หัวข้อธรรม ๕๓

ทำไม หยุดคิดปรุงแต่ง จึงเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติของนิกายเซ็น

คลิกขวาเมนู

(อันเนื่องมาจาก คำสอนของฮวงโป)

        หยุดคิดปรุงแต่ง เป็นคำสอนและหลักปฏิบัติที่ถือเป็นหัวใจของนิกายเซ็น  เซ็นกล่าวว่าการ"หยุดคิดปรุงแต่ง"สามารถทำให้บรรลุธรรมหรือตรัสรู้ได้โดยฉับพลันทีเดียว   ซึ่งเปรียบเทียบกับฝ่ายเถรวาทของไทยนั้น"คิดปรุงแต่ง ก็หมายถึง "อุทธัจจะ"คิดฟุ้งซ่านนั่นเอง  จึงหมายถึงการหยุดความคิดฟุ้งซ่าน หรือหยุดความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง ซึ่งจัดเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๙ ที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ รองจากเพียงอวิชชาเท่านั้น  จึงมีความสำคัญยิ่งตรงกัน  อีกทั้งการหยุดการ"อุทธธัจจะ"หรือการ"คิดนึกปรุงแต่ง"ลงไป ซึ่งแท้จริงแล้วก็คืออาการเดียวกันของการ"อุเบกขาสัมโพชฌงค์" คือการวางใจเป็นกลาง วางใจเฉย รู้สึกอย่างใดก็อย่างนั้นตามความเป็นจริงของธรรม แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด(ความคิดนึก)หรือกริยาจิตใดๆในกิจนั้น ก็คือการหยุดคิดปรุงแต่งเช่นเดียวกันนั่นเอง แท้จริงแล้วทั้งสองก็คือสิ่งที่มีจุดหมายเดียวกัน  ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรมองค์สุดท้ายของการตรัสรู้ ในสัมโพชฌงค์ ๗  อีกทั้งเมื่อพรั่งพร้อมด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง จึงเป็นการกำจัดอวิชชา(สังโยชน์ ข้อ ๑๐)ลงไปด้วยในคราเดียวกัน จึงเกิดการตรัสรู้โดยพลันขึ้นได้ ดังที่ทางนิกายเซ็นกล่าวถึง  อีกทั้งความจริงแล้วก็เป็นแนวทางดียวกับการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง คือจิตหรือสติเห็นสังขารขันธ์ที่ยังให้เกิดความคิดต่างๆ(มโนกรรม)นั่นเองแล้วไม่ยึดถือคือปล่อยวางหรือหยุดเสียนั่นเอง   ดังนั้นในการปฏิบัติ"หยุดคิดปรุงแต่ง"นั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องจำแนกแตกธรรมให้เข้าใจแจ่มแจ้งถูกต้องถูกตัว อีกทั้งมีสติระลึกรู้เท่าทันว่า อะไรคือการคิดปรุงแต่งหรืออุทธัจจะ?  และอะไรคือความคิดนึกชนิดธรรมารมณ์ที่เป็นความคิดนึกที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตเสียด้วย?  จึงไม่ใช่การหยุดคิดหยุดนึกเสียดื้อๆด้วยเป็นโทษ  และจึงไม่ใช่ความเข้าใจเพียงพอแค่รู้คร่าวๆ หรือพอสังเขปในใจอีกต่อไป,  เมื่อปฏิบัติได้ผลย่อมบรรลุธรรม หรืออย่างน้อยที่สุดก็ย่อมดับทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน

อีกทั้งจะเห็นว่า"จิตปรุงกิเลส"

ดังนั้นการ"หยุดคิดปรุงแต่ง" หรือการ"อุเบกขาสัมโพชฌงค์" จึงเป็นองค์สุดท้ายของการปฏิบัติหรือตรัสรู้

        ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากคำสอนของนิกายเซ็นกับฝ่ายเถรวาทของไทย จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกันอย่างลงตัว จึงเป็นที่สุดของการปฏิบัติ

        ความคิดนึกธรรมารมณ์ ได้แก่ความคิดนึกทั่วๆไป ที่ดำเนินในชีวิตประจำวัน เช่น คิดในกิจ คิดในการงาน คิดนึกถึงสิ่งที่หลงสิ่งที่ลืม คิดถึงเรื่องทุกข์ คิดถึงอดีต ฯลฯ. สารพัดคิด  มักเป็นความคิดแรกที่เกิดขึ้นมาในช่วงขณะหนึ่งๆ ดังเช่น คิดเรื่องทุกข์ในแวบแรก  คิดเรื่องต่างๆในชีวิต คิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้ คิดถึงเรื่องนั้น คิดถึงเรื่องนี้ ฯลฯ. สารพัดความคิดนึกต่างๆของชีวิต ที่สามารถผุดคิด ผุดนึกได้ด้วยสาเหตุต่างๆนาๆประการ  ซึ่งพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต  ความคิดนึกเหล่านี้ถือว่าเป็นความคิดนึกสามัญตามวิสัยชีวิต ตามวิสัยโลก  เรียกกันทั่วไปว่า "ธรรมารมณ์" คือสิ่งที่รู้ คือรับรู้ได้ด้วยใจนั่นเอง,  ซึ่งถ้าไม่มีเสียก็ดำเนินชีวิตต่อไปในโลกไม่ได้เลยทีเดียว  ความคิดนึกธรรมารมณ์เหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเหตุร่วมกับขันธ์ทั้ง ๕  เมื่อมีเหตุแล้ว จึงย่อมเกิดผลขึ้น คือดำเนินไปตามกระบวนธรรมของจิตโดยขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา

