณ
ผัสสะ
เวทนา
สัญญา
สังขารขันธ์ กระบวนธรรมของขันธ์๕ตามปกติ......แบบย่อ.
หรือ แบบขยายความโดยละเอียดขึ้นมาอีกขั้น เพื่อประโยชน์ในภายหน้า เพื่อประกอบการพิจารณาให้เข้าใจในเวทนา
อายตนะภายนอก
สฬายตนะ(อายตนะภายใน)
วิญญาณ
ผัสสะ
สัญญา(จํา)
เวทนา
สัญญา(หมายรู้)
สังขารขันธ์
เกิดสัญเจตนา
กรรม(การกระทำต่างๆทั้งทางกาย วาจา หรือใจเช่นมโนกรรม)
คือแยกสัญญาออกเป็นสัญญาจําและหมายรู้เพื่อประโยขน์ในการแสดงให้เห็นสภาวธรรมของการเกิดเวทนาชนิดต่างๆ อันมีทุกขเวทนา, สุขเวทนา, ไม่ทุกข์ไม่สุขหรือเฉยๆ ได้ชัดเจนขึ้น อันล้วนเกิดขึ้นได้เพราะสัญญา(จํา)
ขันธ์ ๕นี้ก็คือขบวนการทํางานของชีวิต ในการรับรู้, คิดค้น แล้วสั่งการให้ทั้งจิตและกายทํางานนั่นเอง, ขันธ์ ๕แบบนี้เป็นขันธ์ ๕ ตามปกติธรรมชาติและไม่เป็นทุกข์ เป็นขันธ์ธรรมดาๆที่ต้องเกิดขึ้นทุกขณะจิตตราบเท่ายังดำรงขันธ์คือชีวิตอยู่, แต่เกิดเป็นทุกขเร่าร้อน์แผดเผา เพราะมีตัณหาและอุปาทานมาร่วมกับขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นด้วย อันเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทในองค์ธรรมชรานั่นเอง ดังกระบวนธรรมที่แสดงนี้
อายตนะภายนอก
สฬายตนะ
วิญญาณ
เวทนา
ตัณหา
อุปาทาน
ภพ
ชาติเกิดอันคือทุกข์
ตัณหา ในวงจรปฏิจจสมุปบาทจึงเทียบได้กับ สังขารขันธ์ของขันธ์ ๕ นั่นเอง เพียงแต่ตัณหาเป็นสังขารขันธ์หรืออาการของจิตชนิดประกอบด้วยกิเลสคือความทะยานอยาก ส่วนอุปาทานก็คือสัญเจตนา(ความเจตนา,ความจงใจ,ความคิดอ่าน)ในขันธ์ ๕ แต่อุปาทานเป็นเจตนาที่เจือกิเลสคือ ด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลสตน จึงเกิดการตกลงปลงใจในสถานะภาพต่างๆ(ภพ)ขึ้น จึงเป็นการเริ่มเกิดขึ้น(ชาติ)ของความทุกข์ ซึ่งชาติก็คือ ตัณหาหรือสังขารขันธ์คิอความรู้สึกหรืออาการของจิตที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเจตนาเป็นไปตามความเชื่อ ความเข้าใจ ความยึดมั่นของตัวตนเป็นเอก ซึ่งท่านเรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ จึงเป็นการเริ่มเกิดขึ้นของทุกข์ และเมื่อยังมีการปรุงแต่งฟุ้งซ่าน สังขารูปาทานขันธ์นี้ก็จะแปรไปทำหน้าที่เป็น รูป(สิ่งที่ถูกรู้)ในองค์ธรรมชรา หรือก็คือธรรมารมณ์ที่ย่อมแฝงกิเลสจากอุปาทาน ซึ่งเรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ แล้วดำเนินวนเวียนเป็นวงจรหมุนเวียนแปรปรวนไปในองค์ธรรมชรา โดยขันธ์ทั้ง ๕ ในชราล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ คิอ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ซึ่งคือเหล่าขันธ์ทั้ง ๕ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เพียงแต่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานทั้งสิ้น จึงแสนเร่าร้อนยาวนาน ดังภาพวงจรชราที่แสดงด้านล่างนี้
ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
