หมายถึง องค์ธรรมทั้ง ๔ นี้ในปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงความเป็นเหตุเป็นปัจจัยจึงยังให้เกิดการดำเนินไปของกระบวนธรรมของจิต เป็นการแสดงสภาวธรรมของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นกระบวนจิตตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนธรรมอย่างครบถ้วนกระบวนความ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งอย่างถูกต้องดีงามว่าดำเนินเป็นไปตามหลักเหตุและผล หรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยอย่างปรมัตถ์ทั้งกระบวนธรรม ซึ่งเมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจึงยังให้หมดวิจิกิจฉาในธรรมหรือในพระศาสนาอันเป็นสังโยชน์ ข้อ๒ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มีความมั่นใจ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มีกำลังจิตอันเกิดแต่ปัญญาเพื่อการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นลุล่วงสู่เป้าหมายอย่างถูกต้องดีงามตามพระพุทธประสงค์ คือ การดับ อุปาทานทุกข์ ลงไปนั่นเอง ตลอดยังให้เกิดปัญญาซึมซาบเข้าใจในหลักอิทัปปัจจยตา
องค์ธรรมทั้ง๔
แม้เป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอันไม่เที่ยง แต่เมื่อกล่าวถึงในปฏิจจสมุปบาทอันเป็นสภาวธรรมหรือกระบวนธรรมของจิตปุถุชนทั้งปวงอันเป็นอสังขตธรรม
จึงมีความเที่ยงและคงทนต่อทุกกาล กล่าวคือ ต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา
ที่เมื่อกำเนิดเกิดขึ้นมาแล้วย่อมต้องเป็นไปเยี่ยงนี้ กล่าวคือดำเนินไปตามเหตุปัจจัยดังนี้คือ
วิญญาณ
นามรูป
สฬายตนะ
ผัสสะ หมายถึงกระบวนธรรมของจิตทั้ง๔นี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้
แม้ด้วยสติ และปัญญา
เพียงแต่อาจหลบเลี่ยงได้บ้างเท่านั้นเอง
ดังเช่น ด้วยการสำรวม สังวร ระวังในอินทรีย์ทั้ง๖ หรือทวารทั้ง ๖ ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกไปผัสสะกระทบกระทั่งนั่นเอง
กล่าวคือ เมื่อใดที่มีองค์ธรรมสังขารการกระทำหรือสิ่งปรุงแต่งต่างๆเกิดขึ้นอันเนื่องจากอาสวะกิเลสและอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมี องค์ธรรมวิญญาณเกิดขึ้นโดยสภาวธรรมของชีวิต อันคือต้องดำเนินและเป็นไปตามกระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือเมื่ออาสวะกิเลสเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชาแล้ว ย่อมเกิดสังขารคือธรรมารมณ์เจือกิเลส)ขึ้นแล้ว ก็ย่อมต้องเป็นไปตามธรรมเท่านั้นเอง หรือก็คือดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบสมุทยวารนั่นเอง ไม่สามารถหยุด,ดับหรือแก้ไขหรือแทรกแซงในสังขารกิเลสโดยตรงขณะนั้นได้อีกเพราะย่อมต้องเกิดวิญญาณโดยธรรมชาติแล้วดำเนินไปตามธรรมหรือสภาวธรรมจนถึงองค์ธรรมเวทนา ที่แม้แก้ไขอะไรโดยตรงไม่ได้เช่นกัน แต่ ณ ที่องค์ธรรมเวทนานี้สามารถแทรกแซงได้ด้วยสติและปัญญาไม่ให้กระบวนธรรมของทุกข์ดำเนินต่อไปจนเกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลน, การแก้ไขแทรกแซงในองค์ธรรมทั้ง ๔ นี้ คือ วิญญาณ นาม-รูป สฬายตนะ ผัสสะ โดยการกดข่มแทรกแซงกระบวนการธรรมหรือธรรมชาติรังแต่ทำให้เกิดโทษรุนแรงต่อธาตุขันธ์ในภายหลัง (แจงเหตุผล อยู่ในข้อ๕ ปุจฉา-วิสัชนา ในปฏิจจสมุปบาท)