        ส่วนความคิดปรุงแต่ง  ความคิดนึกปรุงแต่ง  ความคิดฟุ้งซ่าน คิดนึกฟุ้งซ่าน  แม้เป็นความคิดนึกเหมือนกัน รับรู้ได้ด้วยใจเช่นกัน แต่เป็นความคิดนึกที่เป็นฝ่ายผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนธรรมในการทำงานประสานสัมพันธ์กันกับขันธ์ทั้ง ๕ ร่วมด้วยกับเหตุ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่กระทบ ดังนั้นเหตุเกิดจึงเนื่องไได้จากทุกอายตนะ คือเมื่อเกิดจากการกระทบกับอารมณ์(สิ่งที่จิตกำหนด คือ รูป เสียง กลิ่น...ธรรมารมณ์)ต่างๆแล้ว จึงย่อมดำเนินไปตามธรรมชาติ ที่ทำงานดุจดั่งเครื่องจักรยนต์ หรือลูกศรที่หลุดจากแล่ง ที่ย่อมควบคุมบังคับไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพียงได้แต่การทำงานตามหน้าที่ของตนนั้นๆเท่านั้น,  จึงเกิดการผัสสะ เกิดเวทนา เกิดสัญญา และเกิดสังขารขันธ์อันคืออารมณ์ต่างๆทางโลกขึ้น เป็นธรรมดาตามวิสัยของชีวิต,  แล้วผลของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ นี้คือ สังขารขันธ์หรืออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ ยังดำเนินไปคือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญเจตนา คือความคิดอ่านที่ปรุงจิต ให้เกิดการกระทำต่างๆคือกรรม ได้ทั้งดี ชั่ว และกลางๆ ออกมาได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ,  ทางใจนี้นี่เอง ที่เรียกกันว่ามโนกรรม ซึ่งก็คือความคิดนึกที่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์(อารมณ์ทางโลก)ต่างๆ จึงเกิดการคิดนึกมโนกรรมขึ้นจากกระบวนธรรมของชีวิตคือขันธ์ทั้ง ๕  ดังภาพ

                                                                            ผัสสะ    ธัมมสัญญา                          ธัมมสัญเจตนา

ธรรมารมณ์(คิดอันเป็นเหตุ)    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ใจ ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม มโนวิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น  สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด  เวทนา ย่อมทำให้เกิด สัญญาหมายรู้  ย่อมทำให้เกิด สังขารขันธ์ [ เป็นปัจจัยไปปรุงจิต ให้เกิดสัญเจตนาเกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ,คิดอ่าน) จึงทำให้เกิดกรรม (คือ การกระทำต่างๆ เช่นทางใจ(มโนกรรม)ความคิดนึก (ความคิดนึกที่เกิดจากสังขารขันธ์นี้เป็นผล) ]

        ความคิดนึกมโนกรรม นี้นี่เอง ที่เกิดขึ้นจากการไม่รู้ตามความเป็นจริงหรืออวิชา จึงมักไปทำหน้าที่ให้เกิดความคิดความนึกขึ้นในรูปต่างๆเรื่อยไป ด้วยอำนาจของความไม่รู้ เข้าใจไปว่าไม่เป็นทุกข์โทษภัย  ผสมกับอานาจของสิ่งแวดล้อมปรุงแต่งอยู่ จึงเกิดเป็นความคิดนึกต่างๆนาๆตามมา ซึ่งสามารถแปรไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ได้อีกเรื่อยๆ ทำให้เกิดการผัสสะเนื่องต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการวนเวียนปรุงแต่งจนเป็นทุกข์,  ความคิดนึกมโนกรรมนี้นี่เองจึงเป็นที่เกิดของความคิดปรุงแต่ง ที่ต้องมีสติรู้เท่าทัน  แล้วหยุดมันเสีย  คือหยุดคิดปรุงแต่ง หรือก็คือการอุเบกขานั่นเอง

