(๓)

ควรอ่าน ขันธ์ ๕ โดยลำดับ(๑) ก่อน

     

ขยายย่อตัวอักษร + ขยาย | - ย่ออักษร

        ขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนหรือชีวิตของตน อันประกอบด้วยฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่แยกออกเป็น ๕ ขันธ์หรือกอง อันประกอบด้วย รูป(กาย), เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ  ท่านได้แยกให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ว่า ความเป็นตัวตนหรือชีวิตนั้นเป็นสังขารอย่างหนึ่งที่หมายถึงเป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา  จึงย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เป็นไปตามสามัญลักษณะของสังขารทั้งปวงตามพระไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายความอยาก,ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือชีวิตตนลง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมหรือสิ่งทั้งหลาย  (ควรอ่าน ขันธ์ ๕ โดยลำดับ (๑) และขันธ์ ๕ โดยละเอียด (๒)เสียก่อน ขันธ์ ๕ โดยลำดับ)

         ชีวิตหรือตัวตน  จึงเกิดมาแต่ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน  กล่าวคือ ขันธ์ทั้ง ๕ มาประชุมรวมกันอย่างพึ่งพาอาศัยเป็นปัจจัยกันและกัน เป็นตัวตนหรือชีวิตขึ้น  กล่าวคือยังต้องทํางานประสานกันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  เป็นกระบวนการหรือกระบวนธรรมอันสำคัญยิ่งในการดําเนินชีวิต อันหมายถึงกระบวนการธรรมชาติของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เนื่องสัมพันธ์กัน เป็นเหตุปัจจัยกัน ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติของตัวตนในการดํารงชีวิต   เป็นกระบวนธรรมอันเกิดแต่เหตุปัจจัยเฉกเช่นเดียวกันตามหลักปฎิจจสมุปบันธรรม   เป็นกระบวนธรรมสื่อสารระหว่างกายกับจิตในขันธ์ ๕ ต่ออารมณ์หรืออายตนะภายนอก(สิ่งแวดล้อมคือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์) อันเป็นธรรมชาติของผู้มีชีวิต ที่มันต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา,  ขันธ์ ๕ เองนั้นไม่ได้เป็นตัวก่อโทษก่อทุกข์ใดๆอีกทั้งยังเป็นสิ่งจําเป็นยิ่งในการดํารงชีวิต, แต่ถ้าประกอบด้วยอุปาทานร่วมด้วยแล้ว ก็จักทําให้ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นเพื่อการดํารงชีวิตนั้นถูกครอบงําด้วยอุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด, ซึ่งก็คือขันธ์ ๕ นั้นจะได้ถูกครอบงําแปรปรวน แฝงหรือประกอบด้วยอุปาทานอันก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ ที่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆๆๆ...อยู่ในชราในวงจรปฏิจจสมุปบาท  ซึ่งมีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสหรือยึดมั่นในความพึงพอใจในตน,ของตนร่วมแฝงอยู่ในขันธ์ต่างๆ  จึงล้วนแฝงด้วยกิเลสหรือความพึงพอใจในตัวของตนเป็นหลักใหญ่โดยไม่รู้ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานทุกข์ทั้งปวง อันคือทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานที่ธรรมของพระองค์ท่านสั่งสอนเพื่อให้ดับสนิทไป เพื่อความสุข อันสะอาด สงบ บริสุทธิ์ยิ่งเหนือสุขใดๆ

พุทธพจน์

         "ภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงขันธ์ ๕  และอุปาทานขันธ์ ๕    เธอทั้งหลายจงฟัง"

         "ขันธ์ ๕  เป็นไฉน ?    รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ  อันใดอันหนึ่ง   ทั้งที่เป็นอดีต    อนาคต    ปัจจุบัน    เป็นภายในก็ตาม    ภายนอกก็ตาม    หยาบก็ตาม    ละเอียดก็ตาม    ทรามก็ตาม    ประณีตก็ตาม    ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้  เรียกว่า  ขันธ์ ๕"

         "อุปาทานขันธ์ ๕  เป็นไฉน ?    รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ  อันใดอันหนึ่ง   ทั้งที่เป็นอดีต    อนาคต    ปัจจุบัน    เป็นภายในก็ตาม    ภายนอกก็ตาม   หยาบก็ตาม    ละเอียดก็ตาม    ทรามก็ตาม    ประณีตก็ตาม    ไกลหรือใกล้ก็ตาม   ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้  เรียกว่า  อุปาทานขันธ์ ๕"

(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)

         "ภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน  และตัวอุปาทาน  เธอทั้งหลายจงฟัง.

         "รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ   คือธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน    ฉันทราคะ(ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติดยึดถือ หรือก็คือตัณหา)ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"

(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)

        ดังนั้นพึงทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดอุปาทานทุกข์  และยังจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการดำรงขันธ์หรือชีวิตให้เป็นปกติสุขตามธรรมหรือธรรมชาติ ไม่มีเสียหรือขาดสมดุลย์ย่อมไม่สามารถอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข,   แต่ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงทำให้เกิดอุปาทานทุกข์ี่เร่าร้อนเผาลนมวลสรรพสัตว์มาตลอดกาลนาน

การทํางานประสานเนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ของชีวิต

        ขันธ์ทั้ง ๕ กองนั้น ประกอบเป็นเหตุปัจจัยเป็นตัวเป็นตนที่มีชีวิตแล้ว ยังต้องประสมประสานการทํางานต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดกระบวนการดําเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น  ดังนั้นฝ่าย รูปหรือกาย อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง ๕ เป็นองค์ประกอบ  จึงต้องทํางานประสานสัมพันธ์กับฝ่ายนามหรือจิตอันมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นองค์ประกอบ  ประสานกันอย่างแนบแน่นเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กันตลอดไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่

        โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่า การกระทําต่างๆของเรานั้น ล้วนเกิดแต่ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันจนเกิดกระบวนธรรมต่างๆ รวมทั้งสังขารขันธ์อันคือการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ(คิด) เช่น ความรู้สึก เดิน วิ่ง กิน คิด, ด้านอารมณ์ โกรธ เกลียด ขุ่นเคือง การพูดจา การกระทําต่างๆ กล่าวคือทุกๆสิ่งที่เรากระทํานั่นเอง จึงครอบคลุมเกี่ยวพันกับเราไปจนตลอดชีวิต  จึงควรมีความเข้าใจในขันธ์ ๕ เพื่อความเข้าใจในธรรม  เพราะตามความเป็นจริงแล้วความทุกข์ทั้งหลายก็ล้วนปรวนแปรมาจากขันธ์ ๕ นี้ แล้วดําเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ จนเกิดความทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์ขึ้นในที่สุด

แสดงการทํางานประสานกันของขันธ์ ๕ อย่างคร่าวๆหรือย่อ เพื่อความเข้าใจในธรรม(ธรรมชาติ)ในกาลต่อไป

    ลองพิจารณาดูการทํางานของขันธ์ ๕ อย่างย่อๆ ว่าเป็นอย่างนี้หรือไม่  จึงเกิด เวทนาและสังขารขันธ์ต่างๆขึ้นมา

ตา รูป วิญญาณ ผัสสะ สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา (หมายรู้) สังขารขันธ์

    ตา นั้นเป็นส่วนหนึ่งของกาย  อันเป็นส่วนหนึ่งของสฬายตนะหรืออายตนะภายใน

    รูป หมายถึง อายตนะภายนอก หรือภาพที่เห็นสัมผัสได้ด้วยตานั่นเอง  หรือเรียกง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรู้   ซึ่งต้องอาศัยส่วนต่างๆของกายกล่าวคืออายตนะภายในต่างๆเป็นปัจจัยในการทำงานหรือกระทบสัมผัส

    วิญญาณ หมายถึงระบบประสาทรับรู้ในการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) หรือระบบประสาทสัมผัส ณ ที่นี้จึงหมายถึง จักษุวิญญาณ

    สัญญา หมายถึงความจําได้ ความหมายรู้ต่างๆ  อันมีสมองแม้เป็นส่วนหนึ่งของกาย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของหทัยวัตถุ(ส่วนหนึ่งของจิต)เป็นเหตุปัจจัยอันสําคัญ  ในที่นี้แสดงให้เห็นสัญญา ๒ ครั้ง ครั้งแรกเป็นสัญญาที่จดจําและเข้าใจในสิ่งที่เห็น(กระทบเห็นหรือผัสสะ)นั้น,  ส่วนครั้งที่ ๒ เป็นสัญญาหมายรู้ ที่หมายถึงการคิดค้น ประมวลผล แก้ปัญหา เปรียบเทียบ คิดอ่าน ฯลฯ.  อันเป็นผลให้เกิดการสรุปผล  แล้วเกิดการสั่งการไปเป็นสังขารขันธ์หรือการกระทำต่างๆนาๆอันครอบคลุมทั้งทางกาย  วาจา  ใจ

    เวทนา ความรู้สึกรับรู้ ที่เกิดจากขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)  อันจําเป็นต้องอาศัยสัญญาจํามาร่วมด้วย จึงจะเกิดเป็นความรู้สึกเป็นเวทนาชนิดต่างๆได้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา  อทุกขมสุขเวทนา

    สังขารขันธ์ ที่หมายถึง สิ่งหรืออารมณ์ ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำต่างๆ ทั้งทางดี ชั่ว และกลางๆ ได้ทั้งทางกาย(กายกรรม)  วาจา(วจีกรรม)  ใจ(จิตสังขารหรือมโนกรรม)

ดังนั้นถ้าเรารวบรวมกระบวนธรรมต่างๆ อันเกิดขึ้นแต่อายตนะ(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)มาทั้งหมด ก็จะได้รูปแบบของขันธ์ ๕ ตามกระบวนธรรมดังนี้

    ตา กระทบกับ รูป   จักขุวิญญาณ(ตา)  ผัสสะ  สัญญา(จํา) เวทนา  สัญญาหมายรู้ สังขารขันธ์

    หู กระทบกับ เสียง โสตวิญญาณ(หู)  ผัสสะ สัญญา(จํา)  เวทนา  สัญญาหมายรู้  สังขารขันธ์

    จมูก กระทบกับ กลิ่น ฆนะวิญญาณ(จมูก)  ผัสสะ สัญญา(จํา)  เวทนา  สัญญาหมายรู้  สังขารขันธ์

    ลิ้น กระทบกับ ร ส เป็นปัจจัย จึงมี ชิวหาวิญญาณ(ลิ้น) เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญาหมายรู้ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์

    กาย กระทบกับ โผฏฐัพพะ(สัมผัส) เป็นปัจจัย จึงมี กายวิญญาณ(กาย) เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญาหมายรู้ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์

    ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์เช่นนึก เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ(ใจ) เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญาหมายรู้ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์

    ข้อสังเกตุ สฬายตนะทั้ง ๖ นั้น ต่างทํางานเหมือนกัน  ขอให้จําและพิจารณาโดยแยบคายในกระบวนธรรมของจิตข้างต้น  อันจะขยายความเพื่อความเข้าใจในธรรมหรือสภาวธรรมต่างๆได้กระจ่างถูกต้องตามจริงในการโยนิโสมนสิการต่อไปภายหน้า

ขันธ์ทั้ง ๕

        ขันธ์ ๕ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และต้องทํางานประสานร่วมกันอย่างสมดุลย์ เพื่อการดํารงชีวิตอย่างให้เป็นไปตามปกติธรรมชาติ

        ๑. รูป หมายถึงกาย,ตัวตน  ซึ่งย่อมประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อย่าสับสน ที่ในบางครั้งหรือบางบทหมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ได้โดยอายตนะภายในอันคือ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัส  และธรรมารมณ์  เนื่องจากเป็นของที่เกิดการกระทบขึ้นได้โดยอาศัยส่วนกายหรือรูป อันคืออานตนะภายในต่างๆของรูปหรือกายนั่นเอง)

        ๒. เวทนา การเสวยอารมณ์, การความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์  เช่นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดแต่การกระทบทางกาย(โผฏฐัพพะ),  อารมณ์ในทางธรรม หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวหรือกำหนดหมายในขณะนั้นๆ อันคือเหล่าอายตนะภายนอกนั่นเองอันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ทั้ง ๖   สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวหรือกำหนดในขณะนั้นๆ ก็จะทําหน้าที่เป็นอารมณ์  อันเกิดจากการผัสสะหรือการกระทบสัมผัสจากทั้งทางกายและทางใจนั่นเอง (จึงไม่ใช่อารมณ์ที่หมายๆกันทางโลกๆ เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย โกรธ หดหู่ ฯ.) เป็นขันธ์ที่เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกตามหน้าที่เท่านั้น  ดังเช่นตากระทบดอกไม้, ดอกไม้ทําหน้าที่เป็นอารมณ์ คือดอกไม้เป็นสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยว หรือไปกำหนดในขณะนั้น จึงเกิดเวทนาคือจิตรับรู้ยึดเหนี่ยวดอกไม้นั้นเป็นเป้าหมาย ร่วมกับสัญญาความจําในรูปหรือสิ่งที่ถูกรู้ที่เก็บบันทึกจดจําไว้ จึงเกิดเวทนา คือ ถูกใจ ชอบใจ, ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ, เฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข) อาจกล่าวได้ว่า เวทนาคือความรู้สึกการรับรู้ในอารมณ์ (ดอกไม้)อันเกิดร่วมกับความจํา(สัญญา)

        ๓. สัญญา ที่แสดงในกระบวนธรรมของจิตแบ่งหน้าที่ทําเป็นหลายส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เช่น สัญญาชนิดความจําได้ในอารมณ์นั้นๆ  และการหมายรู้ในอารมณ์นั้นๆ อันมีหลากหลาย เช่น ตีความหมาย ความเข้าใจ การเปรียบเทียบ การแยกแยะในสิ่งที่จําได้  ตลอดจนสัญชาตญาณ ความรู้ สติและปัญญา  บางคราทําหน้าที่นอกจากความจําที่จําเป็นใช้ในการดําเนินชีวิตแล้ว  ยังมีความจําชนิดมีกิเลสเจืออันคือความจําอาสวะกิเลสในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

        สัญญา เกิดในกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ หลายครั้ง ถ้าแยกแยะอย่างละเอียด(จะมีกล่าวในภายหน้า) แต่ละครั้งทําหน้าที่ต่างๆกัน  แต่ก็ล้วนแล้วคือสัญญา ความจํา ความเข้าใจ ความหมายรู้ต่างๆ  อันมีส่วนสัมพันธ์กับสมอง อันเป็นหทัยวัตถุที่เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิต (แต่จิตก็ไม่ใช่สมอง!)

