ตัณหา VS สังขารขันธ์
ตัณหา คือสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง หรือ"อกุศลสังขารขันธ์"นั่นเอง |
|
ตัณหา มักใช้กล่าวในปฏิจจสมุปบาท และในอริยสัจ ๔ เรื่องสมุทัยและโดยทั่วๆไป แต่เมื่อนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับขันธ์ ๕ ก็จัดได้ว่าเป็นสังขารขันธ์คืออารมณ์ทางโลกๆอย่างหนึ่งนั่นเอง เหตุที่ต้องนำมาจำแนกแจกแจงเพราะมีการกล่าวถกเถียงกันอยู่เนืองๆว่า ตัณหาจัดเป็น โทสะบ้าง โมหะบ้าง โลภะบ้าง ฯ. ก็มี แต่เพื่อให้เข้าใจสอดคล้องกับธรรม ปฏิจจสมุปบาท อีกทั้งขันธ์ ๕ ที่มักเน้นกันอยู่เนืองๆในเว็บนี้ จึงต้องจำแนกให้ชัดเจน ลองโยนิโสมนสิการด้วยตนเองดังนี้
ตัณหา - ความรู้สึกทะยานอยาก (รวมถึงความไม่อยากด้วย) ซึ่งก็คือ อารมณ์ปรารถนาหรืออารมณ์ทะยานอยากนั่นเอง, ความรู้สึกปรารถนา, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา (craving; selfish desire) ซึ่งก็คือ อาการของจิตชนิดหนึ่ง หรืออารมณ์ทางโลกอย่างหนึ่งนั่นเอง ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ประกอบด้วยความทะยานอยากหรือความปรารถนาในสิ่งต่างๆนั่นเอง
สังขารขันธ์ - สภาพหรือธรรม(อาการของจิต หรืออารมณ์ทางโลก หรือความรู้สึก) ที่ปรุงแต่งใจหรือจิต ให้เกิดสัญเจตนาคือเจตนา หรือคิดอ่าน หรือปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำต่างๆ ได้ทั้งฝ่ายดี หรือชั่ว และแม้กลางๆ ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ หรือกล่าวได้ว่า ธรรม(สิ่ง,อาการของจิต)ที่มีเจตนา(สัญเจตนา)เป็นประธาน ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำต่างๆทั้งความคิดนึก การพูดจา การกระทำทางกาย มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ, สังขารขันธ์มักเป็นการกล่าวใช้กันทั่วๆไปในเรื่องขันธ์ ๕
ตัณหา ความรู้สึกทะยานอยาก
ความปรารถนา ย่อมเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตหรือใจ ดังกล่าวข้างต้น คือสภาพหรืออาการของจิตที่มีความปรารถนา
หรือจิตมีสภาพหรืออาการความทะยานอยากหรือปรารถนาในสิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงเป็นเหตุไปปรุงแต่งจิต
ให้เกิดความคิดอ่านหรือเจตนาให้เป็นไปตามความปรารถนาหรือความยึดมั่นถือมั่นของตน
อันคืออุปาทานนั่นเอง (จึงเทียบได้กับความคิดอ่านหรือสัญเจตนาในขันธ์ ๕) ที่จะกระทำในสิ่งต่างๆ ออกมาทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปตามใจปรารถนาหรือกิเลสตน จึงกล่าวได้ว่าตัณหานั้นเป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่งนั่นเอง
แต่เป็นฝ่ายอกุศล
ดังที่กล่าวข้างต้น เพราะยังให้เกิดเจตนาในลักษณาการเดียวกันกับขันธ์
๕ เพียงแต่เจตนานั้นคืออุปาทานคือเจตนาหรือคิดอ่านตามความเชื่อมั่นหรือยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสของตัวตนเป็นสำคัญ
จึงเป็นฝ่ายอกุศล อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังที่แสดงในปฏิจจสมุปบาท
ดังนั้นตัณหาจึงสามารถจัดเป็นทั้งสังขาร(สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น) อีกทั้งเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอีกเช่นกัน เพราะเป็นธรรม(หรือสิ่งหรือสภาพ)หรืออาการของจิต ที่ไปปรุงแต่งจิต ให้เกิดความคิดอ่านต่างๆให้เห็นเป็นไปตามอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นความเชื่อด้วยกิเลสตน จึงเป็นสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลฝ่ายเดียว และกล่าวใช้กันในปฏิจจสมุปบาทและโดยทั่วๆไปแม้ในอริยสัจ ๔
ตัณหา จัดเป็นอารมณ์ในทางโลกอย่างหนึ่งนั่นเอง เพราะคือ สภาพหรืออาการของจิตหรือความรู้สึก ที่มีหรือประกอบด้วยความทะยานอยากหรือความปรารถนาจึงเร่าร้อน ในชั่วขณะระยะเวลาหนึ่งๆ
ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวไว้ว่า เวทนาเป็นเหตุ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา (หรือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลขึ้นนั่นเองเมื่อเทียบเคียงกับขันธ์ ๕ จึงครอบคลุมถึงเหล่า โทสะ โมหะ โลภะ หดหู่ ฯ.) และตัณหาเป็นเหตุดังเช่นโทสะ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน คือเกิดความคิดอ่านหรือเจตนายึดมั่นให้เป็นไปตามกิเลสตน หรือก็คือทำให้เกิดอุปาทานคือมีเจตนาหรือยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามกิเลสหรือตัณหาของตนนั่นเอง