ขันธ์ ๕ ช่วงแรกก่อนเกิดทุกข์เป็นขันธ์ตามปกติธรรมชาติอันมีธรรมารมณ์ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส มากระทบเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ถ้าไม่มีสติก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้ขันธ์ส่วนที่เหลืออยู่ยังไม่เกิด, เกิดการแปรปรวนถูกครอบงําไปเกิดในชาติ....ชรา-มรณะของวงจรปฏิจจสมุปบาท อันล้วนกลับกลายเป็นอุปาทานขันธ์อันถูกครอบงําหรือมีอิทธิพลของอุปาทานครอบงําแล้ว และจักเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งขบวนแบบกระบวนธรรมด้านล่างนี้ อีกกี่ครั้งกี่หนก็ได้ จนกว่าจะมีสติ หรือหยุดไปเพราะสาเหตุอื่นมาเบี่ยงเบนหรือบดบัง จนดับไปในที่สุด แต่ย่อมต้องเก็บนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิต รอวันกำเริบเสิบสานในภายหน้า
ซึ่งต่อมาเมื่อระลึกขึ้นมาใหม่อันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันย่อมเป็นสังขารที่ประกอบด้วยกิเลสจากอาสวะกิเลส ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจัยสืบเนื่องตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดตัณหา หรืออันคือมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเข้าไปอีกครั้ง ก็จักไปเข้าวงจรของทุกข์ใหม่อีก เกิดความทุกข์นั้นๆขึ้นอีก เป็นวงจรอุบาทไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้ไปตลอดกาลนาน........
แสดงวงจรความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ หรือ กระบวนจิตพื้นฐานของมวลมนุษย์
ขยายความรายละเอียด
ภาพขยายของ ชรา อันแปรปรวน อันมี อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เกิดวนเวียน ดำเนินไปเป็นวงจรเช่นกัน เป็นที่เกิดดับๆแห่ง อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นทุกข์เร่าร้อนเผาลน หรือ อุปาทานทุกข์ นั่นเอง จน มรณะ อันเป็นการดับไป แล้วเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสอันนอนเนื่อง |
ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
ความคิดนึกปรุงแต่ง ที่แค่แว๊บมาหนึ่งครั้ง |
คือ ขันธ์๕ ที่เกิดหนึ่งครั้ง |
ขันธ์๕ที่เกิดหนึ่งครั้ง |
คือ ต้องเกิดเวทนาขึ้นหนึ่งครั้งเช่นกัน โดยธรรมชาติ |
เวทนาที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง |
คือ หนึ่งโอกาสที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นหนึ่งครั้ง |
ตัณหาที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง |
คือ เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดอุปาทานจนเป็นอุปาทานทุกข์ในชรา |
ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดแว๊บๆ 100 ครั้ง |
คือ โอกาสเกิดอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ได้ 100 ครั้งเช่นกัน |
ดังนั้นความคิดนึกปรุงแต่งจึงเป็นสิ่งที่ต้องนําออกและละเสีย(ตัด, ดับ, เปลี่ยนอิริยาบถ,ใช้กําลังของจิตเข้าช่วยตัดช่วยดับ, ใช้อุเบกขา เป็นกลางวางทีเฉย ไม่เอนเอียงแทรกแซงไปด้วยถ้อยคิดปรุงแต่งใดๆ อย่าไปใช้วิธีคิดจะดับจะตัดอย่างไรอันเป็นการเปิดโอกาสให้จิตคิดนึกปรุงแต่งออกไปนอกลู่นอกทางได้, ใช้กําลังของจิตตัด,ดับ,หยุดคิดนึกปรุงแต่งจักได้ผลดีกว่า, ตัด ดับ นี้เป็นภาษาธรรมอันหมายถึงทําเยี่ยงไรจึงหยุดการทํางาน โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย มิได้หมายถึง การกดข่ม หรือการทําให้ดับให้สูญ)
ข้อควรระวัง จําเป็นต้องใช้ปัญญา(ความเข้าใจ)ในการแยกแยะความคิดนึกของขันธ์๕อันเป็นประโยชน์ในการดําเนินชีวิตและก่อให้เกิดสติปัญญา กับความคิดนึกปรุงแต่ง อันยังให้เกิดทุกข์ให้ได้ เพราะการตัด ดับ กดข่มทุกๆความคิดนึกก็ก่อให้เกิดโทษอย่างรุนแรงเช่นกัน (รายละเอียดของคิดนึกปรุงแต่ง)
