ไปสารบัญ

หัวข้อธรรม ๒๖

ทุกข์ และ ทุกขเวทนา ที่พากันรังเกียจ

คลิกขวาเมนู

        ความทุกข์ หมายถึง สังขารขันธ์อันเป็นทุกข์ หรือสภาพของจิต หรืออารมณ์ หรืออาการต่างๆของจิต ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญเจตนา ยังให้เกิดการกระทำต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งดี ชั่ว และกลางๆ เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยกันของ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์ที่หมายรู้

        ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ ในสิ่งที่ผัสสะ คือเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการต้องรับรู้ในรสสัมผัส ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสในอารมณ์นั้นๆ จึงเรียกว่าการเสวยอารมณ์  แล้วเป็นทุกข์จากการเสพรสสัมผัสนั้น ได้ทั้งกายและใจ คือออกมาในทางลบ เรียกกันว่า ทุกขเวทนา เป็นความรู้สึกรับรู้ในสิ่งนั้นว่าเป็นทุกขเวทนา (ยังไม่ใช่ความทุกข์ ชนิด เสียใจ เศร้าใจ ฯ. อันเป็นสังขารขันธ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแต่จิตหรืออาการของจิตหรืออารมณ์  (เพียงแต่เรียกพ้องกัน บางครั้งจึงสับสน) จะเรียกว่าทุกขเวทนาว่า ทุกข์จากการผัสสะก็ได้ เข้าใจได้ง่ายขึ้น

                                                  ผัสสะ                                                                                                                                 ยังให้เกิด                                      ผลให้เกิด

เสียง(นินทา)    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป หู  โสตวิญญาณ  anired06_next.gif  สัญญา(จํา)   ทุกขเวทนา  สัญญา(หมายรู้)   สังขารขันธ์ทุกข์   anired06_next.gif สัญเจตนา(เจตนา,จงใจ) anired06_next.gif กรรม (คือ การกระทำต่างๆทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ)

        ทั้งสังขารขันธ์ทุกข์ และทุกขเวทนา ที่ปุถุชนล้วนพากันเกลียดและกลัวกันอย่างยิ่งเป็นปกติวิสัย ไม่อยากประสบพบพานคือไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยนั้น  ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว กลับกลายเป็นว่า เป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องมีในการดำเนินชีวิตในสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งเช่นขันธ์อื่นๆเช่นกัน  ชนิดที่ว่า ถ้าไม่มีทุกข์และทุกขเวทนาเหล่านี้เสียแล้ว สัตว์โลกย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย  จึงควรทำความรู้จักกับทุกขเวทนาและความทุกข์นี้ให้แจ่มแจ้ง  จะได้ยอมรับตามความเป็นจริง อีกทั้งไม่เกรงกลัวในทุกข์ทั้งหลายอีกต่อไป อีกทั้งรู้ในคุณค่าของทุกข์และทุกขเวทนาอีกด้วย  จะได้ไม่เกิดความรังเกียจและเกรงกลัวจนเกิดตัณหาคือวิภวตัณหา กล่าวคือไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น  ทั้งๆที่ทุกข์และทุกขเวทนาเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งอันจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติธรรมดา   และเมื่อเกิดตัณหา หรือวิภวตัณหาขึ้นแล้วคือไม่อยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไป ก็ย่อมเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบันธรรม  กล่าวคือทุกข์เวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาตินี้ ย่อมแปรปรวนไปเป็นทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือเวทนูปาทานขันธ์  และไปยังให้เกิดความทุกข์หรือสังขารขันธ์อันเป็นทุกข์ที่แตกต่างจากธรรมชาติคือกลายเป็นสังขารูปาทานขันธ์ สังขารขันธ์อันประกอบด้วยอุปาทานความยึดมั่นของตน  จึงกลายเป็นสังขารขันธ์ทุกข์อันมีความเร่าร้อน ทั้งความเผาลน อีกทั้งทุรนทุราย เสียยิ่งกว่าสังขารขันธ์ทุกข์โดยธรรมคือธรรมชาติยิ่งนัก  และทั้งเวทนูปาทานขันธ์และสังขารูปาทานขันธ์นี้นี่เองที่เราทั้งหลายสมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดับไป ไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น และเป็นสิ่งที่สามารถดับไปได้ด้วยธรรมโอสถขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ซึ่งเวทนูปาทานขันธ์และสังขารูปาทานขันธ์นี้ย่อมไม่เหมือนกับทุกขเวทนาหรือสังขารทุกข์ ที่ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และเป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงไม่สามารถไปควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เนื่องด้วยเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา อีกทั้งทำงานตามหน้าที่ตนเท่านั้นตามเหตุปัจจัย เป็นอิสระจากเราโดยสิ้นเชิง,   การดับไป ไม่ให้เกิด ไม่ให้มี นั้นเป็นไปในลักษณาการคือ การไม่ให้มันมีการเกิดขึ้นสืบเนื่องต่อไป  ดังการอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั่นเอง