และในองค์ธรรม
สังขาร วิญญาณ
นามรูป
และสฬายตนะ
นี้ ก่อให้เกิดวิจิกิจฉากันโดยทั่วไปในนักปฏิบัติที่ทำการโยนิโสมนสิการ
หรือ ธรรมวิจยะ จนไม่สามารถดำเนินก้าวหน้าไปในปฏิจจสมุปบาทธรรมได้อย่างถูกต้องดีงาม เพราะความที่จะไปนึก
ไปคิด หรือไปพิจารณาอย่างยึดติดยึดถือตามทิฏฐิความเชื่อ,ความเข้าใจอย่างผิดๆที่แอบแฝงสั่งสมมาไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้นว่า มีตัวตนหรือมีชีวิตได้กำเนิดเกิดขึ้นมาแล้ว
ย่อมต้องมีสังขารที่เข้าใจผิดไปว่าหมายถึงกายหรือตัวตนหรือชีวิตที่เกิดขึ้นในโลก,
วิญญาณที่เข้าใจผิดไปว่าเป็นวิญญาณธาตุหรือปฏิสนธิวิญญาณ(จึงปรุงแต่งไปถึงวิญญาณในภพชาติหน้า)หรือเรียกกันว่าเจตภูติ, รูปนาม(ตัวตน,ชีวิต)ที่ปัจจุบันมีอยู่แล้ว
จึงเข้าใจผิดไปว่าหมายถึงตัวตนหรือชีวิตหรือขันธ์๕ที่จะเกิดขึ้นมาในภพชาติหน้า และสฬายตนะที่เข้าใจผิดไปว่าย่อมเกิดขึ้นหรือติดตัวมาพร้อมตัวตนหรือชีวิตอยู่แล้วจึงเข้าใจว่าหมายถึงสฬายตนะในภพชาติหน้า
ซึ่งตามปกติก็เข้าใจได้ยากอยู่แล้วในการดำเนินไปของกระบวนจิตซึ่งต้องตีความกันในภาษาธรรมหรือโลกุตระ
สิ่งเหล่านี้จึงยิ่งเพิ่มความสับสนเมื่อไปตีความในธรรมไปแบบโลกิยะหรือแบบโลกๆเสีย เพราะเข้าใจไปว่าทั้งรูปนามหรือขันธ์
๕ก็ครบบริบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้วในชาตินี้หรือปัจจุบันนี้ ทำไมจึงเกิดขึ้นหรือกล่าวขึ้นอีก
ด้วยเหตุเหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ไปนึก,ไปตีความโยงไปเป็นในเรื่องรูปนามหรือวิญญาณในลักษณะข้ามภพข้ามชาติเข้าร่วมด้วยเสีย
ดังนั้นจึงเป็นที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยกันโดยไม่รู้ตัวกันเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมจึงต้องมาแสดงองค์ธรรมเหล่านี้ และไม่ได้โยนิโสมนสิการ
เพียงแต่เชื่อเพราะศรัทธาแต่อย่างอธิโมกข์ในพระศาสนา จึงขาดปัญญา จึงไม่สงสัยว่า
ทำไมองค์ธรรมเหล่านี้จึงมีเกิด จึงมีขึ้นมาอีกทั้งๆที่ในเมื่อปัจจุบันชาตินี้ก็มีอยู่แล้วอย่างครบถ้วน
จึงน้อมเชื่อ ไปเข้าใจตีความนัยกันไปดังนั้น ตามความเชื่อที่สืบเนื่องตามที่สืบทอดกันต่อๆมา(สีลัพพตปรามาส)ว่าเป็นการกล่าวถึงการเกิดในภพชาติในภายภาคหน้ากัน
ทั้งๆที่พระพุทธองค์ท่านต้องการให้ดับ
อุปาทานทุกข์ เหล่านี้เสียตั้งแต่ภพ,ชาติในปัจจุบันชาตินี้ เป็นแก่นแกนสำคัญที่สุด
ส่วนเรื่องบุญเรื่องกุศลเพื่อภพชาติหน้าเป็นเรื่องลำดับรองลงมา หรือสำหรับอุบาสก,อุบาสิกาโดยทั่วไป
ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งธรรมด้วยว่า ตัวตน (รูปนาม,ชีวิต) ในขณะปัจจุบันนี้ได้มีอย่างครบถ้วนอยู่แล้วก็จริงอยู่ แต่เป็นไปอย่างนอนเนื่องอยู่ คล้ายดั่งอาสวะกิเลสเช่นกัน ดังนั้นนาม-รูปที่กล่าวในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึงเกิด ที่เป็นภาษาธรรม ที่มีความหมายถึง เริ่มการทำงานต่างๆของรูปนาม(ชีวิต)ขึ้นตามองค์ธรรมสังขาร(สังขารกิเลส)ที่จรเกิดขึ้นมา ณ ขณะนั้น จึงมีลักษณาการคล้ายอาสวะกิเลสที่มีลักษณะนอนเนื่องอยู่ ที่มีความหมายว่า กิเลสนั้นมีอยู่ แต่อยู่ในสภาพที่นอนเนื่อง อันหมายถึง ยังไม่ได้ผุดขึ้น หรือยังไม่เกิด หรือยังไม่ได้เริ่มการทำงานขึ้น(ยังไม่active)นั่นเอง ถ้าใจยังไม่ยอมรับเรื่องการเกิดของนาม-รูป ก็ขอให้ลองโยนิโสมนสิการอาสวะกิเลส ที่มีความหมายถึง กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต เป็นไปในลักษณาการนั้นเช่นกัน
กล่าวคือ มีขันธ์๕ หรือมีชีวิตนั้นอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ก็จริงอยู่ แต่ยังนอนเนื่อง เป็นแมวนอนหวด ที่ยังไม่ทำหน้าที่วิ่งไล่จับหนู กล่าวคือยังไม่ได้ทำงานอย่างจริงจัง หรือยังไม่ทำงานอย่างเป็นชิ้นเป็นอันตามกิจหรืองานที่จรมาหรือเกิดขึ้นขณะนั้น(สังขาร) ดังนั้นเมื่อมีเหตุปัจจัยต่างๆจรมา(สังขาร)หรือเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการทำงานเป็นไปตามกระบวนธรรมของจิตอันเป็นสภาวธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นเมื่อไม่สามารถเห็นเหตุให้ปัญญาเห็นเข้าใจได้แต่เบื้องต้น ผลเบื้องปลายจึงผิดพลาดไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุดังนี้จึงทำให้ปฏิจจสมุปบาทอันดีงามลึกซึ้งถูกต้องตามพระพุทธประสงค์เป็นลำดับแรก จึงแทบสูญหายไปเพราะความเข้าใจผิด เนื่องจากความลึกซึ้ง เป็นแก่นแกนหรือมงกุฎของธรรมทั้งหลาย
วิญญาณ
เมื่อสังขารที่สั่งสมไว้ เกิดผุดขึ้นอันเนื่องจากอาสวะกิเลสและอวิชชาเป็นเหตุปัจัจยแก่กันและกันเกิดขึ้นมาแล้ว โดยอาการผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ๑ หรือโดยเจตนาก็ตามที๑ หรือโดยการกระตุ้นเร้าจาการผัสสะโดยตรงก็ตามที๑, เป็นสภาวะธรรมของผู้มีชีวิตที่ย่อมต้องเกิดวิญญาณ ๖ หรือระบบประสาทรับรู้ตามสังขารที่เกิดขึ้นมานั้น วิญญาณนี้หมายถึง วิญญาณที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจหรือเฉพาะในสังขารนั้นๆ มีสภาพเกิดดับ เกิดดับๆ จึงมิได้หมายถึงเจตภูติ หรือวิญญาณธาตุหรือวิญญาณของชีวิตหรือปฏิสนธิวิญญาณที่เป็นมวลรวมของชีวิตตามความเข้าใจทั่วๆไป ดังนั้นเมื่อมีสังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ตามที่สั่งสมอบรมนอนเนื่อง(อาสวะกิเลส)ไว้ ที่หมายถึง การกระทำต่างๆไม่ว่าจะทางใจคิด หรือทางกาย หรือทางวาจาก็ตามที วิญญาณนั้นๆหรือระบบประสาทรับรู้นั้นๆย่อมเกิดขึ้นโดยสภาวธรรมของชีวิต กล่าวคือเกิดการณุ้แจ้งอารมณ์คือสังขารนั้น แล้วนำส่งข้อมูลไปยังส่วนที่เกี่ยวข้อง
อาสวะกิเลส
+ อวิชชา
สังขาร(กิเลส)เช่นความคิด
ย่อมมีมโนวิญญาณ
ขึ้นมารับรู้สังขารหรือกิเลสคิดนี้
ลองตีแขนตัวเอง
อันคือ การสังขารปรุงขึ้นทางกาย(แม้จะมิได้เกิดแต่กิเลสที่นอนเนื่อง