(เป็นเช่นเดียวกันใน ตา หู จมูก ลิ้น และกาย, เป็นเฉกเช่นเดียวกับใจ ท่านจึงกล่าวอยู่เนืองๆให้ สํารวม สังวร ระวังในอายตนะภายในทั้ง๖ - เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์)
ขอให้สังเกตุ ตัณหา เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง(สังขารขันธ์) ที่ความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งใดๆ ความนึก ความคิด ที่อยากให้เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้, ไม่อยากอย่างนั้น ไม่อยากอย่างนี้ ผลักไสความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ, อันล้วนเป็นตัณหาที่ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะสังเกตไม่ออก
ขอให้สังเกตุที่ ชรา อันดำเนินไปเป็นวงจรเช่นกัน แต่เป็นที่เกิดแห่งวงจรของอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์ล้วนๆ หรือเกิดทุกข์เร่าร้อนเผาลนแล้ว
→อุปาทาน→ภพ→ ชาติ
→รูปูปาทานขันธ์24
+ ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์25
สังขารูปาทานขันธ์
มโนกรรมคิดนึกที่เกิด 28 24, 25, 26, 27, 28 ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ เพราะเกิดจากอุปาทานสังขารขันธ์ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
มันทํางาน วนเวียนอยู่เยี่ยงนั้น เกิดดับๆ อยู่บ่อยครั้งแทบทุกขณะจิต และการดับนั้นเป็นการดับแบบค่อยๆจางคลายหายไป แต่ยังไม่ทันจางคลายหายไปก็เกิดความคิดปรุงแต่ง(รูปูปาทานขันธ์24) ขึ้นอีกเป็นระยะๆเข้าแทรกต่อเนื่อง คือ เกิดความคิดอันล้วนเป็นอุปาทานขันธ์๕ ขึ้นหลายๆความคิดในเรื่องทุกข์นั้นๆ คือจริงๆแล้วอาจคิดถึง ๑๐... ๒๐...๓๐...๑๐๐... ครั้งวนๆเวียนๆเป็นทุกข์อยู่ใน ชรา14 กล่าวคือ ผลหรือเวทนูปาทานขันธ์26ของความคิดหนึ่งยังไม่ทันจางคลายหายไปสิ้น ก็เกิดความคิดปรุงแต่ง(รูปูปาทานขันธ์24)อีกความคิดหนึ่งขึ้นมาเรื่อยๆเป็นระยะๆ จนราวกับว่าต่อเนื่องเป็นชิ้นเป็นมวลเดียวกัน ดำเนินไปเยี่ยงนี้จนกว่าจะดับไปเป็นอาสวะกิเลส23 ในนักปฏิบัติอาจเป็นเพราะสติรู้เท่าทันและมีปัญญาที่รู้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ สติเป็นผู้ระลึกรู้ และปัญญาเป็นตัวจัดการให้ดับ อันเป็นไปในผู้มีวิชชา หรือดับไปเองตามธรรมชาติของปุถุชนโดยการถูกเบี่ยงเบนบดบัง หรือแยกพรากโดยสิ่งอื่นๆเช่น มีสิ่งอื่นมากระทบผัสสะให้เบี่ยงเบน ความเพลีย ความเหนื่อย ความหิว ความง่วง ความอยากในสิ่งอื่นๆ กิจอื่นๆในทางโลกๆ ฯลฯ. และเป็นการดับไปอย่างไม่ถาวร เป็นแบบชั่วคราว กล่าวคือ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันอาจพึงเกิดขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
การปฏิบัติเวทนานุปัสสนา (หรือจิตเห็นเวทนา หรือสติเห็นเวทนา) ก็คือการที่มีสติรู้เท่าทันและเข้าใจสภาวะธรรม(ปัญญา)ของเวทนา ดังภาพบน ที่เขียนแสดงว่าหยุดแค่เวทนา หมายถึง รู้เท่าทันเวทนาแล้วปล่อยวาง สักว่าเวทนา ไม่พัวพัน ไม่ยึดถือ รู้สึกอย่างไรก็อย่างนั้นเป็นธรรมดา เมื่อเกิดสังขารขันธ์คือมโนกรรมต่างๆแล้วอุเบกขาเสียนั่นเอง เพราะเวทนาเป็นขันธ์เขาทำงานตามหน้าที่เขา เป็นอิสระจากเรา เพราะไม่ใช่ของเรา จึงไม่ใช่การไปหยุดหรือดับมันได้ดังคำพูดจา เพราะถ้าสติเท่าทันพร้อมปัญญา กระบวนธรรมที่จะเกิดต่อไปก็คือ วงจรจะขาดไปตามภาพบน แล้วดำเนินไปดังนี้