        ทุกขเวทนา ก็เหมือนสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ย่อมมีทั้งคุณและโทษ  ฝ่ายโทษของทุกขเวทนา ก็คือ ความไม่สบายกาย,ไม่สบายใจขณะที่ผัสสะก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่  ตามความเป็นจริงแล้วทุกขเวทนาก็คือทุกข์อย่างหนึ่งจริงๆจากการจำเป็นต้องรับรู้เสพรสสัมผัส  แต่ถึงแม้เป็นทุกข์ที่พากันรังเกียจ ไม่อยากพบพาน ไม่อยากให้เกิดขึ้น ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น แม้สักเท่าใดก็ตามที แต่ความที่เป็นทุกข์ธรรมชาติที่หมายถึง เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติในผู้มีชีวิต กล่าวคือ ไม่ว่าผู้ใด, ไม่ว่าอย่างไรเสีย ก็ต้องเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้  เพราะเป็นกระบวนธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตเพื่อการดำรงชีวิตที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการผัสสะกับสิ่งต่างๆคือเหล่าอายตนะภายนอกอันมี รูป๑ รส๑ กลิ่น๑ เสียง๑ สัมผัส๑ ธรรมารมณ์๑ เหล่านี้ทั้งปวงนั่นเอง แล้วย่อมต้องเกิดเวทนา เสพรสเป็นสุข๑ เป็นทุกข์๑ ไม่สุขไม่ทุกข์๑ อย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาที่มีอยู่ ที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต   ส่วนการที่มีผู้กล่าวกันว่า เมื่อผัสสะกับอายตนะภายนอกบางสิ่งบางประการแล้ว ไม่รู้สึกอะไร หรือไม่มีอะไร หรือเฉยๆ หรือไม่เกิดเวทนาใดๆ เหล่านั้นนั่นแหละคือไม่สุขไม่ทุกข์หรืออุเบกขาเวทนานั่นเอง  ฉนั้นจึงไม่ใช่ว่าเมื่อไม่รู้สึกรู้สาคือเฉยๆแล้ว คือการไม่เกิดเวทนาใดๆขึ้น  ย่อมเกิดเวทนาขึ้น เพียงแต่เป็นอุเบกขาเวทนาเท่านั้น  เพราะเวทนาเป็นขันธ์คือส่วนหรือกอง ที่จำเป็นของชีวิตและการดำเนินชีวิต อันมีทั้งหมด ๕ ขันธ์ คือขันธ์๕ ด้วยกันนั่นเอง   ดังนั้นโทษของทุกขเวทนาอันทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจนั้นจึงเป็นที่รู้ๆกันและเป็นที่รังเกียจกันโดยทั่วไปของปุถุชน   แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาโดยละเอียดและแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)แล้วจะพบความจริงว่า แม้เป็นทุกข์อันระอา คือทนอยู่ด้วยยากคือไม่อยากทนอยู่ด้วย หรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ  แม้ไม่สามารถหลีกหนีได้ แต่เป็นทุกข์ที่ไม่เร่าร้อน เผาลน เท่ากับเหล่าทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานซึ่งผู้เขียนเรียกง่ายๆว่าทุกข์อุปาทาน คือจากเวทนูปาทานนั่นเอง

