ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท
ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ดังเช่น การเกิดเป็นตัวตนจากท้องแม่ที่มีพ่อเป็นเหตุปัจจัยร่วม, การเกิดของสิ่งต่างๆ, การเกิดแต่เหตุปัจจัยคือสังขารต่างๆ, การเกิดของเหล่ากองทุกข์ ส่วนความหมายในทางโลก หมายถึง ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน, จึงมีความหมายได้หลายหลาก ขึ้นกับจุดประสงค์หรือสาระนั่นเอง
ชาติ ในความหมายของภาษาธรรม มีความหมายถึง การเกิดขึ้นของสังขารต่างๆทั้งปวง อันคือสิ่งต่างๆที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันจึงเกิดหรือชาติขึ้นมา จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายรูปธรรมเช่นตัวตน ชีวิต และฝ่ายนามธรรมเช่น จิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ.
เมื่อกล่าวโดยโลกุตระหรือภาษาธรรมแล้ว ชาติ จึงหมายถึง การเกิดขึ้นของสังขารทั้งปวง (สังขาร ที่หมายถึง สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ดังเช่น สังขารหรือสังขตธรรมในพระไตรลักษณ์ จึงไม่ใช่มีความหมายถึงแต่กายสังขารหรือชีวิตแต่อย่างเดียวเท่านั้น)
ดังนั้น ชาติ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทก็แปลว่า การเกิด, การเกิดขึ้น เช่นกัน ที่หมายถึงเกิดมาแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกัน แต่มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกว่า หมายถึง การเกิดขึ้นของกองทุกข์หรือความทุกข์ แต่เป็นความทุกข์ชนิดที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทาน (อุปาทานทุกข์) [รวมทั้งสุขทางโลกหรือโลกียสุขอันเป็นทุกข์โดยละเอียดอย่างหนึ่ง] จึงมีความหมายที่เฉพาะตัวของมันเอง
ดังนั้นจงพิจารณาโดยแยบคาย อย่าให้มีความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา)หรือมีความยึดมั่นอย่างผิดๆ(มิจฉาทิฏฐิ)จนเป็นทิฏฐุปาทาน อันเป็นดังที่พระองค์ท่านตรัสไว้ว่า "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น" ในอวิชชาสูตร, ดังนั้นความหมายของคำว่าชาติ ที่หมายรู้หมายตีความหรือพาลไปเข้าใจกันโดยทั่วๆไปโดยไม่รู้ตัวว่าหมายถึง การเกิดเป็นตัวตนหรือการเกิดแต่ครรภ์มารดา หรือการเกิดในภพชาติหน้า,ชาติโน้น แต่ฝ่ายเดียวจนเสียการ, แม้ในพระไตรปิฏก ก็มีการกล่าวถึงชาติหรือการเกิดไว้หลายนัยด้วยกัน ดังเช่น
ชาติที่หมายถึงการเกิดขึ้นของทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทก็มี
ชาติ ที่หมายถึงเกิดขึ้นของธรรมหรือจิตหรือขันธ์ต่างๆในชาติธรรมสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดของแต่ละองค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาทและอาหาร ๔ ก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดแต่ครรภ์มารดาเป็นตัวตนหรือชีวิตในมหาตัณหาสังขยสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดแห่งวิญญาณในมหาตัณหาสังขยสูตรก็มี
ชาติ ที่หมายถึง การเกิดของปวงสัตว์ในสติปัฏฐาน ๔ ก็มี
ฯลฯ.