        ส่วนการคิดนึกมโนกรรม ที่เกี่ยวกับกิจ เกี่ยวกับการงาน คือไม่ใช่อกุศลมโนกรรมก็ยังคงให้มีอยู่ เพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์ และปัญญา ดังเช่น ธรรมวิจยะ กล่าวคือมีสติเท่าทันในอกุศลมโนกรรม แล้วอุเบกขาเสีย

        หรือกล่าวให้ชัดแจ้งกระชับลงไปอีกได้ว่า "หยุดคิดปรุงแต่ง"ก็คือ"หยุดมโนกรรมปรุงแต่ง"ฝ่ายอกุศลเสียนั่นเอง

คิด หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ)    +   ใจ     anired06_next.gif    มโนวิญญูาณขันธ์     anired06_next.gif     เวทนาขันธ์

หยุดมโนกรรม                       แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕  ที่วนเวียนปรุงแต่ง                               

สังขารขันธ์ จึงเกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้  แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)    สัญญาขันธ์

        อนึ่งครูบาของเซ็นได้กล่าวสอนไว้ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติดั่งนี้ได้แล้ว ก็อย่าไปคาดหวังด้วยปรุงแต่งไปว่าจะมีอะไร  เพราะว่าจะไม่มีการเกิดปรากฏการณ์ใดๆขึ้นตามที่บางท่านคาดหวังไว้  ดังที่ท่านได้กล่าวไว้เนื่องจาก "ก็ไม่มีอะไรต้องบรรลุถึง" "ไม่มีอะไรต้องปรากฏ" เพราะมักคิดปรุงแต่งกันไปตามความเชื่อในตำนานที่มีผู้เล่าขานถ่ายทอดหรือปรุงแต่งกันสืบต่อๆมาอย่างบุคคลาธิษฐานจึงเข้าใจผิด หรือตามคำร่ำลือกันผิดๆไปต่างๆนาๆ  เพียงแต่เมื่อท่านปฏิบัติได้แม้ชั่วขณะหนึ่งๆด้วยตนเอง ก็จะรู้สึกและเข้าใจได้ด้วยตนเอง(ไม่ใช่ต้องให้มีใครบอก)ว่า จางคลายจากทุกข์ หรือดับทุกข์ได้ด้วยตนเองจริง  และย่อมมีความผ่อนกายใจ(ปัสสัทธิ)  เพราะจิตพุทธะที่แสวงหานั้น แท้จริงแล้ว ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก แต่อยู่กับตัวนักปฏิบัติเองอยู่แล้ว แต่ถูกบดบังเสียด้วยกิเลสต่างๆจากการคิดปรุงแต่งนั่นเอง

        ปัญหาใหญ่ของการปฏิบัติโดยการ "หยุดคิดปรุงแต่ง" หรือ "อุทธัทจะ"ให้ได้นี้  ทางเซ็นท่านถือว่าศิลปะหรือวิชาทีเดียวที่จะ"หยุดคิดปรุงแต่งเยี่ยงไร" คือ จะคิดถึงการไม่คิดได้อย่างไร  โดยปราศจากการคิด  เพราะจิตของผู้ปฏิบัติมักมีความเคยชินตามที่ได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่เกิดในการคิดนึกปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหัดควบคุมบังคับ จึงเกิดการวอกแวก เอ๊ อ๊ะ คิดนึกไปต่างๆนาๆเรื่อยไปอยู่เกือบตลอดเวลา ไวเหมือนลิงเหมือนวอกจึงควบคุมได้ยาก  ซึ่งทางเซ็นใช้วิธี"ซาเซ็น(Zazen)"คือการนั่งสมาธิแบบเซ็น เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาให้เห็นความคิด อีกทั้ง"อะไรคือความคิดปรุงแต่ง" (หรือดังที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้บันทึกไว้ใน "วิธีเจริญจิตภาวนา")   หรืออีกวิธีหนึ่ง ก็คือการใช้ปัญญาไปในการโยนิโสมนสิการขบคิดพิจารณาให้เห็นเข้าใจกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่ความคิดนึกนั้นทำหน้าที่เป็นทั้งเหตุก่อ  และอีกทั้งทำให้เกิดผลคือเกิดความคิดนึกมโนกรรมต่างๆ  เมื่อเข้าใจจึงเกิดปัญญาพละ จึงมีกำลังเมื่อมีปัญญาญาณแจ่มแจ้งชัดเจนบังเกิดขึ้นแก่ตนว่า สิ่งใดคือความคิดชนิดธรรมารมณ์  สิ่งใดคือความคิดปรุงแต่ง(อุทธัทจะ) ดังแสดงมาข้างต้น จึงทำให้เกิดวิชชารู้ว่า ความคิดนึกชนิดใด เป็นธรรมารมณ์ หรือคิดปรุงแต่ง  เมื่อรู้ชัด อีกทั้งปัญญาพละจึงมีกำลังกำหนดหยุด คืออุเบกขาเขาได้ อย่างถูกต้องตรงตัว  เมื่อนำมาปฏิบัติการหยุดเขาได้อย่างถูกต้องตรงตัวแล้ว จึงย่อมเกิดผลอันยิ่งขึ้น