        ดังนั้นคุณสมบัติของทุกขเวทนา จึงพอจัดแสดงได้โดยสังเขปเป็นข้อได้ดังนี้

        ๑. เป็นทุกข์ธรรมชาติ  ที่ย่อมเกิดขึ้นกับผู้มีชีวิตทั้งปวง ไม่มีข้อยกเว้น ดังเช่น หิว กระหาย ปวดปัสสาวะอุจจาระ ปวดฟัน ปวดท้อง กระทบกับเหล่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ฯลฯ. และเมื่อมีการผัสสะกับอายตนะภายนอกใดๆ ก็ย่อมเป็นไปตามสัญญาอันขุ่นมัว(กิเลส)ในอายตนะภายนอกนั้นๆ ดังเช่นเมื่อ ตา กระทบกับ รูป ที่มีสัญญาขุ่นมัวคือกิเลสในรูปนั้นๆประกอบอยู่ ก็ย่อมเกิดทุกขเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา ไม่เป็นอื่นไปได้ (ยกเว้นกดข่มไว้ได้ด้วยกำลังอยู่ในอำนาจของฌานหรือสมาธิ ซึ่งเป็นการชั่วคราวหรือวิกขัมภนวิมุตติ)

        ๒. แม้ทุกข์เวทนา ไม่สบายกายไม่สบายใจ แต่อยู่ชั่วขณะผัสสะ แล้วก็คลายดับไป

        ๓. ทุกขเวทนา ทำงานเป็นอิสระจากเรา ไม่ใช่ของเรา จึงควบคุมบังคับเขาไม่ได้  การรับรู้เสพรสของสิ่งที่ผัสสะเป็นอิสระจากเรา ควบคุมบังคับไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย

        เมื่อรู้จักโทษ โดยทั่วไปของทุกขเวทนาแล้ว  คราวนี้มากล่าวกันถึงคุณของทุกขเวทนา ที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกันบ้าง ว่ามีประโยชน์บ้างหรือไม่ อย่างไร

        ทุกขเวทนาที่เราพากันรังเกียจนั้น  เป็นตัวป้องกันทั้งร่างกายแลชีวิตเราอย่างหนึ่งโดยแท้จริง  ลองพิจารณาจากกระบวนธรรมดังต่อไปนี้  ดังเช่น เมื่อมืออันคือส่วนของกาย กระทบคือโผฏฐัพพะกับ ของร้อน

        มือ  ของร้อน กายวิญญาณ  ผัสสะ  สัญญา(จำได้) ทุกขเวทนา สัญญา(หมายรู้) สังขารขันธ์ (กายกรรม-ทางกายสะดุ้งชักมืออกจากไฟทันที ทางวาจาอาจอุทานออกมา ทางใจก็ย่อมเป็นทุกข์)

กล่าวคือ เวทนาที่เกิดขึ้นนี้ย่อมเป็นทุกขเวทนาทั้งฝ่ายกายและใจนั่นเอง  ที่ย่อมยังให้เกิดสังขารขันธ์ทางกายคือกายสังขารหรือการกระทำทางกาย คือเกิดทุกขเวทนาจนต้องสะดุ้งดึงมือออกมาจากไฟที่เผาลนอยู่นั้น ทางวาจาอาจอุทานออกมา ทางใจก็ย่อมเป็นทุกข์