        ๔. สังขาร เป็นผลของกระบวนการขันธ์ ๕ หรือ การกระทําหรือความคิดอ่านที่จงใจหรือเจตนาที่แสดงหรือกระทําต่อเวทนาหรืออารมณ์  หรือเจตจํานงค์,เจตนา,จงใจต่ออารมณ์ต่างๆที่มากระทบ  เป็นปฏิกริยาตอบสนองที่จิตริเริ่มเองได้ (เวทนาเป็นการรับรู้เท่านั้น) ซึ่งจักแสดงออกทางกาย(การกระทํา) หรือวาจา(การพูด) หรือใจ(คิดนึก) กล่าวคือกายสังขาร,วจีสังขาร,มโนสังขาร(จิตสังขาร เช่นความคิดนึก เมตตา  กรุณา โลภ โกรธ หลง สติ ปัญญา หดหู่ใจ ฟุ้งซ่านใจ รําคาญใจ อารมณ์สมาธิ มานะ อารมณ์ฌาน อารมณ์ดีอารมณ์เสียต่างๆ-อารมณ์ดี อารมณ์เสียนี้หมายถึงอารมณ์ในทางโลกๆ ไม่ใช่อารมณ์ในทางธรรมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว)

        สติ และ ปัญญา ก็เกิดมาแต่สัญญา แต่ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ด้วย เพราะเป็นความจงใจเจตนาที่ตั้งใจขึ้นได้ เป็นการริเริ่มได้ด้วยจิตเอง ไม่เป็นเพียงแค่ความจําที่เกิดขึ้นเองจากการรับรู้ และเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการดําเนินชีวิต และการปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดให้มีขึ้น

        ๕. วิญญาณ มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงสื่อสารการทํางานของกายและจิตกับสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก) หรืออุปมาดั่ง ระบบประสาทสัมผัสหรือสื่อสารของชีวิต ในวงการแพทย์ปัจจุบัน   วิญญาณทางพุทธศาสนาจึงมี ๖ เช่นกันคือ วิญญาณของ จักขุวิญญาณ(วิญญาณของตา)  โสตวิญญาณ(วิญญาณของหู)  ฆนะวิญญาณ(วิญญาณของจมูก)  ชิวหาวิญญาณ(วิญญาณของลิ้น)  กายวิญญาณ(วิญญาณของกาย)  และมโนวิญญาณ(วิญญาณของใจหรือจิต)

กระบวนการทํางานของขันธ ์๕ โดยทั่วๆไป

        ผู้เขียนนำขันธ์ ๕ มาเขียนเป็นสมการแสดงกระบวนธรรมของจิตหรือชีวิต ตามแบบวิชาเคมีในทางโลก ก็ด้วยจุดประสงค์ให้เห็นให้พิจารณาได้อย่างเป็นระบบอย่างแจ่มแจ้ง ก็เพื่อให้เห็นเหตุผลอันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือความเป็นเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาทได้อย่างแจ่มแจ้งนั่นเอง

ตา กระทบกับ รูป วิญญาณ ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์

หรือขันธ์ ๕ แบบละเอียด ให้เห็นการทํางานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แยบคายขึ้น เพื่อความเข้าใจลึกซึ้งในกาลต่อไป

ตา (อายตนะภายใน) กระทบกับ รูป (อายตนะภายนอก) เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกันย่อมต้องเกิดเป็นปัจจัย จึงมี (จักษุ) วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี สัญญา (ความจําได้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา (หมายรู้) เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์ (คิดอ่านเจตนากระทําทางกาย, วาจา, ใจ)

เขียนแบบย่อ

ตา กระทบกับ รูป เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ เรียกว่าผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(หมายรู้) เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์

ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์(เช่น คิด,นึก ทำหน้าที่เป็นรูป) เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(หมายรู้) เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี สังขารขันธ์

        ข้อสังเกตุ ถ้าจะดับทุกข์โดยมองในแง่มุมมองของขันธ์ ๕ สังขารทางใจหรือมโนสังขารที่เป็นความคิดนึกต่างๆในการดํารงชีวิตอันปกติที่ยังไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา เหมือนผู้เขียนในขณะนี้ใช้สังขารทางใจ(มโนสังขารหรือจิตสังขาร)คือความคิดนึกต่างๆในการเขียนร่วมกับสังขารกายในการเขียน เป็นขันธ์๕ตามธรรมชาติ และไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีกิเลสตัณหามาเจือ  ดังนั้นจะดับทุกข์ไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นต้องรู้เท่าทันเวทนาหรือจิตสังขาร(เช่นความคิด)แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย วางเฉย(ไม่ใช่รู้สึกเฉยๆ)อันหมายถึงไม่คิดนึกปรุงแต่งอันจะก่อให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่อีก..อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาความอยากหรือไม่อยาก ที่จะร่วมเข้าไปปรุงแต่งหรือกระทําต่อเวทนาอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง,   ขันธ์ ๕ ก็จักทํางานตามธรรมชาติ ไม่เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์

อธิบายการทํางานของขันธ์๕

ตา + รูป    กระทบกันเย่อมเกิด  (จักษุ-ตา)วิญญาณมารับรู้แค่ผลการกระทบกันของตากับอารมณ์คือรูป และทําหน้าที่เป็นสื่อเชื่อมระหว่างกายกับจิตเป็นธรรมดา   แล้วนำส่งต่อให้จิตฝ่ายสัญญาจํา จึงเป็นปัจจัยจึงให้เกิด สัญญาจํา ขั้นรวบรวมข้อมูลความจําเดิมๆที่สั่งสมไว้,ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันจิตนั้น  เป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ชนิดสบาย, ไม่สบาย, เฉยๆ  เป็นปัจจัยจึงเกิด สัญญาหมายรู้หรือขั้นประเมินผล เกิดความจําหมายรู้ใหม่ขึ้น  เป็นปัจจัยจึงเกิด มโนสังขาร(อันหมายถึงจิตนั่นเอง)-เมื่อจิตมารับรู้สัญญาหมายรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นคือจิตรับรู้สรุปข้อมูลต่างๆครบถ้วนแล้ว พร้อมการตกลงใจ  เป็นปัจจัยจึงเกิด สังขาร โดยการคิดสั่งการหรือเจตนา(สัญเจตนา)ผ่านมาทางสังขารทั้ง๓ อันมี ๑. กายสังขาร, ๒.วจีสังขาร, ๓. มโนสังขาร อันคือการแสดงออกทางกาย-การกระทําต่างๆ, ทางวาจาการพูดจาต่างๆ, ทางใจ-การนึก คิด แก้ไขปัญหา สติ ปัญญา โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน เมตตา กรุณา หรืออาการต่างๆของจิตในเจตสิก ๕๒ อันยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญา นอกนั้นจัดเป็นสังขารขันธ์ล้วนสิ้น

        อธิบายคําศัพท์อีกครั้งหนึ่ง โดยละเอียด

        รูป หมายถึงร่างกาย  บางทีหมายถึง สิ่งที่ถูกรู้ได้ทุกชนิดโดยอายตนะภายใน ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

 

        เวทนา การเสวยอารมณ์ หรือ รู้จําอารมณ์ หรือ ความเสพรส การรับรู้ความรู้สึกและจําได้ในอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)ทั้งทางใจและทางกาย อันเกิดจากผลของการกระทบ(ผัสสะ)กันของอายตนะภายใน(เช่นตา)กับอายตนะภายนอก(รูป) โดยมีความจํา (สัญญาเดิม-อดีต)ในอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)ร่วมมาด้วย เกิดเป็นเวทนาสบาย ไม่สบาย เฉยๆ สังเกตุตรงนี้ให้เข้าใจจริงๆว่าเวทนานี้ยังไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆจริงๆ เป็นความรู้สึกรับรู้แค่ชั่วขณะ ยังไม่มีตัณหา และอุปาทานมาร่วม เป็นเพียงเวทนาบริสุทธิ์ตามธรรมชาติของชีวิตในการรับรู้ ที่แม้แต่องค์อรหันต์ก็มีเหมือนปุถุชน มิฉนั้นจะสับสนเพราะดูว่าเข้าใจง่ายๆแต่เข้าใจจริงๆยาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้พิจารณาเวทนา ในเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ เฟื่อให้เข้าใจโดยถ่องแท้ในเวทนา แล้วให้เห็นเวทนาในเวทนา หรือเวทนาสักแต่ว่าเวทนาและขณะนี้เรากําลังใช้ปัญญาในการทะลุทะลวงเวทนาให้เข้าใจในขณะจิตจึงพึงตั้งใจพิจารณาโดยละเอียดเปรียบเทียบถกเถียงกับจิตตัวเอง จนต้องใช้คําว่าเข้าใจไปถึงใจ(เข้าใจจริงไม่ใช่คิดว่าเข้าใจ) เพราะถ้าท่านเข้าใจแล้วจะรู้ว่า ส่วนใหญ่นั้นเราเอาเวทนาซึ่งเป็นขบวนการธรรมชาติธรรมดาๆอันเป็นปกติ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มาก่อให้เป็นความทุกข์จริงๆ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจความจริง โดยเริ่มเกิดก่อตัณหาความอยาก,ไม่อยากให้มีให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานโดยไม่รู้ตัว อันเป็นเหตุทําให้ขันธ์๕ปกติธรรมชาติที่จักเกิดต่อไป(กระทํา,คิด)ในเรื่องนั้นๆ กลายเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์

        เวทนาจําแนกตามความรู้สึกได้เป็น ๓ คือ

        ๑ สุขเวทนา ความรู้สึกถูกใจ, สบายใจ, ชอบใจ เช่น ความสบายกาย, ความสบายใจ, ความชอบใจ, ความถูกใจ, ถูกอารมณ์, ความสนุก คือความรู้สึกที่ชอบใจสบายใจทั้งทางกายและทางใจ

        ๒ ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย,ไม่ชอบใจ เช่นความไม่สบายกาย, ความเจ็บปวด, ความไม่สบายใจ, ความไม่ชอบใจ,ไม่สบอารมณ์,ไม่ถูกใจ,ความเบื่อ คือความรู้สึกไม่ชอบใจ,ไม่สบายใจทั้งทางกายและทางใจ

        ๓ อทุขมสุข หรืออุเบกขาเวทนาความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ, เฉยๆตัวนี้สังเกตุให้ดีมักจะไปเข้าใจผิดว่าไม่มีกิเลสตัณหาทําให้เข้าใจอุเบกขาเวทนาผิดๆคิดว่าเป็น"อุเบกขาสัมโพชน์ฌงค์ที่หมายถึงรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วอุเบกขาวางใจไม่เอนเอียงแทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง เป็นกลางวางเฉย"  ตรงนี้เป็นประเด็นสําคัญ เฉยๆในเวทนาตัวนี้ไม่ใช่อุเบกขา เฉยๆเป็นเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือสัญญาในเรื่องนั้นเป็นเช่นนั้น หรือในขณะจิตนั้นเรื่องนั้นไม่เด่นชัดขึ้นมา หรือจะว่า ลืม หรือวาง หรือกดข่ม หรือไม่มีความสนใจสิ่งนั้นในขณะจิตนั้นๆก็ได้ หรือเบี่ยงเบนเพราะสิ่งอื่นมาบดบังเช่นด้วยอํานาจของสมาธิหรือฌาน เช่น อาหารของโปรด ถ้าเอามาให้หรือเห็นตอนอิ่มแล้ว, ความอยากหรือตัณหาที่อยากทานจะถูกบดบังหรือเบี่ยงเบนด้วยความอิ่มนั้นชั่วขณะ  ต้องระวังให้ดี การยึดว่าต้องเฉยๆหรือไม่รู้สึกรู้สา(อทุกขมสุข) ด้วยเข้าใจว่าเป็นอุเบกขาใจเป็นกลาง

        และเนื่องจากเป็นอทุกขมสุข จึงไม่ทุกข์ไม่สุข อันแผ่วเบา จึงจับความรู้สึกรับรู้ไม่ได้ชัดเจน  จึงมักปล่อยกายปล่อยใจ เกิดประมาทโดยไม่รู้ตัว จึงขาดสติ จึงฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) ทำให้เกิดตัณหาขึ้นโดยไม่รู้ตัว   อทุกขมสุขจึงสังเกตุได้ยากและก่อทุกข์เป็นจํานวนมาก  ต้องพิจารณาอย่างละเอียดจึงจะเห็นโทษที่ทําให้เกิดอวิชชานุสัย ความไม่รู้ตามความเป็นจริง

        ตัวอย่างของ เวทนา ต่างๆ

ตา กระทบกับ รูป เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา,จําอารมณ์คือรูป) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา

คือเกิดเวทนา ความรู้สึกว่าสบาย-สุขเวทนา, ไม่สบาย-ทุกขเวทนา, เฉยๆ-อทุกขมสุข.....ก็ได้แล้วแต่ความจํา,รสนิยมเดิมที่มีหรือปลูกฝังสั่งสมไว้ เพราะฉนั้นเวทนาของแต่ละบุคคลจึงไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับสัญญาที่มีอยู่ ตรงนี้ต้องการแค่ชี้ให้เห็นว่ามีสัญญาในอดีตหรือสัญญาเดิมเป็นเหตุปัจจัยร่วมให้เกิดเวทนาด้วย และเป็นปัจจัยให้เกิดการแยกแยะเป็นความรู้สึกชนิดต่างๆ ดังเช่น

        ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์(เรื่องทุกข์ทางใจในอดีต) มโนวิญญาณ(ใจ) เกิดการผัสสะ   สัญญา(ความจําอารมณ์เดิมเกี่ยวกับทุกข์นั้น)   ทุกขเวทนา เกิดเวทนาทางใจรับรู้และจําได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ...เกิดเวทนากาย อันมิได้สัญเจตนาขึ้นมาเช่นกายสั่น ใจสั่นระรัว(เกิดแต่หัวใจสั่นระรัวจริงแต่เป็นส่วนของกาย,ไม่ใช่จิต) มือสั่น.....และเพราะเวทนานี้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารขันธ์ขึ้นในที่สุด เช่นจิตสังขาร เช่น หดหู่,วิตกกังวล, โกรธ และอาจเกิดกายสังขารกระทำอะไรลงไปด้วยก็ได้ กล่าวคือเกิดขันธ์๕ครบถ้วนบริบูรณ์ตามกระบวนธรรมถึงสังขารขันธ์  สังขารนี้เป็นเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงยังผลให้เกิดสังขารขันธ์ขึ้น  ตัวเวทนานั้นจะเกิดแค่ขณะระยะเวลาหนึ่งแล้วดับไป ยังไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆ(อุปาทานขันธ์๕)ที่พระพุทธเจ้าทรงหมายมั่นให้ดับ  เป็นแค่สภาวะธรรม(ชาติ)ที่มันต้องเกิดต้องเป็นอย่างนั้น จึงต้องเข้าใจ ต้องยอมรับ ตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมนี้เพราะเกิดจากความจําเก่า(สัญญา)อันยังมีกิเลส(อาสวะกิเลส),  เมื่อเข้าใจเวทนา เวทนานั้นก็จะเบาบางลง แต่ถ้าเรามีตัณหาใส่เข้าไปเพิ่มอีกเช่นไม่น่าเกิด ไม่น่าจะเป็น อยากให้เป็นอย่างโน้น อยากให้เป็นอย่างนี้ ให้เป็นไปตามใจปรารถนา หรือมีความรู้สึกต่อต้าน(มีความไม่อยาก)ต่อเวทนากายอันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตอนนี้แหละที่ความทุกข์จักเกิดขึ้นและเป็นทุกข์ที่เราท่านประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยรู้ตัวบ้างก็ดี ไม่รู้ตัวบ้างก็ดี.(ศึกษาต่อในวงจรปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์)

        จริงๆแล้วขันธ์๕อันนี้ไม่ใช่ขันธ์๕บริสุทธิ์แท้ๆ แต่มีเชื้ออุปาทานขันธ์๕ เพราะเคยเกิดในกระบวนการของทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทมาก่อนครบวงจรแล้ว เคยเป็นขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะจนเป็นทุกข์อยู่แล้วในเรื่องนั้นหรือมีเชื้อแห่งทุกข์ หรือเป็นอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําที่แฝงกิเลสนั้นๆที่หมักหมมอยู่แล้วนั่นเอง เมื่อเกิดตัณหาอีกในเรื่องเดิม ก็จักเกิดความทุกข์ขึ้นอีกครั้งในเรื่องเดิม  แต่ถ้าไม่เกิดตัณหาความอยากหรือความไม่อยากก็ไม่เป็นทุกข์  ลองสังเกตุดูให้เห็นด้วยจิตตนเอง เป็นขันธ์แบบที่๓ อันมีสภาพดังฟืนเคยไฟ

 

        สัญญา ความจําและหมายรู้ในอารมณ์ ความจําได้ในสิ่งที่เป็นอารมณ์(ที่กำหนดหมาย)อันเกิดจากประสบการณ์ต่างๆในชีวิตที่จําไว้ รสนิยม ที่เกิดในปัจจุบันจิตนั้น อันหมายรวมถึงอาสวะกิเลสที่แอบแฝงอยู่ในจิตลึกๆเช่นความหดหู่กังวลใจ คับแค้นใจ ตลอดจนสัญชาตญาณ เช่น ความหิว, อิ่ม, ความเจ็บปวด...ฯลฯ เป็นญาณหรือความรู้หรือทุกข์ที่มีมาพร้อมกับการเกิด และเก็บจําในจิต, สัญญาหมายรู้ คิดอ่าน สรุปข้อมูล เรียนรู้เปรียบเทียบแล้วสรุปผลก็อยู่ในสัญญาหมายรู้เช่นกัน  

        สัญญาจำได้ ในรูป เรียกว่า รูปสัญญา,  ส่วนสัญญาหมายรู้คือคิดอ่าน ในรูป เรียกว่า รูปสัญเจตนา

        สัญญาจำได้ ในเสียง เรียกว่า สัททสัญญา,  สัญญหมายรู้คือคิดอ่าน ในเสียง เรียกว่า สัททสัญเจตนา

        สัญญาจำได้ ในกลิ่น เรียกว่า คันธสัญญา,  สัญญหมายรู้คือคิดอ่าน ในกลิ่น เรียกว่า คันธสัญเจตนา

        สัญญาจำได้ ในรส เรียกว่า รสสัญญา,  สัญญหมายรู้คือคิดอ่าน ในรส เรียกว่า รสสัญเจตนา

        สัญญาจำได้ ในโผฏฐัพพะ เรียกว่า โผฏฐัพพะสัญญา,  สัญญหมายรู้คือคิดอ่าน ในสัมผัส เรียกว่า โผฏฐัพพะสัญเจตนา

        สัญญาจำได้ ในธรรมารมณ์ เรียกว่า ธัมมสัญญา,  สัญญหมายรู้คือคิดอ่าน ในธรรมารมณ์ เรียกว่า ธัมมสัญเจตนา

 

        สังขารขันธ์ เกิดจากผลสรุปของเวทนาร่วมกับสัญญาหมายรู้ สรุปผลออกมาชัดเจนให้จิต แล้วเกิดเจตนา(สัญเจตนา)เป็นความคิดอ่านที่เจตจํานงค์หรือเจตนาในการกระทําต่อเวทนาหรือการรับรู้อารมณ์(ในรูป,เสียง กลิ่น ฯลฯ.)ที่เกิดขึ้น

        สังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ ดังเช่น คิด สติ ปัญญา เมตตา กรุณา ศรัทธา และความโลภ โกรธ หลง ตัณหา เป็นกลางๆ ฯ. ซึ่งในทางอภิธรรมท่านจําแนกว่าทั้ง ๕๐ จากเจตสิก๕๒ (เจตสิกคืออาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต แบ่งเป็น ๕๒ อันยกเว้นแต่เวทนาและสัญญาแล้ว อีกทั้ง ๕๐ ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์)

        บางท่านอาจจักสับสนตรง โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่านเป็นสังขารขันธ์ก็เป็นทุกข์แล้วนี่ ไม่ต้องมีอุปาทานเกิดร่วมด้วยเลย? จริงๆแล้วมันเป็นแค่สังขารขันธ์อันเป็นขบวนการธรรมชาติในการยังชีวิตตามปกติ พระอริยเจ้าทั้งหลายจึงมักกล่าวอยู่เนืองๆว่า "ทุกข์ของขันธ์ ๕ นั้นมีอยู่" ซึ่งเป็นความจริงอันถูกต้อง แต่ท่านไม่เป็นทุกข์จริงๆอย่างปุถุชนเพราะไม่มีอุปาทานร่วมด้วย มันเกิดจริงแต่ตามธรรมชาติ ถ้ารู้เท่าทันเวทนา(การเสวยอารมณ์)หรือตัณหาหรือสังขารขันธ์(หมายถึงเข้าใจ ตัวใดก็ได้ แต่ถ้ายิ่งแต่ต้น ก็ยิ่งดีเท่านั้น)ที่เกิดมันก็จักค่อยๆมอดดับไปเองเสมือนหนึ่งกองไฟที่ค่อยๆมอดดับ   ถ้าไม่มีความคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาเข้าไปร่วมด้วย(ดังแสดงในวงจรปฏิจจสมุปบาท) อันอุปมาดั่งสตาร์ทรถที่ไม่มีนํ้ามันอันคือไม่มีตัณหานั่นเอง ย่อมแค่สั่นสะเทือนแต่ไม่มีวันที่จะออกวิ่งไปหาความทุกข์ได้เลย  หรือดังที่มีผู้มาปรารภการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แล้วเรียนถามท่านว่า "หลวงปู่ครับ ทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน....เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง"(จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม"หน้า๔๖๒) ดังนั้นจากความนี้จักเห็นได้ว่าตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนา(หรือเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา)ได้ตั้งแต่เกิดเวทนาครั้งแรกเป็นต้นไปจนถึงสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้น แล้วเอาสังขารขันธ์ที่เกิดคิด(มโนกรรม)นั้นไปคิดนึกปรุงแต่งขึ้นใหม่อันต้องเกิดเวทนาใหม่ๆขึ้นอีกอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อีก  ดังนั้นถ้ามีสติรู้เท่าทันและเข้าใจสภาวะธรรมของเวทนาดังแสดงในปฏิจจสมุปบาทย่อมดีกว่า เพราะสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากเวทนาเช่นกัน ย่อมบรรเทา เบาบางลงไปด้วย (ดูขยายความในข้อคิดท้ายบทในภายหน้า)

        สังขารขันธ์แบ่งออกเป็น ๓ คือ

        ๑. กายสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางกาย  และ/หรืออาจจะร่วมด้วยวจีสังขาร,มโนสังขาร

        ๒. วจีสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางวาจา และ/หรืออาจจะร่วมด้วยกายสังขาร,มโนสังขาร

        ๓. มโนสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางจิตเช่นความคิดนึก(ตริ) พิจารณา(การตรอง) สติ ปัญญา โลภ โกรธ หลง เมตตา กรุณา ฯลฯ. (รวมความคิดนึกปรุงแต่งเพราะเป็น "ปปัญจสัญญา" คือสัญญาที่ซับซ้อนเจือกิเลส อันจัดเป็นสังขารขันธ์นั่นเอง อันก่อให้เกิดทุกข์)

        ขบวนการทํางานของสังขารขันธ์ อันคือเป็น "ผลของขันธ์๕" คือการกระทํา(กรรม)ทางกาย, วาจา, ใจ(คิด,นึก) เป็นปฏิกริยาเพื่อสนองหรือตอบโต้ต่อเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้อารมณ์ที่กระทบสัมผัสที่เกิดขึ้น

 กายสังขาร

= กายสัญเจตนา    เป็นปัจจัย จึงมี

 กายทวาร  เป็นปัจจัย จึงมี

 กายกรรม

 สภาพปรุงแต่งการกระทําทางกาย

= ความคิดที่จงใจแสดงออกทางกาย

 ทางกาย

 การกระทําทางกาย

                                  

 วจีสังขาร

= วจีสัญเจตนา     เป็นปัจจัย จึงมี     

 วจีทวาร   เป็นปัจจัย จึงมี

 วจีกรรม

 สภาพปรุงแต่งการกระทําทางวาจา

= ความคิดที่จงใจแสดงออกทางวาจา

 ทางวาจา

 การกระทําทางวาจา

                              

 มโนสังขาร,จิตสังขาร,คิด

= มโนสัญเจตนา   เป็นปัจจัย จึงมี    

 มโนทวาร เป็นปัจจัย จึงมี

 มโนกรรม

 สภาพปรุงแต่งการกระทําทางใจ

= ความคิดที่จงใจแสดงออกทางใจ(คิด)

 ทางใจ

 การกระทําทางใจ

การกระทําทางใจ(มโนสังขาร) เช่นความคิดเรื่องนั้นๆ โลภ โกรธ หลง ความคิดฟุ้งซ่าน ฯลฯ. อันเป็นสังขารขันธ์ก็เป็นสาเหตุช่วยให้เกิดทุกข์ ถ้ามีตัณหาเข้าร่วมปรุงด้วยก็ทําให้เกิดทุกข์เช่นเวทนาได้เหมือนกัน กล่าวคือสังขารขันธ์หรือความคิดที่เป็นทุกข์ก็จักทําหน้าที่เป็น"รูป"หรือสิ่งที่ถูกรู้ในขันธ์๕ ชึ่งย่อมยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีก อันย่อมต้องมีเวทนาเกิดอีกเช่นกัน อันเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาต่อเวทนาเหล่านั้นได้เช่นกัน   เกิดเป็นวงจรหรือวัฏฏะของทุกข์วนเวียนอยู่เช่นนั้น  ในบางครั้งจึงมีการกล่าวถึงตัณหาอันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปในสังขารขันธ์เช่นกันดังในปิยรูป สาตรูป๑๐   หรือเกิดได้ดังในวงจรเล็กที่เคลื่อนไหวอันคือสภาวะของชรา อันเกิดเนื่องจากมโนสังขารนั้นถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทานแล้ว คลิกเพื่อดูภาพประกอบ)

       สัญเจตนา คือความคิดอ่านที่จงใจหรือเจตนานั่นเอง ที่แสดงออกทางกาย หรือวาจา หรือใจ เป็นจิตหรือความคิดที่มองไม่ค่อยเห็น คล้ายๆทํางานโดยอัตโนมัติ คล้ายการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจที่ทํางานไปตามหน้าที่ตน  หรือก็คือความคิดที่เกิดจากสมองส่วนสั่งการนั่นเอง อันเกิดต่อจากสัญญาหมายรู้หรือความคิดนึกที่สรุปหมายรู้เรียบร้อยแล้วโดยมโน(จิต)หรือที่ผู้เขียนใช้คำว่ามโนสังขารในส่วนที่ต่อจากสัญญาหมายรู้ หรือจะเรียกมโนนี้ว่าสำนักงานจิตส่วนกลางนั่นเอง

       ขอให้สังเกตุ ไม่ว่าจะเป็นสังขารทางกาย วาจา หรือใจ ก่อนอื่นนั้นต้องเกิดมโน(จิต) สัญเจตนา(เจตนา)อันเป็นความคิดชนิดหนึ่งในการสั่งการ ผู้เขียนจึงเคยกล่าวไว้ในปฏิจจสมุปบาทว่า จิตนั้นเป็นประธานทั้งฝ่ายกายและจิต เพราะมิว่าจะเกิดสังขารในทางใดก็ตาม ล้วนแล้วต้องผ่านจิต และสัญเจตนาก่อนทั้งสิ้น เพียงแต่รู้หรือไม่รู้ตัวเท่านั้น  เพราะบางสังขารขันธ์นั้นเกิดแต่สังขารที่สั่งสมไว้นั่นเองจึงทำงานอย่างอัติโนมัติ หรือแผ่วเบาเคยชินอย่างยิ่งจึงสังเกตุไม่พบ  เพราะมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นเยี่ยงนี้ผู้เขียนจึงกล่าวบ่อยๆว่า จิตดียังผลให้กายนั้นดีด้วย แต่ดีตามสภาวธรรมอย่างสูงสุด มิใช่สภาวเหนือธรรมชาติอย่างอวิชชา ดังเช่นผู้ปฏิบัติที่ถูกต้อง สุขภาพ,ผิวพรรณจึงผ่องใส(ตามกรรมพันธ์แห่งตน)และไม่มีโรคใจหรือโรคอันเกิดแต่ใจหรือจิตเป็นเหตุ แต่ก็สามารถมีโรคอันเกิดแต่กาย เช่น โรคจากการติดเชื้อ สารพิษ หรือกรรมพันธ์   แต่ปุถุชนนั้นการเจ็บไข้ได้ป่วยส่วนใหญ่แล้วมีเหตุมาจากจิตหรือใจเป็นส่วนใหญ่แทบทั้งสิ้นแต่ไม่รู้เหตุ  นอกจากกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อ สารพิษ หรือกรรมแห่งเผ่าพันธ์แห่งตน(วิบากกรรม)เช่นกัน