อุปาทาน ความเจตนาหรือความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตน (จึงจัดเป็นสัญเจตนาอย่างหนึ่งก็ได้เมื่อเทียบกับขันธ์ ๕ แต่เป็นฝ่ายอกุศล ที่ใช้กันในปฏิจจสมุปบาทและทั่วๆไป) เพราะก็คือ เป็นการปรุงแต่งจิตให้เกิดความคิดอ่านคือสัญเจตนาให้เป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นตามความต้องการของกิเลสตนนั่นเอง
อีกทั้งเหล่า โลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ สุขใจ ทุกข์ใจ อีกทั้งนันทิความติดเพลิน ฯ. ต่างก็ล้วนเป็น"สังขารขันธ์"อย่างหนึ่ง ก็ล้วนคือตัณหาอย่างหนึ่งๆเช่นกัน เพราะล้วนถูกครอบคลุมอยู่ในตัณหาเพราะ แท้จริงแล้วก็คือ ความทะยานอยาก ความอยากได้ ความอยากเป็น หรือไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็นไป ตามความปรารถนาของตนเป็นสำคัญ แท้จริงจึงล้วนเป็นตัณหาอย่างหนึ่งๆเช่นกันนั่นเอง ทั้งภวตัณหา และวิภวตัณหา คือความทะยานอยากหรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นอรูป อยากให้เป็นดั่งนั้น ไม่อยากให้เป็นดั่งนี้ เมื่อไม่เป็นไปตามปรารถนาจึงเกิดเหล่า โทสะ โมหะ โลภะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. ขึ้น ตัณหานั้นจึงครอบคลุมวงกว้างกว่าความหมายของ โลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. จึงล้วนจัดเป็นตัณหาทั้งสิ้น
โลภะ ความอยากได้ ส่วนใหญ่เราใช้กันในรูปธรรม อยากได้นั่น อยากได้นี่ ฯ. ส่วนตัณหานั้นครอบคลุมกว้างขวางกว่าทั้งนามธรรมอีกด้วย คืออรูป เช่น อยากได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ ฯ. หรืออรูป
โทสะ ความโกรธ เพราะความไม่อยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไป ความที่ไม่เป็นไปตามตัณหาความปรารถนาตนหรือความทะยานอยากของตน จึงเกิดการขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ
โมหะ ความหลง เพราะความไม่รู้ จึงไปหลงยึด หลงเข้าใจ ยึดถือไปตามตัณหาคือตามใจปรารถนาตน
หดหู่ ก็เกิดจากความไม่เป็นไปตามใจปรารถนา
ฟุ้งซ่าน ก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งไปในสิ่งต่างๆจนเกิดความอยาก ความปรารถนาต่างๆขึ้น
ถ้าไม่พิจารณาดังนี้ ก็จะเห็นเพียงตัณหา ที่หมายถึงความปรารถนาแบบพื้นๆโดยทั่วไป ก็จะไม่เห็นการเกิดของทุกข์ จากตัณหาพวกอรูปจากภวตัณหาและวิภวตัณหา คือโทสะ โลภะ โมหะ อีกทั้งนันทิความติดเพลิน ฯ. ซึ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสตน คือ การคิดอ่านที่ปรุงจิตให้เกิดกรรม การกระทำต่างๆทั้งทาง กาย วาจา ใจ ไปในทางชั่วคืออกุศล คือตามความยึดมั่นถือมั่นของตน, ด้วยเหตุเพราะทั้งโทสะ โมหะ โลภะ ฯ. ต่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานทั้งสิ้น
ตัณหา ตามที่แสดงดังกล่าว จึงจัดเป็น"สังขารขันธ์"อย่างหนึ่งนั่นเอง เป็นเพียงการต่างกันของการจำแนกแตกธรรมไปในแต่ละเรื่องราวเท่านั้น จึงเสมือนหนึ่งการกล่าวว่า ท้องร่วง ก็เป็นอุจจาระอีกอย่างหนึ่งนั่นเอง
ตัณหาจึงเปรียบได้หรือถือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ เพียงแต่ครอบคลุม"อกุศลสังขารขันธ์"หรือ"อารมณ์ฝ่ายอกุศล"ทั้งหลายนั่นเอง เช่น โทสะ โมหะ โลภะ ราคะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน นันทิ ฯ. และใช้กันโดยทั่วๆไปในการแสดงอาการของจิต ที่ประกอบด้วยความทะยานอยาก ความปรารถนาอันเร่าร้อน ความใคร่
ตัณหา คือสิ่งหรืออาการอย่างหนึ่งของจิต คืออารมณ์ทางโลกอย่างหนึ่ง ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดอุปาทาน(สัญเจตนา,เจตนา,ความคิดอ่าน)ให้เกิดการกระทำต่างๆที่ประกอบด้วยความทะยานอยาก,ความปรารถนาตามกิเลสตน หรือไปในทางอกุศลนั่นเอง ได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ
จึงเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท ที่กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นเหตุเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน นั่นเอง ซึ่งก็คือเพราะตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานความเจตนาหรือความคิดอ่าน ให้เห็นเป็นไปตามความเชื่อ ตามความยึดมั่น ถือมั่นตามกิเลสคือตัณหาของตัวตน ดังใน อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน สีลัพพตุปาทาน ทิฎฐุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน เป็นสำคัญ
ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
แสดงรายละเอียดในวงจร"ชรา" โดยพิศดาร อันเป็นส่วนหนึ่งของวงจรปฏิจจสมุปบาท