        โยนิโสมนสิการโดยแยบคาย  ถ้าไม่มีคือไม่เกิดทุกขเวทนาอันรุนแรงขึ้น ย่อมไม่รู้สึกในทุกข์หรือความไม่สบายทางใจและกายที่ทั้งแสนเจ็บปวดแสบร้อนที่ย่อมเกิดขึ้นจากของร้อน ย่อมหมายถึง ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดกายสังขารคือการกระทำทางกายโดยการดึงมือคือสะดุ้งออกจากของร้อน ผลก็คือกายหรือส่วนของกายคือมือนั้นๆย่อมถูกของร้อนจนบาดเจ็บเสียหายจนอาจถึงความตายได้เป็นที่สุดโดยไม่รู้ตัว  ก็เพราะความที่ไม่เกิดทุกขเวทนาที่เราเกลียดที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายสังขารชนิดอัตโนมัติขึ้นปกป้องร่างกาย   อีกทั้งเมื่อเกิดทุกขเวทนาทางกายขึ้นอันไม่ชอบใจไม่ถูกใจ ก็ย่อมเกิดความหลาบจำคือเกรงกลัว คือเกิดทุกข์ชนิดอาสวะกิเลส ทุกข์ทางกายที่นอนเนื่องย้อมจิตขึ้น ก็เพื่อปกป้องร่างกายแลชีวิตเรานั่นเอง   ลองพิจารณากายถูกมีดบาด  กายกระทบร้อน กระทบแข็ง หิว กระหาย ฯลฯ. เหล่านี้ล้วนเป็นทุกขเวทนาทางกาย ที่ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายสังขารทุกข์ต่างๆขึ้นเช่นกัน ที่ล้วนเป็นไปก็เพื่อการปกป้องในกายหรือชีวิตหรือเพื่อการดำเนินชีวิตนั่นเอง  ซึ่งถ้าไม่มีเสียซึ่งทุกขเวทนา กายก็คงถึงกาลแตกดับไปในไม่ช้านั่นเอง  นี้เป็นคุณประโยชน์ข้อหนึ่งของทุกขเวทนา ที่ไม่มีเสียย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

        ส่วนทุกขเวทนาทางใจ ที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนไม่สบายใจนั้น ถ้าไม่มีเสีย ก็ดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เช่นกัน เพราะทุกขเวทนาย่อมยังให้เกิดสังขารขันธ์อันเป็นทุกข์หรือความทุกข์ใจขึ้นขึ้นในที่สุด และทุกข์ใจนี้ก็เพราะเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดสิ่งมีประโยชน์ต่างๆในการดำรงชีวิตและต่อโลกจากเหล่าทุกขเวทนาทางใจและสังขารทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นนั่นแล  ดังเช่น ทุกขเวทนาหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นจากอดอยาก จึงเกิดทุกขเวทนาทางใจขึ้น และย่อมยังให้เกิดสังขารขันธ์ความทุกข์ขึ้น ซึ่งก็ย่อมทำให้บุคคลเหล่าใดเหล่านั้นเกิดการขยันขันแข็งจึงเป็นการปกป้องหรือป้องกันการอดอยาก ทำมาหากิน อันเป็นไปโดยไม่รู้ตัว,  สังขารขันธ์ทุกข์เพราะกลัวจน ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความขยันทำงานขึ้น,  ทุกข์เพราะกลัวผีหรือกลัวตกนรก ก็เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งได้ ที่ทำให้เป็นคนดีอยู่ในศีลธรรม,  ทุกข์ใจเพราะเจ็บป่วยไข้  ก็เป็นเหตุปัจจัยให้รักษา อีกทั้งระมัดระวังป้องกันขึ้น เช่นกลัวไข้หวัด ก็รู้จักการป้องกันให้อบอุ่นก็เนื่องจากการกลัวทุกข์จากหวัดนั่นเอง,  ทุกข์จากความกังวลในสิ่งต่างๆ ก็ทำให้เกิดการระมัดระวังหรือป้องกันขึ้น