 

       วิญญาณ การรับรู้ สื่อสาร(รับรู้แบบข้อมูลดิบ เป็นการนําส่งข้อมูลในสิ่งที่กระทบสัมผัสไปให้สัญญาหรือสมองส่วนความจํา) ไม่ได้หมายถึงเจตภูติหรือปฏิสนธิวิญญาณอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป(หมายถึง ผี หรือ วิญญาณที่ลอยละล่องหรือออกจากร่างของผู้ที่ถึงกาลแตกดับ)  วิญญาณจึงทําหน้าที่คล้ายรูปภาพถ่าย  ส่วนตาทําหน้าที่คล้ายเลนส์กล้อง  รูปถ่ายแค่บันทึกไว้ในกระดาษตามเป็นจริงแต่ตัวรูปถ่ายเองไม่รู้อะไร  คนดูรูปถ่ายจึงทําหน้าที่เป็นสัญญา  หรือกล่าวอย่างง่ายๆก็คือ วิญญาณทําหน้าที่เป็นสื่อเชื่อมระหว่างอายตนะภายนอก และอายตนะภายใน ต่ออารมณ์(รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ.)ที่มาผัสสะ  หรือก็คือระบบประสาทนั่นเอง อันจําเป็นต้องส่งให้สมอง(ที่มีสัญญาจําได้หมายรู้)รับรู้

 

เวทนา

        ก่อนจะกล่าวเรื่องเวทนาขอกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบหรือความเข้าใจชอบ)ฝ่ายโลกุตตระหรือโลกุตตรสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบระดับเหนือโลกหรือเหนือสภาวะทางโลกๆ หรือรู้เข้าใจตามสภาวะเป็นจริงของธรรมชาติ(ธรรม) สัมมาทิฏฐิประเภทนี้จักเกิดจากโยนิโสมนสิการคือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่าน การฟัง การเชื่อโดยศรัทธาแต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องเอาธรรม(ชาติ)เป็นข้อพิจารณาโดยตรงจนเกิดความเข้าใจจึงเชื่อมั่นถึงใจหมดวิจิกิจฉาความสงสัยใดๆ จึงสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ ความเชื่อ ความยึดถือเดิมๆ จึงจะกําจัดกิเลสได้ มิใช่กดข่ม หรือทับไว้ จึงจะเกิดความมั่นคงดุจหินผาในคุณธรรม

        เวทนาคือการรับรู้ความรู้สึกและจําได้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส หรือการเสพรสอารมณ์ หรือกล่าวคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันพร้อมด้วยความจําได้ หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ เช่นในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) และธรรมารมณ์(ความคิด) อันแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามความรู้สึก

        ๑ สุขเวทนา ทางตา-สบายใจ ชอบ, ทางหู-สบายใจ ชอบ, ทางจมูก-สบายใจ ชอบ, ทางลิ้น-สบายใจ ชอบ, ทางกาย-สบาย ชอบ, ทางใจ-รู้สึกสบายใจ ชอบ สนุก เพลิดเพลิน

        ๒ ทุกขเวทนา ทางตา-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางหู-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางจมูก-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางลิ้น-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางกาย-ไม่สบาย ไม่ชอบ, ทางใจ-ไม่ สบายใจ ไม่ชอบ เบื่อ

        ๓ อทุกขมสุข ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีอะไร ไม่สุข ไม่ทุกข์

กระบวนการทํางานของขันธ์๕ (แค่เวทนา)

ตา กระทบกับรูป เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี สัญญา(จํา) เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ....ไปตามขบวนธรรมของขันธ์๕.....

                                                 หรือเขียนเป็นดังนี้

ตา กระทบกับ รูป เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี สัญญาจําในรูป เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี .....ไปตามขบวนธรรมของขันธ์๕.......

พิจารณาให้ดี ในทุกขบวนที่เกิดขึ้นนี้ มีกองธรรมใดที่เราจะดับหรือระงับได้ไหม?

        อธิบายตามหลักพุทธศาสตร์ประยุกติ์กับหลักวิทยาศาสตร์

        ตากระทบกับรูปหรือภาพที่เห็น ประสาทตา(ทางพุทธศาสตร์คือ"จักขุวิญญาณ")จะทําการรับภาพที่เห็นอันประกอบด้วยอารมณ์ส่งไปให้สมองส่วนความจํา(หรือ"สัญญา"ในทางพุทธศาสตร์) ซึ่งจะตีความภาพที่เห็นว่าเป็นสิ่งใดมีความรู้ในสิ่งนั้นๆอย่างไร แล้วสรุปลงมาเป็นการรับรู้ความรู้สึกที่พร้อมความจําในรูปด้วย(เวทนา)ในขั้นแรกๆที่เรียกกันว่า สบาย(ชอบ), ไม่สบาย(ไม่ชอบ), เฉยๆ หรือก็คือสุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขในทางพุทธศาสตร์นั่นเอง

        ตามหลักวิปัสสนา ต้องเห็นตามความเป็นจริงของสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ

        ตา - เป็นอวัยวะประจํากาย เราทิ้งตาไปได้ไหม?

        รูป - สิ่งที่เป็นอารมณ์ หรือสิ่งถูกรู้ หรือสิ่งที่เห็น  จะไม่ให้มี ให้หายไป ไม่ให้เห็นได้ไหม? มันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติของเขาใช่ไหม? เปลี่ยนแปลงรูปเหล่านั้นให้เป็นไปตามปรารถนาได้ไหม?

        กระทบกัน - ผัสสะ - ห้ามไม่ให้มีการกระทบคือการเห็น, การรู้ได้ไหม?

        วิญญาณ - หรือประสาทรับรู้ - ห้ามไม่ให้ทําหน้าที่ได้ไหม?

        สัญญา - ความจําทั้งหลายทิ้งไปได้ไหม ถ้าทิ้งได้จะเป็นเช่นไร?  ความรู้ก็เป็นสัญญาจํา  การยังชีวิตในโลกก็ต้องใช้สัญญาจำ  และสัญญาเป็นขันธ์ตัวแปรอันสำคัญยิ่งในการดับทุกข์ เพราะปัญญาก็เป็นสัญญาอย่างหนึ่งและสามารถศึกษาพัฒนาให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณในขั้นดับทุกข์ขึ้นได้

        ดังนั้นจักเห็นว่าเวทนาย่อมต้องเกิดตามเหตุปัจจัยข้างต้น ไม่สามารถไปห้ามหรือหยุดได้เป็นกระบวนการธรรมชาติแท้ๆเป็นธรรมดาแต่สูงสุด ที่ต้องยอมรับตามความเป็นจริง อย่าไปหลงหวังพึ่งสิ่งใดๆหรือปฏิบัติแบบใดๆเพื่อดับเวทนาให้ดับสูญจริงๆ  เวทนาไม่สามารถดับได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่สามารถที่จะดับอุปาทานเวทนาอันเป็นทุกข์ให้เป็นเพียงเวทนาธรรมดาๆตามธรรมชาติเท่านั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ประชุมกันชั่วระยะหนึ่งนั่นเอง  จึงสามารถเกิดปัญญาให้เหนือเวทนาได้

        ต้องหมั่นพิจารณาและรู้ทันเวทนาเป็นประจําสมํ่าเสมอ ว่าสักแต่ว่าเป็นกระบวนการธรรมชาติ มันเป็นเช่นนั้นเอง เพียงแค่รับรู้แล้วไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา กล่าวคือ เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ไม่ไปติดเพลิน บ่นถึง  หรือเมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ไม่ครํ่าครวญ พิรี้พิไร รำพันในทุกขเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น   เมื่อเป็นอทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนาก็รู้เท่าทันไม่ปรุงแต่งต่อไป

        ตัวอย่างเช่น

ตา กระทบกับ เงิน(ของชอบ) เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีเกิดกระทบกันหรือผัสสะ เห็นเงินเป็นปัจจัย จึงมี สัญญาจําได้หรือเข้าใจว่า เงินมีความหมายใช้ซื้ออะไรก็ได้ตามใจปรารถนา เป็นปัจจัย จึงมี เวทนาชนิดสบายใจ(สุขเวทนา) เป็นปัจจัย จึงมี ......... เป็นปัจจัย จึงมี เกิดสังขารใจ โลภ - คิดไปซื้อโน่น,ซื้อนี่  หรือเกิดกายสังขาร คิดอ่านแล้วออกไปหาซื้อของถูกใจ

ตา กระทบกับ คนที่ไม่ชอบ เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีเกิดกระทบกันหรือผัสสะ เห็นคนนั้นเป็นปัจจัย จึงมี สัญญาจําได้ว่าเป็นศตรูหรือไม่ชอบ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนาชนิดไม่ชอบ(ทุกขเวทนา ไม่สบายใจ) เป็นปัจจัย จึงมี......เกิดสังขารทางใจหรือจิตสังขารเช่น โกรธคิดไม่พอใจ หรือเกิดสังขารกายโดดเข้าทําร้าย คนที่ไม่ชอบ  แสดงว่าคือคนๆนี้เคยถูกครอบงําด้วยอุปาทานของเรามาแล้ว และเก็บเป็นอาสวะกิเลสอยู่ในจิต หรือเคยเป็นอุปาทานขันธ์๕ที่จะเข้าวงจรการเกิดทุกข์อีกครั้งหรือพูดง่ายๆก็คือความทุกข์เก่าในรูปอาสวะกิเลสที่อาจก่อให้เกิดความทุกข์ใจใหม่ได้ ถ้ามีตัณหาความอยากหรือไม่อยากปรุงแต่งเข้าไปอีก ขันธ์ ๕ ชนิดนี้เกิดในชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา

ตา คน เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีเกิดกระทบกันหรือผัสสะ เห็นคนเป็นปัจจัย จึงมี สัญญาจำ ไม่มีความจําอะไรในบุคคลนั้น เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา ชนิดอทุกขมสุขคือรู้สึกเฉย...ฯลฯ  จึงเกิดสังขารใจชนิดเฉยๆไม่มีอะไร ไม่คิด ไม่ทํา ไม่พูด ไม่รู้สึกอันใด  ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจําวันที่ตากระทบรูปทั่วๆไปอยู่เสมอๆแทบตลอดเวลา  เพียงแต่แผ่วเบาและเคยชินจนสังเกตุไม่เห็น  จึงต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาจึงจะเห็นที่หมายถึงเข้าใจได้

ตา กระทบกับ อาหาร เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีเกิดกระทบกันหรือผัสสะ เห็นอาหารนั้นเป็นปัจจัย จึงมี สัญญาจํา ได้ว่าของชอบของโปรด เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา ชนิดสุขเวทนาคือชอบ.....เกิดสังขารใจหรือจิตสังขาร ชนิดโลภคิดอยากกิน, น่ากิน หรือสังขารกายคิดอ่านขวยขวายและลงมือกินเลย ขันธ์๕นี้ไม่เป็นขันธ์๕บริสุทธ์ จริงๆแล้วเป็นอุปาทานขันธ์เก่าที่เป็นอาสวะกิเลส คืออาหารนั้นเคยอุปาทานรูปอันคือรูปที่มีเคยมีอุปาทานครอบงํามาแล้ว, และเช่นกันในสัญญาหรือความจําได้ว่าเป็นของโปรด เพราะฉนั้นเวทนาอันนี้จริงๆแล้วเป็น "เวทนูปาทานขันธ์" หรืออุปาทานเวทนาในอดีต หรือพูดได้ว่าอาหารนี้เป็นทุกข์เก่า(ของชอบ)ชนิดที่กอให้เกิดทุกข์ใหม่ถ้ามีตัณหาปรุงแต่งเกิดขึ้น

ตา กระทบกับ อาหาร เป็นปัจจัย จึงมี จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน เห็นอาหารเป็นปัจจัย จึงมี จําได้หมายรู้ว่าอิ่มแล้ว เป็นปัจจัย จึงมี อทุกขมสุข เฉยๆ.......ฯลฯ.

กาย กระทบกับ ลูบไล้ เป็นปัจจัย จึงมี กายวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน รู้สัมผัสเป็นปัจจัย จึงมี จําสัมผัสชนิดนี้ได้ว่าชอบ เป็นปัจจัย จึงมี สุขเวทนา ชอบ,สบายใจ......ฯลฯ.

กาย กระทบกับ ตีแรงๆ เป็นปัจจัย จึงมี กายวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน รู้สัมผัสเป็นปัจจัย จึงมี จําสัมผัสชนิดนี้ได้ว่าไม่ชอบ เป็นปัจจัย จึงมี ทุกขเวทนา ไม่ชอบ......ฯลฯ.

กาย กระทบกับ แตะ เป็นปัจจัย จึงมี กายวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน รู้สัมผัสเป็นปัจจัย จึงมี จําสัมผัสชนิดนี้ได้ เป็นปัจจัย จึงมี อทุกขมสุข เฉยๆ.......ฯลฯ.

ใจ กระทบกับ คิดเรื่องทุกข์ เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน รู้สัมผัสเป็นปัจจัย จึงมี จําได้ว่าเรื่องทุกข์ๆ เป็นปัจจัย จึงมี ทุกขเวทนา ไม่ชอบไม่สบาย.....ฯลฯ.