ส่วน ชาติในปฏิจจสมุปบาท นั้น จึงมีหมายถึงการเกิดขึ้นของกองทุกข์ ความทุกข์ที่หมายนี้ หมายถึง การเกิดของอุปาทานทุกข์เท่านั้น
จึงมิได้หมายครอบคลุมไปในสารพัดทุกข์ทั้งหลายที่อาจเป็นไปตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติก็มี คือ ทุกขอริยสัจ อันมี ความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความปรารถนาในสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือเป็นจริงเช่นนี้เอง คือยังคงต้องเกิดทุกขเวทนาจากธรรมเหล่านั้นขึ้นเป็นธรรมดา ในทุกหมู่เหล่าแม้แต่ในองค์พระอริยเจ้าท่าน
ถึงทุกขอริยะสัจดังกล่าวเป็นสภาวธรรมที่ต้องเกิดขึ้นและไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ก็จริงอยู่ สภาวธรรมนี้จึงเป็นธรรมชนิดอสังขตธรรมอันเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวน(ไม่เป็นอนิจจัง) คงทนต่อทุกกาล(ไม่เป็นทุกขัง) และก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่งเช่นกันแต่เป็นทุกข์ธรรมชาติซึ่งโดยธรรมชาติเดิมแท้ของมันเองแล้วแม้เป็นทุกข์อย่างหนึ่งก็จริงอยู่แต่ขาดเสียซึ่งความเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายของความเป็นของตัวของตน เป็นสภาวธรรมของชีวิตอย่างหนึ่งจึงมิสามารถหลีกเลี่ยงหรือไปควบคุมจัดการกับเขาเหล่านั้นได้ วันหนึ่งจึงต้องประสบพบกันอย่างแน่นอน เพียงรอเหตุปัจจัยต่างๆแปรปรวนหรือดับไปเท่านั้นเอง จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีปัญญาทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย
แต่สิ่งเหล่านี้โดยธรรมชาติแล้วแม้จะเป็นก่อเป็นความรู้สึกรับรู้ที่เรียกกันว่าเป็นทุกข์ก็จริงอยู่ แต่ตามธรรมชาติเดิมของมันแท้ๆ แล้วไม่เป็นทุกข์รุนแรงเสียจนเร่าร้อน เผาลน กระวนกระวายอย่างที่ปุถุชนรู้สึก และกำลังดำเนินเป็นไปกันอยู่
แต่สภาวธรรมหรือทุกขอริยสัจเหล่านี้นี่เอง แม้ตัวมันเองไม่ได้เป็นอุปาทานทุกข์ตรงๆ แต่ก็เขานี่แหละที่เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายขึ้นเช่นกัน กล่าวคือ ทุกขอริยสัจเหล่านั้นที่แม้เป็นทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ธรรมชาติจึงยังคงต้องเกิดเป็นเช่นนั้นเองแต่ไม่รุนแรงเร่าร้อนเผาลนจนกระวนกระวายราวกับมีไฟมาเผาลนใจดังอุปาทานทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ดับไป
กล่าวคือ ทุกข์ธรรมชาติเหล่านี้นั่นเองเป็นต้นเหตุให้ดำเนินและเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมมีกระบวนธรรมของชีวิต เช่น สัญญาจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอาสวะกิเลสต่างๆขึ้นตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง แล้วร่วมเป็นเหตุเป็นปัจจัยกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงยังให้ดำเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์
อาสวะกิเลส
อวิชชา
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงมี
สังขาร
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
วิญญาณ
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
นาม-รูป
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
ผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
เวทนา
.............
ดังนั้นเมื่อกระบวนจิตดำเนินมาถึงเวทนาแล้ว
แต่ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
ตัณหา
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
อุปาทาน
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
ภพ
เป็นเหตุปัจจัย จึงมี
ชาติเกิดขึ้น
คือเกิดสังขารขันธ์ขึ้น แต่เป็นสังขารูปาทานขันธ์คือสังขารขันธ์หรือธรรมารมณ์ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทาน
คือเกิดสภาวะธรรมหรืออาการของจิต ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดเจตนาหรือความคิดอ่านในการกระทำต่างๆตามอำนาจอุปาทานที่ครอบงำ
อันเป็นธรรมารมณื
และสังขารูปาทานขันธ์นี้นี่เอง ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความคิดนึกต่างๆหรือมโนกรรมความคิดนึกต่างๆซึ่งถูกครอบงำด้วยกิเลสคืออุปาทานแล้ว ได้ถูกนำไปปรุงแต่ง คือฟุ้งซ่านต่อไปในชรา โดยไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ความคิดนึกที่เป็นเหตุก่ออีกที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทาน คือรูปที่ถูกรู้หรือ รูปูปาทานขันธ์นั่นเอง แล้วเกิดการวนเวียนปรุงแต่งอย่างเร่าร้อน เป็นวงจรของทุกข์
.....ตัณหา
→ อุปาทาน
→ ภพ → ชาติ
→ รูปูปาทานขันธ์
+ ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
เช่นคิดที่เป็นทุกข์ ในวงจรชรา แสดงความวนเวียนเร่าร้อนด้วยเหล่าอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เพราะล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
|