        เมื่อโยนิโสมนสิการจนเห็นความจริงในทุกขเวทนาแล้ว  ก็ต้องยอมรับตามจริงว่า  ทุกขเวทนาอันย่อมเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากการที่มีเหตุต่างๆดังแสดงในกระบวนธรรมข้างต้น มาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นได้  ย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกขังต้องดับไป และเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตน เพราะตัวตนนั้นเป็นเพียงกลุ่มก้อนหรือมวลรวมหรือฆนะของเหล่าเหตุต่างๆที่มาประชุมเป็นปัจจัยแก่กันและกันเพียงในชั่วขณะระยะหนึ่งๆเท่านั้น  เมื่อไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นเพียงฆนะ จึงไม่มีใครไปเป็นเจ้าของมันได้แท้จริงได้แม้กระทั่งเรา  เวทนาทั้งปวงจึงล้วนไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา  เราจึงไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้อย่างแท้จริงว่า เราจะเอาแต่สุขเวทนา หรือเราจะเอาทุกขเวทนาบางประการเพื่อยังชีวิต แต่บางประการเราไม่ต้องการเอา ย่อมไม่ได้ เพราะล้วนเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกัน ดังที่กล่าวอยู่เนืองๆในเรื่องขันธ์ ๕ หรือเวทนา   ด้วยเหตุดังนี้เราจำเป็นต้องมีทุกขเวทนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถดำรงขันธ์ได้ดังที่กล่าวข้างต้น

        เมื่อเป็นดังนี้แล้ว รู้โดยแจ่มแจ้งแล้ว ว่าทั้งทุกขเวทนาและสังขารทุกข์เช่นความทุกข์นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่มีเสียก็ไม่ได้  เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ ที่จำเป็นและอีกทั้งต้องประสานสัมพันธ์กันเพื่อการดำรงชีวิต  เราจึงต้องยอมรับว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  ห้ามเสียก็ไม่ได้  จึงควรอยู่ร่วมกันกับมันด้วยปัญญา กล่าวคือยอมรับความจริง ซึ่งย่อมทำให้ขาดความอยากให้มันหายไปจึงลดความเร่าร้อนหรือตัณหาลงนั่นเอง  เมื่อขาดตัณหาเสียแล้ว  ย่อมไม่สามารถดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบันธรรมอันก่อทุกข์ได้ต่อไป  ย่อมหมายถึงไม่สามารถก่อเป็นความทุกข์ชนิดที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่เร่าร้อนรุนแรงยิ่งกว่าทุกขเวทนาตามธรรมคือธรรมชาติ  นอกจากรุนแรงเร่าร้อนกระวนกระวายยิ่งกว่าทุกขเวทนาธรรมดาหรือธรรมชาติแล้ว ยังก่อให้เกิดทุกข์อย่างยาวนานอีกด้วย  กล่าวคือเกิดการวนเวียนปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนอยู่ในองค์ธรรมชราในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  ซึ่งเมื่อปรุงแต่งวนเวียนอยู่เยี่ยงนั้น ก็ย่อมเร่าร้อนรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ อันเป็นไปตามการวนเวียนปรุงแต่งต่างๆนาๆที่ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอุปาทานอย่างไม่รู้ตัวหรือแม้รู้ตัวแต่ก็ควบคุมไม่ได้เสียแล้ว 

       เวทนาดับ ไม่ได้หมายถึงการไปดับเวทนา แต่มีความหมายถึงเวทนานั้นแม้มีอยู่ แต่สักว่าเวทนา จึงไม่ส่งผลให้เกิดสังขารขันธ์ทุกข์ที่ประกอบด้วยกิเลส(อุปาทาน) เช่น โกรธ เสียใจ ฯ. อันเร่าร้อนรุนแรง  เพราะเวทนาเป็นขันธ์ เป็นอนัตตาทำงานตามหน้าที่และเป็นอิสระจากเรา ควบคุมบังคับไม่ได้ ด้วยเป็นอนัตตา

กลับหน้าเดิม

กลับสารบัญ