        เมื่อจำแนกแยกแยะได้ชัดเจนดีแล้ว จึง"หยุดคิดปรุงแต่ง" ในชีวิตประจำวัน ใหม่ๆก็ย่อมช้าบ้าง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง รู้ตามบ้าง รู้ภายหลังบ้าง ฯ. หรือเพราะมัวคิดปรุงแต่งที่จะหยุดมันบ้าง เป็นธรรมดา  แต่เมื่อมีความเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งพร้อมทั้งความเข้าใจที่ย่อมแจ่มแจ้งขึ้นไปเป็นลำดับจากการปฏิบัติจนพบปัญหาต่างๆด้วยตนเองแล้วนั้น  ย่อมทำให้เกิดการ"หยุดคิดปรุงแต่ง"อย่างฉับพลันได้ในที่สุด  เมื่อแจ่มแจ้งแยกแยะได้ดีแล้วก็อย่าอ้อยอิ่ง ให้จิตหลอกล่อไปคิดนึกปรุงแต่งอีกต่อไปนั่นเอง  จึงเกิดผลยิ่ง,  อนึ่งการปฏิบัติธรรมวิจยะคือการคิดนึกพิจารณาในธรรมโดยละเอียดและแยบคาย ไม่ใช่การคิดปรุงแต่ง เพราะมโนกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องนั้นเป็นกุศลมโนกรรม ส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณ จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติยิ่ง และเป็นสัมโพขน์ฌงค์องค์ที่ ๒ องค์(ประกอบ)ของการตรัสรู้ จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้เจริญยิ่ง

        ผู้ที่เข้าใจกระบวนจิตการทำงานของปฏิจสมุปบาท หรือขันธ์ ๕ แจ่มแจ้งดีแล้ว  ย่อมสามารถพิจารณาเห็นความคิดชนิดธรรมารมณ์ หรือความคิดปรุงแต่งได้ง่าย  ดังแสดงกระบวนธรรมการทำงานของจิตโดยขันธ์ทั้ง ๕ ข้างต้น ที่จำแนกแยกแยะแตกธรรมการทำงานประสานสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ได้ชัดเจน และต้องพึงเกิดจากการพิจารณาจนยอมรับได้ด้วยตนเองว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันเป็นไปตามนั้นจริงๆ  และเมื่อนำมาพิจารณาโดยแยบคายย่อมพอจำแนกแยกแยะความคิดนึกชนิดธรรมารมณ์ และคิดนึกมโนกรรมปรุงแต่ง ได้อย่างแจ่มแจ้ง,  ส่วนในปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็ย่อมทราบได้ว่า ความคิดนึกปรุงแต่งก็คือ กระบวนธรรมของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่งเป็นอีกวงจรหนึ่งในองค์ธรรม"ชรา"ที่หมายถึงความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนั่นเอง(วงจรเล็กสีแดงซ้ายมือ) อันเป็นวงจรการทำงานประสานกันของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ จึงคิดปรุงแต่งวนเวียนเป็นวงจร จนยิ่งสั่งสมเป็นทุกข์ และเพราะวนเวียนจึงอย่างยาวนานอีกด้วยนั่นเอง ดังภาพ

                                                                                               อาสวะกิเลส      อวิชชา   anired06_next.gif   สังขาร   anired06_next.gif   วิญญาณ   anired06_next.gif   นามรูป

                                                                                                                                                                                   

                                                                                               มรณะ                                                                           สฬายตนะ

                                                                                                                       วงจรปฏิจจสมุปบาท  

           สัญญูปาทานขันธ์            anired06_next.gif            anired06_next.gif           anired06_next.gif          สังขารูปาทานขันธ์ (เกิดมโนกรรม                                                    

                         ชรา อันเป็นทุกข์ วนเวียนปรุงแต่งและเร่าร้อน                   anired02_down.gif                                                                    ผัสสะ

           เวทนูปาทานขันธ์   anired06_next.gif  วิญญูาณูปาทานขันธ์    anired06_next.gif    ใจ   ธรรมารมณ์ (มโนกรรมจาก"ชาติ"มาทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์)

                                                                                                                                                                               

                                                                                               ชาติ (สังขารขันธ์ แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก          เวทนา

                                                                                                                                                                                   

                                                                                               ภพ                           อุปาทาน                          ตัณหา 

                                                                                           (มโนสังขาร)                         (อกุศลสัญเจตนา)                          (สังขารขันธ์)

ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท  แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

วิถีเซ็น พุทธปรัชญาเซ็น

คำสอนของฮวงโป

เว่ยหล่าง

กลับสารบัญ