ใจ กระทบกับ เรื่องสุขๆ เป็นปัจจัย จึงมี มโนวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีกระทบกัน รู้สัมผัสเป็นปัจจัย จึงมี จําได้ว่าเป็นเรื่องชอบ เป็นปัจจัย จึงมี สุขเวทนา ชอบ......ฯลฯ.

กาย กระทบกับ มีด กระทบกับ กระทบกัน(บาดมือ) ประสาทกายรับรู้ เป็นปัจจัย จึงมี จําความรู้สึกจากสัญชาตญาณได้ เป็นความรู้สึกสัมผัสทางกายที่ไม่ปรารถนา เป็นปัจจัย จึงมี ทุกขเวทนา รับรู้เจ็บปวด...เกิดสังขารกาย คือกายมีอาการสะดุ้ง อันมาจากสัญญาหมายรู้ชนิดสัญชาตญาณ, หรืออาจจิตสังขารทางใจเกิดโมหะหลง มีดบาดนิ้วกู, กูไม่ยอม, กูไม่อยาก, อาจเกิดวจีสังขารร่วมด้วยโดยการอุทานต่างๆนาๆออกมา

        จักเห็นได้ว่าเวทนานั้นรวมถึงผลของความจําได้ ตลอดจนรสนิยม ประสบการณ์ต่างๆตลอดชีวิตแต่ในขณะปัจจุบันจิตนั้น  ตัวอย่างเช่น ให้เงินเด็กอายุ ๖ เดือนกับผู้ใหญ่และ ผู้ใหญ่รวยมากๆ คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งต่างก็เห็นในรูป(คือเงิน)เหมือนๆกันแต่ผลต่างกัน อันเนื่องจากสัญญาจํา

        เด็ก ๖ เดือน

ตา(ใจก็ได้) กระทบกัน เงิน anired02_next.gif จักขุวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี ไม่มีสัญญาหรือความจําความรู้เกี่ยวกับเงิน เป็นปัจจัย จึงมี อทุกขมสุข.....ฯลฯ.

เด็กมีความรู้สึกเฉยๆ  จะโยนทิ้งก็ได้  ฉีกเล่นก็ได้  ไม่สนใจ  ไม่มีค่าในสายตา  เพราะไม่มีสัญญาจําได้ในรูป(เงิน)นั่นเอง

        ผู้ใหญ่

ตา กระทบกัน เงิน กระทบกัน กระทบกัน เห็นเงิน กระทบกัน จําได้ รู้ ว่ามีค่าใช้แลกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนา anired02_next.gif สุขเวทนา.....ฯลฯ

จึงเกิดสังขารทางใจเช่น โมหะความหลง คิดเป็นสุขจักเอาเงินไปทําโน่นทํานี่, โอ้โห..บุญหล่นทับ, หรือเกิดสังขารกาย ออกไปใช้เงินจับจ่ายใช้สอยซื้อข้าวของ

        ส่วนผู้ใหญ่ที่รวยมากๆ

ตา กระทบกัน เงิน กระทบกัน กระทบกัน เห็นเงิน กระทบกัน จําได้ รู้ว่ามีค่า แต่น้อย กระจอกเหลือเกิน เป็นปัจจัย จึงมี อทุกขมสุข.....ฯลฯ

เป็นสังขารทางใจชนิดเฉยๆไม่รู้สึกตื่นเต้น เพราะสัญญาของเขามันมีความหมายถึงเงินน้อย

หรืออาจเกิดทุกขเวทนาใจคือไม่พอใจก็ได้ว่า น้อยเกินไป ดูถูกกันนี่  เกิดสังขารทางใจมีความโกรธเป็นอาทิ มีสังขารกายมือไม้สั่น ใจสั่นด้วยความโกรธไม่พอใจ

       จากตัวอย่างเรื่องเงินนี้จักเห็นได้ว่าขบวนการที่เกิดรวดเร็วมากแทบจะขณะจิตเดียวกับที่เห็นหรือกระทบ ผลหรือเวทนาจะสรุปออกมาเลยแต่มีผลแตกต่างกันเพราะความจํา(สัญญา)ได้ในอารมณ์(ในที่นี้จึงหมายถึงเงิน)ที่มีในจิตไม่เหมือนกัน   เวทนาแต่ละบุคคลจึงอาจไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสัญญาจําในอดีต ทั้งๆที่เป็นสิ่งๆเดียวกัน, เวทนาเป็นกฏของธรรมชาติ เราไม่สามารถไปหยุดหรือหลีกเลี่ยงได้ถือได้ว่ายิ่งใหญ่กว่าเทพไท้เทวาองค์ใดๆเสียอีก เพราะเป็นกระบวนธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ  แต่เราสามารถที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดียินร้ายในเวทนานี้ หรือเหนือเวทนาได้โดยปัญญาที่เข้าใจ และเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เป็นกระบวนการในการยังชีวิตอยู่อันหลีกเลี่ยงมิได้  เป็นกฎทางธรรมอันสูงสุด(เป็นสภาวธรรมหรือปรมัตถ์สัจจะ)  และเป็นแค่การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดในสิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้น  แต่เราไปยึดว่าเวทนาหรือการรับรู้ความรู้สึกนั่นว่าเป็นเรา เวทนานั่นเป็นของเรา แต่เมื่อจิตรับรู้จริงๆ(ปัญญาที่เข้าใจจริง)และปฏิบัติอย่างถูกต้อง จิตจักเลิกดิ้นสอดส่ายหาวิธีทางออกอย่างไร้เหตุผล อันหมายถึงหยุดการคิดปรุงแต่งดิ้นรนเพื่อหาทางออกอย่างสิ้นหวัง อันมักมีตัณหาแอบแฝงไหลเลื่อนมากับคิดปรุงแต่งนั้นทีละน้อยโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอๆ เมื่อตัณหาหยุดแล้วตามกฎธรรมชาติอันสูงสุดเช่นกันคือกฎอิทัปปัจจยตาคือเมื่อเหตุปัจจัยของสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับ หรือเมื่อสิ่งนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี ดังนั้นเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอุปมาดั่งดับลงไปหรือเหนือเวทนานั่นเอง จึงเกิดผลทําให้ตัณหาดับไป เป็นปัจจัยให้ อุปาทานดับไป, เพราะอุปาทานดับ....ภพดับ....ชาติคือความเกิดของทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕จึงดับด้วย...ชรา-มรณะจึงดับ...อาสวะกิเลสจึงดับไปด้วย  ทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนจึงไม่เกิดขึ้นนั่นเอง

        พยายามพิจารณาให้เห็นว่าเวทนานั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติ ให้เห็นได้ด้วยใจที่เข้าใจ เพราะถ้าไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในเวทนาแล้ว เมื่อเกิดเวทนาขึ้นเช่น

        สุขเวทนา ก็จักเพลินเพลิน ยึดติด ทะยานอยากต่อสุขเวทนานั้น อันคือภวตัณหาอันก่อเป็นทุกข์ในที่สุด  มิจฉาสมาธิและฌานอันยึดติดสุขก็เช่นเตียวกัน

        ถ้าเป็นทุกขเวทนา ก็จักเกิด ความไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น หรือเกิดอาการผลักไสในจิต ต่อต้าน ครํ่าครวญ  พิรี้พิไรรําพันต่อทุกขเวทนานั้น  อันคือสภาวะของวิภวตัณหา อันยังให้เข้าวงจรทุกข์อยู่รํ่าไป

        ถ้าเป็นอทุกขมสุข ไม่ทุกข์ไม่สุขก็จักคิดว่าไม่เป็นไรเพราะไม่รู้สึกรู้สาอะไร จึงปล่อยปละละเลยแต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆขึ้นอันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา, แต่ไปคิดว่า ถูกต้องแล้ว อันยังให้เกิดความไม่รู้ หรือความเข้าใจผิด อันเป็นอวิชชานุสัยนอนเนื่อง

เวทนา

เวทนา ความรู้สึกรับรู้ ที่เกิดจากการกระทบผัสสะ อันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น  ก็เป็นไปไม่ได้

ตา กระทบกับ รูป  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในรูปที่กระทบนั้น

หู กระทบกับ เสียง  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในเสียงที่กระทบนั้น

ลิ้น กระทบ รส  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในรสที่กระทบนั้น

จมูก กระทบ กลิ่น  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในกลิ่นที่กระทบนั้น

กาย กระทบ การสัมผัส  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในสัมผัสที่กระทบนั้น

ความคิดหรือธรรมารมณ์ กระทบ ใจ  เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือเฉยๆ  ในธรรมารมณ์ที่กระทบนั้น

เวทนาเหล่านี้ล้วนเป็นอาการธรรมชาติ ธรรมดาๆอันถูกต้องและแท้จริง ที่เกิดขึ้นของชีวิต

อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย  มาประชุมปรุงแต่งกันขณะหนึ่ง

สิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัย  สิ่งนั้นไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นคงทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องดับไป

สิ่งใดต้องดับไป  สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ไม่มีตัวไม่มีตนอย่างแท้จริง

จึงควรรู้ด้วยสัมมาปัญญาอันยิ่งว่า  เวทนานั่นก็ไม่ใช่เรา  เราก็ไม่ใช่เวทนานั่น

เวทนานั่นก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเราอย่างแท้จริง

จึงไม่ควรไปอยากด้วยตัณหาในเวทนาความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น.

 

        อนึ่ง บางครั้งอาจจะสับสนระหว่างเวทนาและสังขารในขันธ์ ๕ มักมีการเรียกสับกันไปมาระหว่างเวทนาและสังขาร เพราะเวทนานั้นเป็น"เหตุปัจจัย"หนี่งที่ยังให้เกิดสังขารขันธ์อันเป็น"ผล" เป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน ที่แตกต่างคือในขั้นเวทนาเป็นกระบวนการการรับรู้แต่ในสังขารขันธ์เป็นความจงใจ,เจตนากระทําทางกาย, วาจา,ใจ ต่อเวทนาหรือรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น(เป็นปฏิกริยาตอบสนองต่อเวทนานั่นเอง) บางครั้งจึงอธิบายเป็นภาษาพูดเพื่อสื่อให้เข้าใจได้ลําบากจริงๆ ดังตัวอย่างการเห็นสิ่งของที่ถูกใจเช่น เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ คือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นดังนี้

        ตากระทบรูป ย่อมเกิดวิญญาณรับรู้ขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต จึงครบองค์แห่งการผัสสะ  จึงเกิดสัญญาความจําและรสนิยมเกิดขึ้น  จึงเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้เป็นชนิดชอบใจหรือถูกใจ(สุขเวทนานั่นเอง)   เกิดสัญญาหมายรู้ข้อมูลในภาพที่เห็น   ใจ(มโนวิญญาณ)รับรู้ทุกสิ่งแล้ว   ตัดสินใจ(สัญเจตนา)ให้เกิดสังขารขันธ์ คือคิดอ่านสรุปออกมาว่าสวยหรือหล่อ อันเป็นกระบวนการตามปกติและเป็นธรรมชาติเป็นที่สุด   จะเห็นได้ว่าแยกแยะความชอบใจหรือถูกใจกับความสวยที่จงใจสรุปแล้ว ไม่ออกชัดเจนในตัวอย่างอันนี้  บางคนอาจบอกว่าก็เรื่องเดียวกันนั่นแหละ   ดังนั้นเวลาพิจารณาลองตัวอย่างที่พิจารณาให้เห็นชัดเจน เช่น การกระหายนํ้าในท้ายบทนี้ หรือลองหาอะไรทานพยายามเคี้ยวให้ได้รสชาติอาหารนั้นเต็มที่ รสชาติที่รู้สึกและจําได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ นั่นแหละเวทนาหรือเสวยอารมณ์ ส่วนความคิดว่าอร่อยหรือไม่อร่อยนั้นเป็นมโนสังขารในขันธ์๕แล้ว ลองโยนิโสมนสิการดูว่าตัณหาความอยากเกิดจากความรู้สึกในรสชาติที่รับรู้ หรือเกิดจากความคิดอันเป็นสังขารขันธ์ว่าอร่อย, ไม่อร่อย?

        ท่านจึงให้สังวร สํารวม ระวังก็คือหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างตรงๆต่อ  รูป   เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส และธรรมารมณ์ก็เพื่อป้องกันเวทนา อันยังให้เกิดตัณหาในระยะแรกๆ อันคือการออกบวชโดยมีพระวินัยเป็นสิ่งควบคุมบังคับนั่นเอง ตลอดจนการปลีกวิเวก   เราปุถุชนจึงควรระวังสังวรให้มากกว่าปกติธรรมดาเพราะโอกาสเปิดช่องให้ผัสสะคือสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดยตรงจากกิจที่ต้องกระทําในชีวิตประจําวันโดยไม่มีวินัยใดๆมาควบคุมบังคับนอกจากสติ  และเมื่อกระทบผัสสะกันอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นตามสภาวะธรรมหรือปรมัตถสัจจะ  จึงเป็นปัจจัยให้ดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

        เพื่อการแยกแยะให้เห็นภาพการทํางานเป็นขั้นตอน จึงแสดงสัญญาที่เกิดในขันธ์ ๕ เป็น ๒ ครั้ง ครั้งแรกเกิดก่อนเวทนา,  สัญญาจะอยู่ในลักษณะสัญชาตญาณและการจําข้อมูลและเข้าใจในสิ่งที่มากระทบ เช่นอารมณ์ในรูป,  ครั้งที่ ๒ สัญญาจะอยู่ในลักษณะวิเคราะห์,ประเมินผล,เปรียบเทียบ คิดค้น คิดแก้ไขและสรุป อันสรุปแล้วคือ"หมายรู้"ในสิ่งที่บังเกิดขึ้นนั่นเอง ดังตัวอย่างเช่น เมื่อมีใครมาตีเราแรงๆ

        สัญญาขั้นแรกจักรับรู้เกิดอารมณ์จากสัมผัส ความเจ็บ ความไม่พอใจต่างๆ   เป็นการรับรู้จากสัญชาตญาณและการจําได้ในข้อมูลหรืออารมณ์อันเกิดจากการกระทบ เกิดเป็นเวทนาชนิดทุกขเวทนาทางกายหรืออาจทางใจด้วย แล้วจึงเกิดสัญญาขั้นที่๒ที่มีรายละเอียดเพื่อการหมายรู้เพิ่มขึ้น