..........ตัณหา
เวทนา
สัญญาหมายรู้(ปัญญาที่ย่อมเก็บจำไว้นั่นเอง)
สังขารขันธ์
ธรรมหรืออารมณ์ที่ไปปรุงแต่งจิต ให้เกิดสัญเจตนาในการกระทำต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา
และใจ แม้อาจเป็นสุขใจ เป็นทุกข์ใจ บ้างก็ตามที แต่ก็เป็นเพียงทุกข์ธรรมชาติที่ไม่เผาลนเหมือนที่จะเกิดในองค์ธรรมชรา
ซึ่งสามารถอุเบกขาได้ง่ายกว่า
เพราะขาดเสียซึ่งตัณหาและอุปาทาน
หรือการมีสติเห็นอุปาทานเวทนา(เวทนูปาทานขันธ์ 26)ที่ถูก อุปาทาน9 ครอบงําแล้วใน ชรา 14 ดังภาพขยายของ วงจรอุปาทานขันธ์๕ ข้างล่างนี้ แต่่ เวทนูปาทานขันธ์26 นี้มีกำลังมากจากตัณหาและอุปาทาน จึงต้องอุเบกขา ด้วยการหยุดการปรุงแต่งฟุ้งซ่านให้ได้ ด้วยทั้งสติและปัญญา
การมีสติรู้เท่าทันเวทนาทั้ง ๒ นี้ ล้วนเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา อันถูกต้องดีงาม ควรใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
→อุปาทาน→ภพ→ ชาติ
→รูปูปาทานขันธ์24
+ ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์25
สังขารูปาทานขันธ์
มโนกรรมคิดนึกที่เกิด 28
24, 25, 26, 27, 28 ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ เพราะเกิดจากอุปาทานสังขารขันธ์ อันถูกครอบงําโดยอุปาทาน9แล้ว |
การปฏิบัติจิตตานุปัสสนา (หรือจิตเห็นจิต หรือสติเห็นจิต หรือสติเห็นจิตสังขาร หรือสติเห็นคิด) คือ การที่สติรู้เท่าทันใจหรือจิต (อันเป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ เช่น ความคิดที่เป็นผลออกมาหรือมโนกรรม) และเข้าใจธรรมด้วยปัญญา
หรือการเห็นจิตหรือคิดที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานหรือเป็นทุกข์แล้ว หรืออุปาทานสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์28) ในชรา
สติรู้เท่าทันทั้งสองนี้ล้วนเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา อันถูกต้องดีงาม ควรใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ทั้ง เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา ใช้การมีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริง แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง, วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือชั่ว(ด้านร้าย) อันล้วนต้องยังให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา8ขึ้นได้
รู้เท่าทันตัณหาและหยุด(นําออกและละเสีย)ตัณหาเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ เป็นการปฏิบัติที่กระทําต่อ ตัณหา โดยตรง เพราะตัณหาแท้จริงแล้วก็เป็นสังขารขันธ์หรืออาการของจิตอย่างหนึ่ง
ดังนั้นพอสรุปได้ว่า
รู้เท่าทัน(สติ)และเข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนา(อันคือ เวทนานุปัสสนา) เป็นการปฏิบัติที่เห็นเท่าทันต่อ เวทนา เป็นตําแหน่งที่ดีที่สุดในเวทนานุปัสสนา ในวงจรปฏิจจสมุปบาท์ เพราะความทุกข์จริงๆ คือ อุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ยังไม่เกิดขึ้นนั่นเอง เกิดแต่เวทนาอันเป็นธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถหลบเลี่ยงได้เป็นธรรมดา