เพียงเพื่อการพิจารณาวิญญาณ)
จะพิจารณาเห็นได้ว่ากายวิญญาณหรือการรู้แจ้ง
จึงเกิดขึ้นตามมาเป็นธรรมดา
โดยธรรมชาติของชีวิต
จึงไม่ได้หมายถึงเจตภูติ
หรือปฏิสนธิวิญญาณที่ครอบคลุมชีวิตที่กล่าวถึงกันโดยทั่วไป แต่หมายถึงวิญญาณ
๖ อันมีประจำอยู่ในแต่ละอายตนะโดยธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง
ซึ่งแม้มีอยู่แล้วก็จริงอยู่ในรูปของชีวิตหรือตัวตน แต่นอนเนื่อง
จนกว่ามีการกระทบกับอายตนะนั้น จึงเรียกวิญญาณในเรื่องนั้นในภาษาธรรมว่าเกิดขึ้น
ดังนั้นในปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นวิญญาณของแต่ละอายตนะที่รับรู้ในสังขารกิเลสที่เกิดขึ้นมาในครั้งนั้นๆ
หมายถึง เฉพาะกิจ เฉพาะครั้ง หรือ ตามเหตุที่จรมา
คำว่า วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท เป็นเอกเสส ที่หมายถึง วิญญาณ ๖ ใดก็ได้ หรือวิญญาณทั้ง ๖ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสังขารที่เกิดขึ้นจากอาสวะกิเลสและอวิชชานั่นเอง เช่น ถ้าเป็นสังขารการกระทำ วิญญาณที่เกิดขึ้นมาทำงาน อย่างน้อยก็มี มโนวิญญาณ(ใจ) และกายวิญญาณ(กาย)
(รายละเอียดเรื่อง วิญญาญ เพื่อถอดถอนมิจฉาทิฏฐิ)
การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ แบบขันธ์ ๕
นาม-รูป
วิญญาณ จึงจัดเป็นปัจจัยเครื่องอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (วิญญาณาหาร) กล่าวคือ เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยให้นาม-รูป หรือองค์ประกอบของชีวิตที่เน้นหมายถึงการทำงานขององค์แห่งชีวิต ที่แม้มีวิญญาณของชีวิตหรือปฏิสนธิวิญญาณอยู่แล้วก็จริงอยู่ แต่เป็นไปอย่างนอนเนื่องดังเช่นที่กล่าวข้างต้นเช่นกัน กล่าวคือ ยังไม่ได้ทำงานอย่างเป็นชิ้นเป็นอัน เพียงคงสภาพของความมีชีวิตอยู่ ยังไม่ได้ทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ที่กระทบเฉพาะกิจใดๆ เมื่อวิญญาณของสังขารนั้นๆเกิดขึ้น นาม-รูปจึงเกิดขึ้น ที่เป็นภาษาธรรมเหมือนกัน ที่หมายแสดงถึง การตื่นตัว(active)พร้อมสำหรับทำหน้าที่ของชีวิตในกิจนั้นๆ(คือในสังขารกิเลสที่เกิดขึ้นนั้นๆ)อย่างบริบูรณ์
รูปนาม จึงมีความหมายในทางรูปธรรม ที่หมายถึงตัวตนหรือขันธ์ทั้ง๕ ที่สัมผัสได้ด้วยอายตนะต่างๆ
ส่วนนาม-รูป ในปฏิจจสมุปบาท จึงมีความหมายทางนามธรรม ที่หมายถึง เกิดการทำงาน หรือเกิดการตื่นตัว พร้อมทำงานในกิจต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเกิดการทำงานในสังขารกิเลสนั้นๆขึ้น
สฬายตนะ
เมื่อนามรูปตื่นตัว จึงเป็นเหตุปัจจัยให้บริวารอันคือสฬายตนะตื่นตัวขึ้นทำงาน อันหมายถึง อายตนะภายใน ที่ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิตหรือนาม-รูปหรือกายอยู่แล้วโดยธรรมชาติก็จริงอยู่ แต่เดิมก็อยู่ในสภาพนอนเนื่องอยู่อีกเช่นกัน ย่อมต้องตื่นตัวทำงานตามหน้าที่ตน ตามนาม-รูปอันเป็นองค์รวม ดังเช่น ถ้าสังขารนั้นเป้นความคิด สฬายตนะส่วนใจที่รับผิดชอบต่อสังขารนั้นๆ ก็ย่อมทำงานตามหน้าที่ตนอย่างสมบูรณ์ อายตนะอื่นๆก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ของตนด้วยเช่นกันในสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับองค์ธรรมสังขารที่เกิดขึ้นนั้น หรือการรับการกระทบสัมผัสในสิ่งอื่นๆที่อาจจรมาร่วมด้วยเป็นธรรมดาตามธรรมชาติของชีวิตในการรับรู้ในอายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ก็ทำหน้าที่ร่วมไปด้วย แต่สฬายตนะเหล่านั้นย่อมทำหน้าที่โน้มเอียงหรือประกอบหรือแฝงด้วยอิทธิพลขององค์ธรรมสังขารที่เกิดขึ้น อันเป็นสังขารกิเลสหรือกิเลสนั่นเอง
สฬายตนะ จึงหมายถึงการทำงานหรือหน้าที่ของเหล่าอายตนะภายในทั้งหลายนั่นเอง เพียงแต่อายตนะนั้นเน้นไปในทางรูปธรรมหรือสังขารที่ปรุงขึ้นแล้วเป็นตัวตนขณะนั้น ส่วนสฬายตนะนั้นเป็นไปในทางนามธรรม ดังเช่น การกล่าวถึง การเกิดขึ้นทำงานหรือทำหน้าที่ เป็นต้น
คำว่า สฬายตนะ เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะ ๖ ใดก็ได้ หรืออายตนะทั้ง ๖ ก็ได้
ดังเช่นองค์ธรรมสังขาร อันเป็นกิเลส ถ้าเป็นสังขารการกระทำทางกายตามที่สั่งสม สฬายตนะที่เกิดการทำงานก็เป็นได้ทั้งใจและกายเป็นต้น
ผัสสะ
สฬายตนะเมื่อเข้าทำหน้าที่แห่งตนแล้ว
ย่อมเกิดครบองค์ของการกระทบสัมผัสที่จะทำให้กระบวนธรรมของชีวิตดำเนินต่อไป คือ
สังขารนั้น(อายตนะภายนอก เช่น คิดอันประกอบด้วยกิเลส) วิญญาณ
สฬายตนะ(อายตนะภายใน
เช่น ใจ) กล่าวคือ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ คือการเกิดผัสสะ
ครบองค์ที่จะดำเนินไปตามกระบวนธรรมของชีวิต กล่าวคือ ย่อมยังให้เกิดเวทนา
ความรู้สึกรับรู้พร้อมความจำได้ในสิ่งนั้นขึ้น(อันเนื่องมาจากอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งที่แฝงด้วยกิเลสนั่นเอง)
แล้วดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท
กระบวนธรรมของจิตในช่วงนี้จึงเป็นไปดังแสดงในชาติอาทิธัมมสูตรดังนี้
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส(ผัสสะ) มีความเกิดเป็นธรรมดา
(ใจ
คิด
มโนวิญญาณ
ผัสสะ
......ฯ)
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิด(เวทนา)เป็นธรรมดา
(ใจ
คิด
มโนวิญญาณ
ผัสสะ
เวทนา เป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
.....ฯ)
จึงมีพุทธพจน์ตรัสไว้เกี่ยวกับผู้ไม่สำรวม สังวร ระวัง ในอายตนะหรือทวารทั้ง๖ จึงย่อมเกิดการผัสสะไว้ดังนี้
ผู้ไม่ระวังผัสสะทั้งหก แม้ประตูหนึ่ง ย่อมประสพความทุกข์
ฉเฬว ผสฺสายตนานิ ภิกฺขเว อสํวุโต ยตฺถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
(สังคัยหสูตร ๑๘/๗๖)
เหตุเพราะครบองค์ ย่อมยังให้เกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหานั่นเอง
เมื่อเกิดตัณหา อันย่อมดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น
องค์ธรรมผัสสะนี้ จึงใช้ระงับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง โดยการสำรวม สังวร ระวัง กล่าวคือไม่ส่งส่ายอายตนะภายใน ออกไปปรุงแต่งกับเหล่าอายตนะภายนอกให้เกิดการผัสสะขึ้ันนั่นเอง