        สัญญาครั้งที่ ๒ เกิดการหมายรู้ จักวิเคราะห์ละเอียดขึ้นเช่นเกิดอะไรขึ้น ใครตี ตีทําไม ไปทําอะไรเขาก่อนหรือเปล่า หรือเขาแกล้งเรา แล้วประเมินผลออกมาเช่นเขาแกล้งเรา แล้วหมายรู้นั้นสรุป เป็นสัญญาใหม่ที่เกิดขึ้นณ.ขณะจิตนั้น >>> ใจ(มโนวิญญาณ)ก็มารับรู้สัญญาที่เกิดใหม่นั้น >>> เกิดเป็นสังขารที่จงใจหรือเจตนาทางกาย, วาจา, หรือใจต่างๆ โดยอาศัยสัญเจตนา(ความคิดอ่านของสังขาร)เป็นเครื่องมือของสังขารแสดงความไม่พอใจนั้นออกมาในรูปแบบต่างๆเช่นทางกายก็ลงไม้ลงมือตีตอบโต้, ทางวาจาก็ด่าทอ, ทางใจก็โกรธ ขุ่นเคืองไม่พอใจ หรือคิดต่อว่า คิดตอบโต้,  ถ้าสัญญาในขั้นแรกที่ทําให้เกิดเวทนาแล้ว รู้และเข้าใจเวทนาอย่างถ่องแท้จริงๆ   สัญญาหมายรู้ที่เกิดก็จะหมายรู้ในสิ่งที่ถูกต้องเพราะไม่ถูกครอบงําใดๆ  ดังนั้นสังขารขันธ์ที่เกิดต่อเนื่องก็จักเบาบางลงเช่นกัน นี่คือข้อแตกต่างในขันธ์ ๕ ของปุถุชนและองค์อรหันต์ คือเกิดเหมือนกันเพราะเป็นสภาวะธรรมชาติแต่บางเบานุ่มนวลกว่ากัน  ดังในกรณีหลวงปู่ดูลย์ อตุโลกล่าวว่ามี "โกรธ"หมายถึงท่านมีจริงๆเป็นสังขารขันธ์ธรรมชาติ แต่เบาบางนุ่มนวลดับมอดลงเร็วกว่าปุถุชนทั่วไปมากนัก เพราะเวทนาอันเบาบางซึ่งเกิดเพราะความเข้าใจอันหมดจด  และยังให้สัญญาหมายรู้ไม่มีกิเลสร้อยรัด  จึงไม่ยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนเหมือนปุถุชน  เนื่องจากท่านเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมของเวทนานั้น  แล้วก็ไม่เอา ที่หมายถึงไม่ไปยึดหรือไม่ไปปรุงแต่งหรือการอุเบกขานั่นเอง มันก็ดับไป

        แม้พระพุทธองค์ ตลอดจนพระอรหันต์ทุกๆพระองค์ก็ต้องเกิด, ต้องเสวยเวทนาไม่สามารถเลี่ยงเวทนานี้ได้  แต่ธรรมเหล่าใดที่ทําให้ทุกๆพระองค์ไม่เป็นทุกข์ เสวยแต่ผลของเวทนาทางกายอันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)เท่านั้น ดังพุทธพจน์

                "ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนา(อันเกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจ)กระทบเข้าแล้ว

        ย่อมเศร้าโศก ครํ่าครวญ ฯลฯ. เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่างคือ

        เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ

        "เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซํ้าด้วยลูก

        ศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก

        คือทั้งทางกาย(ดอกที่๑) ทั้งทางใจ(ดอกที่๒) ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น.......

        ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ ทาง คือ ทั้งทางกายและทางใจ"

                "ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ครํ่าครวญ ฯลฯ......

        เธอย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาทางกายอย่างเดียว  ไม่เสวย(ผลของ)เวทนาทางใจ"

        "เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร(เข้ากระทบเป็นธรรมดา)  แล้วยิงซํ้าด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป

        เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษนั้นย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว

        ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น.....ย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาทางกายอย่างเดียว

        ไม่ได้เสวย (ผลของ)เวทนาทางใจ"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน  สัลลัตถสูตร

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘)

        ข้อแนะนําในการพิจารณาพุทธพจน์นี้คือ

        ปุถุชนเมื่อเป็นทุกขเวทนาทางกายนั้น ย่อมเกิดทุกขเวทนาทางใจด้วยควบคู่กันเสมอ เมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือทรมานทางกายใดๆ ใจย่อมวิตกกังวล เครียด หงุดหงิด ทรมาน ไปตามนั้น ทําให้เกิดตัณหาคือ การคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆเพี่อหาทางออกจากเวทนาทางกายนั้น แต่กลับเป็นการก่อเวทนาทางใจขึ้นมาอีก อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..ชาติอันเป็นทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นในที่สุดอีกด้วย

        ปุถุชนเมื่อเป็นทุกขเวทนาทางใจนั้น ย่อมเกิดทุกขเวทนาทางกายด้วย ควบคู่กันเสมอ เมื่อเกิดทุกข์ใจขึ้นมา ย่อมส่งผลมาที่กายเช่นใจสั่น มือไม้สั่น เหงื่อแตก ความดันขึ้น ปวดหัว กาย(ผิวพรรณ)หมองคลํ้าที่เรียกกันว่าไร้ราศี อันเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายสารพัด เช่นไมเกรน โรคกระเพาะ หอบแน่นหน้าอก โรคหัวใจ โรคประสาท(จิตป่วนกาย)...มากเกินคาด...ฯลฯ. ล้วนเกิดจากระบบการทํางานของร่างกายแปรปรวนไม่เป็นสมดุลย์ตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากจิต

        ดังนั้นองค์อรหันต์ มีทุกขเวทนาทางกายแต่ไม่เสวยผลทุกขเวทนาทางใจ คือไม่เกิดเวทนูปาทานขันธ์หรือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน (จึงดุจดังต้องศรเพียงดอกเดียว)

        ดังนั้นองค์อรหันต์ มีทุกขเวทนาทางใจแต่ไม่เสวยทุกขเวทนานั้น หมายถึง เกิดเวทนาใจแต่ไม่เสวยเสพรสในเวทนานั้น กล่าวคือไม่มีตัณหาอุปาทาน ดังนั้นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือทุกข์ใจแท้ๆหรือก็คือทุกข์อุปาทานจึงเกิดไม่ได้  จึงไม่มีความทุกข์ใจเกิดจึงหมายถึงถูกลูกศรอันเจ็บปวดเพียงดอกเดียว  หรือก็คือไม่เสวยผลของทุกขเวทนาทางใจนั่นเอง หรือที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลกล่าวไว้เรื่องความโกรธ หรือในเรื่องเวทนาว่า "มี  แต่ไม่เอา" จะอธิบายได้ดี อันหมายถึงมีสังขารขันธ์อันเป็นความโกรธ อันเนื่องจากเวทนานั่นเอง แต่ไม่ไปปรุงแต่งจนเกิดอุปาทานเวทนา(เวทนูปาทาขันธ์)ให้เกิดอุปาทานทุกข์  หรือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้ไม่เกิดเวทนาใหม่ขึ้น อันยังให้ไม่เกิดตัณหาจากเวทนาใหม่ อันยังให้ไม่เกิดทุกข์เป็นที่สุด

        และยังมีข้อความบางประการที่กล่าวถึงเวทนาต่างๆ ที่องค์อรหันต์ยังคงมีเช่นปุถุชน อันแสดงถึงความเป็นสภาวธรรมชาติ  แต่ท่านเสวยผลเพียงเวทนาทางกายไม่เสวยผลของเวทนาทางใจเพราะขาดกิเลสตัณหามาร้อยรัดให้เกิดอุปาทาน ดังความจากหนังสืออันทรงคุณค่า "พุทธธรรม" ของท่านพระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตตฺโต) หน้า๒๔๘ มีความดังนี้

        "......เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆจากภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น พระอรหันต์ยังคงเสวยเวทนาที่เนื่องจากอารมณ์(สิ่งที่กระทบ)เหล่านั้น ทั้งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ เช่นเดียวกับคนทั่วไป    แต่มีข้อพิเศษตรงที่ท่านเสวยเวทนาอย่างไม่มีกิเลสร้อยรัดไม่ติดเพลินหรือข้องขัดอยู่กับเวทนานั้น  เวทนานั้นไม่เป็นเหตุให้เกิดตัณหาเป็นการเสวยเวทนาชั้นเดียว เรียกสั้นๆว่าเสวยแต่เวทนาทางกาย  ไม่เสวยเวทนาทางจิต ไม่ทําให้เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายภายใน  เรียกว่าเวทนานั้นเป็นของเย็นแล้ว การเสวยเวทนาของท่านเป็นแบบไม่มีอนุสัยตกค้าง ต่างจากปุถุชนเมื่อเสวยสุขก็จะมีราคานุสัยตกค้าง, เสวยทุกข์ก็จะมีปฏิฆานุสัยตกค้าง, เสวยอารมณ์เฉยๆ   ก็มีอวิชชานุสัยตกค้าง เพิ่มความเคยชินและแก่กล้าให้แก่กิเลสเหล่านั้นมากยิ่งๆขึ้น.........ฯลฯ.

        เพลิดเพลิน หรือติดเพลิน หมายถึงนันทิหรือตัณหานั่นเอง

        นี้คือจุดประสงค์ที่ต้องการชี้ให้เห็นเวทนาและขันธ์ทั้ง ๕ เป็นขบวนการธรรมชาติที่ต้องเกิด ต้องมี, ต้องเป็นและต้องดับไปทั้งปุถุชนและองค์อรหันต์ เป็นสภาวธรรมของชีวิตอันจำเป็นยิ่ง(ธรรมชาติ)  ดังนั้นไปห้าม ไปหยุดย่อมไม่ได้ เพื่อที่จักได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อเวทนา กล่าวคือ ไม่ใช่การพยายามไปดับเวทนาชนิดไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้เป็นไป ดังที่นิยมปฏิบัติกันเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา  อันย่อมยังให้เกิดความไม่สมดุลย์ของธรรมชาติ  เพียงแต่เราต้องทํากิจคือหยุดตัณหา คิดนึกปรุงแต่ง หรือความคิดเรื่อยเปื่อย หรือความเพลิดเพลิน(นันทิ-อันทําหน้าที่เป็นตัณหา) ต่อจากเวทนา หรือสังขารขันธ์(ความคิดต่างๆ)ในขันธ์๕ เหตุเพราะความคิดนึกปรุงแต่งหรือคิดนึกเรื่อยเปื่อยหรือความเพลิดเพลิน มักแฝงหรือดึงดูดกิเลสและตัณหา ให้แอบแฝงไหลเลื่อนมากับเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น  ขอเน้นว่าไม่รวมความคิดของสังขารขันธ์อันจําเป็นในการดํารงชีวิตและการงานอันไม่ใช่ความคิดนึกปรุงแต่ง

        หรือดังคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่อง "ทุกข์" ในหนังสือเทสกานุสรณ์ หน้า๓๕ อันมีความดังนี้

        "ทุกข์มันมีอยู่ตลอดเวลา ทุกข์เพราะหิวกระหาย ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะความทะเยอทะยานดิ้นรน อยากได้นั่นอยากได้นี่ ทุกข์เพราะความกังวลเกี่ยวข้องพัวพัน กลุ้มอกกลุ้มใจ ทุกข์ที่เป็นนามธรรม ทุกข์ที่เป็นรูป ก็ทุกข์เพราะหิวกระหาย กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็งทุกอย่างที่มากระทบ เพราะสัมผัสมันมีอยู่ประสาทยังไม่ทันดับยังไม่ทันตาย สิ่งทั้งหลายต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอก จึงว่าใครทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้ มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกันถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็ยังอยู่ตามเดิม ท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้ ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริง"

        จากคําสอนดังกล่าวถ้าท่านโยนิโสมนสิการ จักพบว่าที่หลวงปู่ตั้งใจสั่งสอนนั้นก็คือ

พระอริยเจ้าล้วนมีทุกขเวทนา,สุขเวทนา,อทุกขมสุข  แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีอุปาทานทุกข์

หรือ

เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น(อันหมายถึงอุปาทานทุกข์)

หรือ

ทุกข์ของขันธ์๕หรือทุกข์ประจําชีวิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์

และตามที่หลวงปู่กล่าวไว้นั้น "ใครทิ้งทุกข์(ทั้งทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์)ก็ทิ้งไม่ได้มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น" หมายถึงทุกข์(ทั้งทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์)ทั้งทางกายและใจ อันเกิดในขันธ์๕ อันเนื่องมาจากเวทนาล้วนเป็นสภาวะธรรมชาติ, ทุกข์(ทั้งทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์)ก็ยังอยู่ตามเดิม หมายถึงเหตุที่ทําให้เกิดทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์นั้นยังคงมีอยู่เช่นนั้นเองไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของมันเช่นนั้นแหละ จะเสื่อมจะดับก็ตามสภาวะธรรมของมัน  และท่านกล่าวต่อไปในที่สุดว่า "แต่ว่าทุกข์(ทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์)มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้" อันหมายถึงไม่มีตัณหาอุปาทานอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์จริงๆที่เกิดแก่ใจ อันคือเกิดสภาวะธรรมที่ว่า "เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น"หรือจักกล่าวอีกอย่างได้ว่า "ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งทางใจและกายนั้นมีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์"

        หรือดังที่มีกล่าวยืนยันไว้ใน " ธาตุสูตร " ที่กล่าวถึงนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธ์ คือยังมีชีวิตอยู่ กล่าวคืออยู่ในภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ที่แสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งว่า ยังคงมีเวทนาเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้างเป็นธรรมดา  แต่ล้วนสิ้นตัณหาแล้ว จึงย่อมไม่สามารถดำเนินไปเกิดภพชาติอันแสนเป็นทุกข์หรือทุกข์อุปาทานได้ จึงไม่ดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอันเป็นทุกข์ได้นั่นเอง  เพียงแต่ดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันเป็นธรรมชาติของชีวิต  จะมีเพียงก็เวทนาอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นทุกขเวทนาก็เป็นเพียงทุกข์อย่างหนึ่งตามธรรมแต่ย่อมขาดความเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายดังปุถุชนที่อยู่ภายใต้ตัณหา

        นักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจสภาวะธรรม จึงจักมักพยายามปฏิบัติให้เหนือกว่าสภาวะธรรมหรือกฎแห่งธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทําได้ดุจดั่งพยายามไล่จับเงาหรือพยายามไขว่คว้าดวงดาว  กล่าวคือเข้าใจสภาวะเวทนาผิดๆเนื่องจากความไม่รู้ ดังนั้นเมื่อมีเวทนาใดๆเกิดขึ้นอันเป็นไปตามกฎธรรมชาติแม้แต่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและในอริยเจ้าทุกพระองค์  ก็จะไม่ยอมพยายามดิ้นรนทุรนทุรายเพื่อจะไม่ให้เกิดคือต้องการเป็นสุขที่ราบรื่นอะไรกระทบก็ไม่เกิดทุกขเวทนาทั้งสิ้น

        ปุถุชนโดยทั่วๆไป เมื่อเกิดสุขเวทนา(ชอบใจ-สบายใจ)เกิดขึ้นเราจะคว้าหรืองับไว้ทันทีเป็นปกตินิสัยดุจดั่งสุนัขโดดงับก้อนเนื้อทันทีที่เห็น เป็นตัณหาชนิดอยาก(ภวตัณหา) และสุขเวทนานั้นก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา คงทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างถาวร เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันขณะหนึ่งแล้วต้องดับไปในที่สุด เหมือนดั่งก้อนเนื้อก็ต้องแปรปรวนและหมดไปในที่สุด สุขเวทนาใดๆก็เฉกเช่นกัน และยังเก็บจำไว้เป็นอาสวะกิเลสในรูปปริเทวะ อันยังให้เกิดการครํ่าครวญ อาลัยหาในกาลข้างหน้า จึงเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ในภายหน้าเป็นที่สุด

        เมื่อเกิดทุกขเวทนา(ไม่ชอบใจ-ไม่สบายใจ)จะรีบผลักไสรีบล้างประดุจดั่งโดนสิ่งปฏิกูลเปื้อนหน้าหรือหมาบ้ากัด หารู้ไม่ว่าอาการผลักไสนั้นเป็นตัณหาในสภาพที่ไม่อยาก(วิภวตัณหา)คือไม่อยากให้เกิด ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นอย่างโน้น(อยากอีกสิ่งหนึ่งก็อาจเกิดควบด้วยอันยังให้เกิดเป็นโมหะความหลง) และเมื่อทุกขเวทนามากระทบย่อมต้องมีอาการบ้างก็ไม่ยอมรับรู้เพราะไม่เข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ตามความเป็นจริง อยากแต่จะผลักไส ไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น อันล้วนเป็นวิภวตัณหาทั้งสิ้น ต้องยอมรับและเข้าใจในกฏแห่งธรรม(ชาติ)นี้  ดังอุปมาท่านสตาร์ทรถยนต์เปรียบได้ดั่งท่านเสวยเวทนา รถย่อมมีอาการสั่นสะเทือนขึ้นบ้าง แรงค่อยขึ้นอยู่กับรถดีหรือไม่ดี(เข้าใจธรรมดีหรือไม่ดี)จะไม่ให้สั่นไม่ให้สะเทือนเลยย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าท่านไม่เติมนํ้ามัน(หรือตัณหานั่นเอง)ให้รถ  รถนั้นจะสามารถวิ่งไปถึงจุดหมายหรือเปรียบประดุจความทุกข์(อุปาทานทุกข์)ได้ไหม?  รถนั้นถึงจะแม้เมื่อสตาร์ทจะเกิดอาการสั่นหวั่นไหวบ้างแต่เครื่องย่อมไม่มีวันติดได้คือย่อมไม่สามารถวิ่งไปถึงจุดหมายปลายทางหรือความทุกข์ได้  ขอเน้นเป็นพิเศษตรงตอนสตาร์ทรถนั้นย่อมมีอาการสั่นสะเทือนหวั่นไหวหรือคือเมื่อกระทบย่อมมีอาการเวทนาเป็นธรรมดา อันยังให้เกิดกายสังขารหรือจิตสังขารตามธรรมชาติเช่นกายสั่น ใจสั่น แต่ท่านเคยสตาร์ทรถแช่ได้นานๆไหม? โดยไม่มีนํ้ามัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องดับต้องเลิกไปในที่สุดโดยเร็ว และไม่มีทางที่จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ อันคือไม่สามารถไปถึงอุปาทานทุกข์เพราะขาดตัณหานั่นเอง(อุปมาดั่งรถขาดนํ้ามัน)

        ข้อสังเกตุ เวทนาขันธ์ กับ สังขารขันธ์ มีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยกันเหมือนกฎวิทยาศาสตร์เรื่องแรงกริยาและแรงปฏิกริยา อุปมาดั่งปาลูกบอลใส่กําแพง ปาแรงเท่าใดก็คือเวทนาที่เกิดขึ้น, กระเด้งออกมาแรงเท่าใดขึ้นอยู่กับการปาหรือเวทนานั้น นั่นก็คือสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นแรงเท่านั้น เพราะสังขารขันธ์นั้นเป็นการเจตนาคิดอ่านกระทําต่างๆเพื่อตอบสนองเวทนาอันเป็นปัจจัยนั้น และเวทนาแรงหรือค่อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยสัญญาเช่นกัน,  ดังนั้นจึงควรเข้าใจเวทนาให้ถูกต้องชัดเจนจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนานั้น ว่าสักแต่ขบวนการธรรมชาติ ที่ต้องเกิดต้องมี ไม่ว่าจักเป็นสุขเวทนา, ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข ล้วนไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจึงทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึดเพราะตัณหาและอุปาทาน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันแค่ชั่วขณะ เมื่อเหตุปัจจัยแปรปรวนหรือดับไป ตัวตนนั้นย่อมต้องดับไปตามเหตุปัจจัยนั้นเช่นกัน, จึงไร้ค่าให้ไปยึดมั่นถือมั่นทั้งสุขเวทนา,ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเหมือนกันทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจถูกต้องเวทนาก็เบาบางลง สังขารขันธ์อันเกิดจากปัจจัยอันคือเวทนาก็จักเบาบางลง ดังเช่น โลภ โกรธ หลง ก็เบาบางลงไปด้วยเป็นธรรมดา ดังนั้นเมื่อเกิดทุกขเวทนาชนิดไม่สบาย,ไม่ชอบอย่างรุนแรง ความโกรธอันเป็นมโนสังขารขันธ์ที่ตอบสนองก็ย่อมรุนแรงด้วย

        ในกรณีเวทนาเป็นปัจจัยให้มีตัณหา(ปฏิจจ.)ก็เช่นกัน ยิ่งเสวยเสพรสอารมณ์รุนแรงเท่าใดตัณหาก็จักรุนแรงเท่านั้นเป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน.

        เวทนาที่หมดจด ไม่เป็นอุปาทานเวทนาอันถูกครอบงําไว้ด้วยอุปาทานความยึดในพึงพอใจของตัวตนเป็นหลัก ย่อมยังผลให้สัญญาหมายรู้ที่เกิดนั้นเป็นสัญญาหมายรู้ที่หมดจดด้วย

คิด ใจ anired02_next.gif วิญญาณ anired02_next.gif เวทนาที่หมดจด anired02_next.gif สัญญาที่หมดจด anired02_next.gif สังขารที่หมดจด

        ในพระอริยะเจ้านั้น ทั้งเวทนาและสัญญาของท่านอยู่ในรูปที่หมดจด คือไม่มีสัญญาประเภทเจือกิเลสดังปุถุชนอันคืออาสวะกิเลสที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอวิชชานั่นเอง อันจักดับได้ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติด้วยความเพียรจนบังเกิดความรู้ความเข้าใจจนเกิดญาณขั้นสุดท้ายหรือภูมิปัญญาขั้นสูงสุดขึ้นในการดับทุกข์คืออาสวักขยญาณ

ขันธ์ ๕

พอจะจําแนกขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ๔ แบบ  เพื่อให้เข้าใจกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ ๕

        ๑. ขันธ์ ๕ ที่เป็นกระบวนการปกติธรรมชาติของชีวิต เกิดทุกขณะในชีวิต เช่นคิด พูด กระทําทางกายต่างๆ อันเป็นวิสัยของผู้มีชีวิต  เป็นขันธ์ ๕ ธรรมชาติหรือตามสภาวธรรม  ไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาความอยากหรือไม่อยาก จึงไม่มีเหตุปัจจัยให้อุปาทานเกิด ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจากอุปาทานขันธ์ทั้ง๕  เพียงเสวยเวทนาเป็นไปตามธรรม กล่าวคือ เกิดเวทนาอย่างไรจากการผัสสะก็รู้สึกอย่างนั้นตามความเป็นจริง

        ขันธ์๕ชนิดนี้เกิดทั้งในองค์อรหันต์และปุถุชน

ขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติ (แบบย่อ)  ลองไล่ลําดับกระบวนจิตตามไปด้วยว่าเป็นดังนี้หรือไม่

ตา รูป anired02_next.gif วิญญาณ ผัสส anired02_next.gif เวทนา  anired02_next.gif สัญญา anired02_next.gif  สังขารขันธ์ทางกาย,วาจา,ใจ

หรือขยายให้เห็นการทํางานของขันธ์ทั้ง๕ให้ชัดเจนขึ้น   จะเขียนได้ดังนี้

ตา รูป anired02_next.gif จักขุวิญญาณ ผัสส anired02_next.gif สัญญา(จํา) anired02_next.gif เวทนา anired02_next.gif สัญญา(หมายรู้) anired02_next.gif มโนสังขาร anired02_next.gif สังขารขันธ์

        ๒.ขันธ์๕ที่ขันธ์ต่างๆที่เกิดในตอนแรกเป็นปกติจนถึงเวทนา  แต่ขันธ์หลังๆที่เกิดต่อจากเวทนาเช่น สัญญาหมายรู้  มโนสังขาร และสังขารขันธ์ ได้กลับกลายเป็นอุปาทานขันธ์อันเนื่องมาจากการที่เวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัสนั้นก่อให้เกิดตัณหา หรือมีตัณหากระทําต่อเวทนานั้น  ดังนั้นขันธ์๕ที่ดำเนินยังไม่จบสิ้นกระบวนการ เพียงดำเนินมาถึงเวทนา จึงทำให้ขันธ์ต่างๆที่เกิดต่อจากเวทนานั้นแปรปรวนถูกอุปาทานเข้าครอบงำ จนล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ต่างๆอันเป็นทุกข์ เป็นการดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  ทําให้ผลอันคือสังขารขันธ์-การกระทําทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก ที่เกิดขึ้นนั้นเป็น"อุปาทานสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์)" หรือสังขารขันธ์ที่ถูกครอบงําหรือประกอบแล้วด้วยอุปาทานอันเป็นทุกข์  หรือผู้เขียนเรียกว่าขันธ์ ๕ ชนิดหัวมงกุฎ แต่ท้ายเป็นมังกร  (รายละเอียดอยู่ใน การปฏิบัติในชีวิตประจําวัน)

ดังกระบวนธรรมที่เกิดดังนี้

        ขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติแบบที่๑  (แบบย่อ)

รูป ตา anired02_next.gif วิญญาณ ผัสสanired02_next.gif เวทนา  anired02_next.gif สัญญา anired02_next.gif  สังขารขันธ์  ทางกาย,วาจา,ใจ

        ขันธ์๕ อันมีตัณหา  อันก่อให้เกิดทุกข์ จะทําให้กระบวนการขันธ์ ๕ แปรปรวนไปเป็นทุกข์ แบบที่๒

รูป ตา anired02_next.gif วิญญาณ ผัสสanired02_next.gif เวทนา + ตัณหา anired02_next.gif อุปาทาน anired02_next.gif ภพ anired02_next.gif ชาติเกิดอุปาทานสัญญา+อุปาทานสังขารอันเป็นทุกข์

        จะเห็นว่าตอนต้นกระบวนธรรมก็เป็นหัวมงกุฏที่หมายถึงขันธ์๕ โดยธรรมชาติ แต่เมื่อมีตัณหาเกิดขึ้นต่อเวทนานั้นอันหมายถึงว่าเราเริ่มกระบวนการของการเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ชาติอันหมายถึงการเริ่มเกิดของทุกข์อันทำหน้าที่เป็นอุปาทานสัญญาเป็นต้นไป คือเกิดสัญญาหมายรู้ ที่คิดที่รู้แต่เอนเอียงแทรกแซงด้วยอํานาจของกิเลสหรือความพึงพอใจของตัวตน(อุปาทาน)ที่แอบแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว

        ๓. ขันธ์๕ที่เคยเกิดๆดับๆมาแล้ว และเก็บจำไว้ในรูป "อาสวะกิเลส" อันยังให้เกิดใหม่ด้วยอวิชชา anired02_next.gif สังขาร anired02_next.gif.. ฯลฯ...อันดําเนินต่อไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

        สังขาร-ความคิดที่สั่งสมที่เกิดขึ้นจากอวิชชาเป็นเหตุปัจจัย จึงแฝงด้วยตัณหาอุปาทานที่นอนเนื่องมาแต่ต้นในสภาพยังไม่ทํางานตามหน้าที่ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากตัณหาอีกก็ทําให้เกิดเป็นทุกข์อีกครั้ง  กล่าวคือเกิดวงจรปฏิจจสมุปบาทอีกครั้งหนึ่ง  จึงเป็นอุปาทานขันธ์ในตอนท้าย(หัวมงกุฎ ท้ายมังกร) ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นดังเช่นแบบที่๒  เพียงแต่เกิดได้ง่ายกว่าแบบข้อ๒ มีสภาพคล้ายฟืนเคยไฟ จึงง่ายต่อการติดไฟ  จึงทำให้เป็นทุกข์ง่ายกว่าแบบที่๒   เพื่อแจงให้เห็นทุกข์โทษภัยของอาสวะกิเลสให้ชัดเจนจึงแยกมาอีกข้อหนึ่งเท่านั้น

        ข้อสังเกตุ ถึงแม้จักเป็นสุขหรือทุกข์เก่า แต่ต้องมีตัณหาเกิดขึ้นใหม่ในเรื่องนั้นจึงจักเกิดเป็นทุกข์อีกครั้งได้ ลองสังเกตุดูจิตตนเองในบางครั้งคิดในเรื่องเดียวกัน แต่บางครั้งเป็นทุกข์ บางครั้งไม่เป็นทุกข์ ความแตกต่างอยู่ที่ความทะยานอยาก หรือความไม่อยากในขณะจิตนั้นหรือปัจจุบันจิตนั้น, หรืออาจเพราะความมีสติรู้เท่าทันบ้าง ไม่เท่าทันบ้าง.