รู้เท่าทันสังขารหรือจิตสังขารหรือความคิด เป็นการปฏิบัติที่เห็นจิตสังขารหรือใจหรือความคิดที่ จึงเป็นตําแหน่งที่ดีที่สุดในการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา เพราะทุกข์ยังไม่เกิดขึ้นจริงๆ เป็นเพียงสังขารขันธ์๕ อันเป็นธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถหลบเลี่ยงได้เป็นธรรมดา ยังไม่เกิดทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนของอุปาทานขันธ์๕
แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว ใช้รู้เท่าทันสิ่งใดก็ปฏิบัติสิ่งนั้น ตามสติ จริต ปัญญา. ก็ได้ผลเช่นกัน เพราะล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันนั่นเอง เพียงช้าเร็วกว่ากันบ้างเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อเกิดความคิดใดๆขึ้นมา อันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการดำเนินชีวิตต่างๆอันล้วนมีในพระอรหันต์เช่นกัน แต่อย่าไปคิดนึกปรุงแต่งต่อไป ต้องเข้าใจและยอมรับสภาวะธรรม(ชาติ)นั้น แล้วหยุดคิด หยุดนึกอันหมายถึงการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง อันจะไปทําหน้าที่เป็นสังขาร หรือ ธรรมารมณ์ดังที่กล่าวมาแล้ว และหมายรวมถึงหยุดอุปาทานรูป (อยู่ในภาพขยายวงจรชรา14) อันคือ ความคิดที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้วคือเป็นความคิดที่แฝงทุกข์แล้วนั่นเอง, ส่วนที่เป็นความคิดปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านต่างๆนาๆอันมักเกิดเมื่อจิตสังขารออกมาเป็นความพึงพอใจ,ความไม่พึงพอใจ ซึ่งเมื่อคิดต่อความยาวสาวความยืดแล้วจักนําไปสู่วงจรทุกข์ในที่สุด เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาอันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา, ที่อุปาทานรูป24 นั้นล้วนแต่เป็นความคิดอันเป็นทุกข์แล้วทั้งสิ้น อันล้วนแล้วแต่ถ้าปล่อยจิตให้ไปคิดยิ่งเป็นทุกข์วนเวียนหนักขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีเรื่องกระทบใจให้ขุ่นเคืองไม่พอใจในแค่ระดับขันธ์๕อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ปกติต้องหยุดคิดปรุงแต่ง, ผู้เป็นทุกข์อยู่แล้วต้องหยุดคิดปรุงแต่ง24 , ในตําแหน่ง 24นี้มีความแข็งแกร่งมากเพราะถูกครอบงําโดยอุปาทานมาโดยไม่รู้ตัวแล้ว(สติไม่ทัน) ผู้ปฏิบัติใหม่อาจมีความรู้สึกว่าหยุดไม่ได้ "ฉันหยุดไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ก็มันเป็นทุกข์อยู่นี่" แต่การพิจารณาและความเพียรจักทําให้เห็นจิตและเวทนาในปฏิจจสมุปบาทอันก่อให้เกิดทุกข์ ตลอดจนความเข้าใจในสภาวะธรรมจะทําให้ท่านเห็นและหยุดทุกข์ได้ในที่สุด
การเห็นความคิดที่หรือเห็นอุปาทานสังขารขันธ์28ที่เกิดในวงจร14 อันล้วนมีอุปาทานครอบงําจนเกิดความเร่าร้อนแล้ว จึงตัดหรือดับได้ยาก อาจต้องใช้การพิจารณาดับตัณหาอันคือจิตตสังขารเข้าช่วยเช่นพิจารณาให้รู้ว่าเพราะอยากหรือไม่อยากในอะไรหรือสิ่งใดในทุกข์นั้นหรือเปล่า และต้องหยุดความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นทุกข์ ที่ไปกระทำต่อเนื่องอีกในวงจรชรา14นั่นเอง
เวทนา จะเห็นได้ว่าเป็นจุดสําคัญที่จะไปเป็นขันธ์๕ปกติตามธรรมชาติถ้ามีสติรู้เท่าทัน หรือจะหักเหไปเข้ากระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ก็ย่อมได้, และพิจารณาว่าเวทนา เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดได้สังขารขันธ์ชนิดตัณหา
สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท คือสังขารการกระทําตามที่ได้อบรมสั่งสมประพฤติปฏิบัติไว้แต่อดีต ทั้งทางกายการกระทํา,วาจาทางการพูด,หรือใจ ทางใจนั้นก็คือความคิดหรือธรรมารมณ์ชนิดที่มีอาสวะและอวิชชาแฝงอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาทก็คือทําหน้าที่คล้ายกันกับธรรมารมณ์16 แต่เป็นชนิดเกิดจากจิตอันมีอาสวะกิเลสและอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยโดยตรง หรือ จิตปรุงกิเลส นั่นเอง
ข้อสําคัญการปฏิบัติในหลักพระพุทธศาสนานั้นต้องยอมรับในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ว่า
ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์ ๕ นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์หรือทุกข์อันบังเกิดแก่ใจอันเป็นทุกข์จริงๆ (ชรา14)
หรือ เหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น
ซึ่งนักปฏิบัติใหม่ๆหรือผู้ที่ปฎิบัติแต่ทางสมถะจักไม่เข้าใจแก่นพุทธอันนี้ดีนัก และทําใจให้ยอมรับเข้าใจไม่ได้ว่า "เหตุแห่งทุกข์ยังคงมีอยู่" หวังแต่ในทางปาฎิหาริย์ชนิดเป็นสุขดังเขาว่า เหนือกว่าเทวดา เหนือกว่าพรหม จนคิดว่าไม่มีสิ่งใดมากระทบได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก ไม่มีโรคภัย ไม่มีเสนียดจัญไรใดๆมากราย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีครบหมดทุกอย่างแต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้นหรือเป็นทุกข์ใดๆอันเกิดแก่ใจกับสิ่งต่างๆเหล่านั้น นี้คือธรรมโอสถขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้
การแสดงการเปรียบเทียบปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ เพื่อต้องการให้เห็นว่าธรรมทั้งสองสอดคล้องกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว จึงเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เมื่อดำเนินชีวิตไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕ก็ไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้ามีตัณหาต่อเวทนานั้นก็จะแปรปรวนเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง และต้องการแสดงให้เห็นว่าในปฏิจจสมุปบาทนั้นมิได้แสดงสัญญาดังเช่นในขันธ์๕ จึงอาจทำให้เกิดวิจิกิจฉาสังสัยในธรรมขึ้น เนื่องเพราะในปฏิจจสมุปบาท สัญญานั้นทำงานแฝงอยู่ในรูปของอาสวะกิเลส(สัญญาจำที่แฝงด้วยกิเลส)แล้วนั่นเอง
พระอริยบุคคล ที่เป็นอรหันต์ยังคงดําเนินชีวิตอยู่ในขันธ์๕(สอุปานิเสสนิพพาน) อันมีสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง ทั้งทางกายทางใจตามขบวนการขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติแท้)ที่ทุกคนต้องมี แต่ท่านจักไม่มีอุปาทานทุกข์อย่างปุถุชน และความทุกข์ที่เราๆ ทั้งหลายกําลังประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยไม่รู้ตัวว่าเป็นอุปาทานทุกข์แต่ไปนึกกันเอาเองว่าเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในอุปาทานทุกข์หรือก็คือความทุกข์ในองค์ธรรมชราในวงจรปฏิจสมุปบาทหรืออวิชชานั่นเอง
|