        ๔. อุปาทานขันธ์๕ เป็นอุปาทานขันธ์ล้วนตั้งแต่รูปหรือตั้งแต่ต้นขบวน เป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ขันธ์คือทั้งขบวนที่เกิดต่อจากข้อ๒ และข้อ๓, ถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาทก็คืออุปาทานขันธ์๕ที่เกิดใน"ชรา"นั่นเอง จักเกิดกี่ร้อยกี่พันครั้ง สั้นหรือยาวอยู่ที่ความรุนแรงของอุปาทาน, สติ กําลังปัญญาเรานั่นเอง ตลอดจนการเบี่ยงเบน บดบังด้วยเหตุอื่นๆ จนกว่าจะดับไปเป็นอาสวะกิเลส  (คลิกเพื่อดูภาพประกอบ ขันธ์๕ แบบที่๔ คือวงจรอันเล็กสีแดงที่กำลังเคลื่อนไหวอันเหมือนดังกระบวนธรรมข้างล่างต่อไปนี้ แต่แสดงให้เห็นการทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร)

อุปาทานรูป ตา anired02_next.gif อุปาทานวิญญาณ anired02_next.gif อุปาทานเวทนา anired02_next.gif อุปาทานสัญญา anired02_next.gif อุปาทานสังขาร

หรือ

รูปูปาทานขันธ์ ตา anired02_next.gif วิญญูปาทานขันธ์ anired02_next.gif เวทนูปาทานขันธ์ anired02_next.gif สัญญูปาทานขันธ์anired02_next.gif สังขารูปาทานขันธ์

แล้วทำงานอย่างต่อเนื่องวนเวียนเป็นวงจรอัยเผาลยเร่าร้อนดังนี้

       anired06_next.gif    anired06_next.gif   anired06_next.gif ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน anired06_next.gif ภพ anired06_next.gif ชาติ anired06_next.gif...........ธรรมารมณ์ ใจ(รูปูปาทานขันธ์) anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์ anired06_next.gifเวทนูปาทานขันธ์  

                                                                                           อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์                      

          ดำเนินไปตามวงจรใหม่  anired06_next.gif อาสวะกิเลส anired06_next.gif มรณะ anired06_next.gif......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์            สัญญูปาทานขันธ์      

ภาพขยายในชรา   ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว

        ไม่ว่าจักเป็นขันธ์๕แบบใด ความสําคัญคืออย่าให้มีตัณหาอันมักมาในรูปของขาดสติ(ไม่รู้เท่าทัน) หรือคิดนึกปรุงแต่งหรือไหลเลื่อนไปกับความคิดหรือความคิดเรื่อยเปื่อย(มโนกรรม) อันทําให้เกิดเวทนาขึ้นอีก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาเข้าไปร่วมกับเวทนานั้น..เพราะจักยังให้เกิดอุปาทาน..อันก่อภพ..ก่อชาติอันเป็นทุกข์เป็นอุปาทานขันธ์๕ ในที่สุด

        เหตุที่จําแนกให้เห็นการเกิดขันธ์แบบต่างๆนั้น เพราะบางคนถนัดในการพิจารณาขันธ์๕ แต่วางลําดับการทํางานสัมพันธ์กันไม่ถูก ดังนั้นบางครั้งมีความสับสนว่าทําไมขันธ์ ๕ ธรรมดาจึงรู้สึกเป็นทุกข์หรือตัดไม่ขาด? หยุดไม่ได้ ทั้งที่รู้ทั้งที่เห็น ผู้เขียนเองเป็นเช่นนี้ เพราะจริงๆแล้วมันไม่ใช่ขันธ์๕ แต่เป็นอุปาทานขันธ์๕ในชรา-มรณะ อันแข็งแกร่ง อันถูกครอบงําด้วยอุปาทานแล้ว แต่ไม่รู้หรือไม่รู้เท่าทันแต่แรก เพราะยังไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทจึงมองไม่เห็นตัณหา,อุปาทาน,ภพที่ได้เกิดขึ้นแล้ว  และจักเกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกทุกครั้งเมื่อมีตัณหา ทําให้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนั้นๆ คือยังผลให้เกิดทุกข์อุปาทานขันธ์๕อีกอันเนื่องมาจากอดีตเมื่อมีตัณหา  ถ้าไม่มีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปใหม่ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จักเป็นอดีตทุกข์เก่าๆอันเคยเกิดมาแล้ว จริงๆแล้วทุกข์ของเราๆก็เป็นอดีตทุกข์เสียส่วนใหญ่   อาสวะกิเลสและสังขารในปฏิจจสมุปบาทก็คือล้วนเป็นอดีตทุกข์และสุข(สุขคือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง)ที่ได้สั่งสม อบรม บ่มเก็บไว้ทั้งสิ้น  ดังพระพุทธพจน์

โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่ "กามคุณเป็นอดีต" นั้น

        ขันธ์๕คือตัวตนทั้งฝ่ายกายและจิต อันประกอบด้วยรูปหรือกาย และจิตอันมีเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นเรื่องที่พุทธองค์ทรงจําแนกตัวตนที่เรายึดมั่น ถือมั่น หลงใหล และพึงพอใจให้เห็นว่าเป็นเพียงเกิดแต่เหตุปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นดุจดั่งไฟอันกําเนิดจากแสงแดด แว่นขยาย เชื้อไฟ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ไม่ได้มีความเป็นตัวตนที่เป็นแก่นแท้ๆคงทนอย่างถาวร,  เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจกระบวนการทํางานอย่างละเอียดเพราะเป็นปัจจัยให้เข้าใจในธรรมเรื่องอื่นๆ เช่น ความเป็นเหตุเป็นปัจจัย และเข้าใจกระบวนธรรมต่างๆของจิตเช่น เวทนาว่าเป็นสักแต่ว่าสภาวะธรรม(ชาติ)ธรรมดาๆเป็นทุกข์ธรรมชาติ  จุดประสงค์ก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาเมื่อรู้ความจริง จึงไม่ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(อุปาทาน)ว่าเป็นของตัวของตน หรือตัวกูของกูในเวทนา หรือในขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

        ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่แยกทุกขเวทนา(ทุกข์ไม่จริง เป็นทุกข์ธรรมชาติ เป็นแค่การเสวยหรือเสพรสอารมณ์ในสิ่งที่ถูกรู้หรือกระทบสัมผัส อันเป็นสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของการดำเนินชีวิตที่ต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เอง  แล้วแค่รู้สึกรับรู้ชนิดไม่ชอบไม่ถูกใจ  แต่ไม่ใช่ความทุกข์จริงๆที่พระพุทธองค์ทรงหมายมั่นให้เราดับกัน) กับอุปาทานทุกข์(ความทุกข์จริงๆอันประกอบด้วยอุปาทานเกิดแก่ใจ)ไม่ได้  จึงเกิดปัญหาไม่ก้าวหน้า ไม่เข้าใจในธรรม(ธรรมชาติ),  ในการปฏิบัติบางครั้งจึงมัวสาระวนอยู่กับเวทนาหรือการดับให้สูญของทุกขเวทนาหรือทุกข์เทียม ทุกข์จึงไม่ดับ,  เพราะเวทนาเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่แม้แต่พระพุทธองค์และพระอรหันต์เจ้าทุกรูปก็ดับไม่ได้เช่นกัน(มีพุทธพจน์ประกอบในตอนข้างหน้า) ไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆที่เกิดจากขันธ์ ๕ อันมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงทําให้เกิดอุปาทานมาร่วมด้วย,  ขณะอ่านขันธ์๕นี้ ขอให้พิจารณาเปรียบเทียบด้วยความละเอียดและแยบคาย และเปรียบเทียบไปกับจิตของท่านจริงๆเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะเราจักรู้และเข้าใจได้ด้วยปัญญาอันเกิดจากการพิจารณาเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถไปไล่ทันจิตที่เกิดขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแลบได้ทัน นอกจากเกิดปัญญานํา จึงสามารถรู้เห็นได้(สัมมาญาณ) 

 

พุทธพจน์

      [๘๒๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป  เกิดจักษุวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ(การกระทบสัมผัส),  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง  

    เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่  

    อันทุกขเวทนาถูก ต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่  

    อันอทุกขมสุขเวทนาถูก ต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่  

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ  

    ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,    ธรรมารมณ์-ใจ      (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

อันจักได้มรรคปฏิบัติ ตามแนวทางขันธ์๕ ดังนี้

เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น

ไม่เพลิดเพลิน ไม่ติดเพลิน

ไม่คิดนึกปรุงแต่งหรือพูดถึง

ไม่ติดใจ(ความสุขอันเป็นแค่สุขเวทนานั้น)

อันมักจะยังให้เเกิดความอยาก หรือภวตัณหา

เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น

ไม่ร่วมไปปรุงแต่งความเศร้าโศรก

ไม่คิดนึกปรุงแต่งว่าลําบาก,ว่าไม่ชอบ

ไม่รํ่าไห้,ไม่ครํ่าครวญ

ไม่หลง(โมหะ)

อันมักจะยังให้เเกิดความไม่อยากหรือผลักไส หรือวิภวตัณหา

หรือเกิดโมหะความหลง  อันมักมีทั้งความอยากและความไม่อยากในรายละเอียดต่างๆแต่ในเรื่องๆเดียวกัน

เป็นความหลงที่แม้กระทั่งตัวตนเอง ยังไม่รู้ตามความเป็นจริงอย่างแน่ชัดว่า  ตัวตนเองต้องการสิ่งใดๆแน่ๆ

เมื่อมีอทุกขมสุขหรือเฉยๆเกิดขึ้น

มีสติรู้ว่า เกิดขึ้น ดับไป

คุณ โทษ

และการสลัดออกเพราะรู้ตามความเป็นจริงสภาวะธรรม

เหตุเพราะที่อทุกขมสุข ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงมักไม่รู้สึกเพราะจับความรู้สึกรับรู้ไม่ได้ชัดเจน

จึงมักปล่อยกายและใจ ไม่สังวรระวัง ไปปรุงแต่งต่างๆนาๆ จนเกิดเวทนา

อันเป็นเหตุให้เกิดตัณหา,  หรือคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดทุกข์ในที่สุดนั่นเอง

อันมักจะยังให้เกิดได้ทั้งความอยากและความไม่อยาก อันใดก็ได้ตามคิดนึกปรุงแต่งนั้นๆ

 และเราปุถุชนมักประพฤติปฏิบัติตรงข้ามกับคําสอนของท่าน

เมื่อมีสุขเวทนาก็ติดเพลิน อยากยึดไว้

เมื่อมีทุกขเวทนาก็ครํ่าครวญ อาลัย มีโมหะ อยากผลักไส

มีอทุกขมสุข ก็ปล่อยกายปล่อยใจ ไม่รู้ตามความเป็นจริง ไปปรุงแต่งต่างๆนาๆ

ข้อคิด

ข้อคิดในตอนท้ายบทปฏิจจสมุปบาท(๒) ได้กล่าวถึงเรื่องตัณหาที่เกิดเข้ากระทําต่อเวทนา หรือเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหาในเรื่องกระหายนํ้า ซึ่งจะขยายความให้เห็นชัดเจนขึ้นอีกในรายละเอียดโดยอาศัยขบวนการขันธ์๕ มาอธิบาย

        กายหรือใจกระหายนํ้าเป็นผลให้เกิดทุกขเวทนา เกิดสังขารขันธ์ทางกายขึ้นคือ คิดอ่านที่จะไปกินนํ้า การคิดกินนํ้า การลุกขึ้นไปกินนํ้า โดยประกอบด้วยอิริยาบถต่างๆเช่นเดินไปหานํ้ากิน หาแก้ว เทนํ้า ยกแก้วนํ้า ดื่มนํ้า ฯลฯ. ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทั้งสิ้น อันเป็นความคิดอ่านเจตนากระทําทางกายสังขารต่อทุกขเวทนา อันเป็นผลจากเวทนาของความกระหายนํ้า แต่ถ้ามีความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเช่นถ้าเป็นนํ้าส้มเย็นๆหรือนํ้ามะนาวเย็นเจี๊ยบแก้วโตๆคงจะเย็นชื่นใจดีแน่ ความคิดนึกปรุงแต่งอันนี้แหละที่ก่อให้เกิดเวทนาขึ้นอีกเวทนาหนึ่งอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหามีความอยากเกิดขึ้น  ตัณหาที่เกิดนี้อาจจะเกิดในขณะที่เกิดเวทนาของความคิดแรก หรือเกิดในช่วงสังขารขันธ์อันเป็นความคิดนึกปรุงแต่งแล้วตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดภายหลังก็ได้ สังเกตุขบวนการให้ดีจะเห็นว่า กระหายนํ้าแล้วหานํ้าดื่มเป็นขบวนการขันธ์๕ปกติ แต่มีตัณหาความอยากมากระทําต่อเวทนาก่อน  ไม่ได้กระทําต่อสังขารขันธ์การไปกินนํ้าแต่อย่างใด ดังขบวนขันธ์๕นี้

กระหายนํ้า + ใจ + วิญญาณรับรู้ >>> สัญญาจําได้กระหายนํ้าเป็นเยี่ยงไร, ต้องทําอะไรดับความกระหาย >>> เกิดทุกขเวทนาไม่สบาย,กระหายนํ้า จากนี้ไปตัณหาเกิดแทรกได้  >>>  สัญญาหมายรู้เกิดการรวบรวมข้อมูลนํ้าดื่มอยู่ที่ไหน แก้ววางไว้ตรงไหน ฯลฯ. >>> มโนวิญญาณคือใจรับรู้ข้อมูลครบแล้วตัดสินใจ >>> เกิดสังขารกายหรือใจ หรือวาจา แล้วกระทําตามเจตนานั้นๆ(สัญเจตนา)อันเป็นขบวนการของสังขารขันธ์ ดังเช่นเกิดสัญเจตนาทางกายคือคิดอ่านเจตนาที่จะกระทําทางกาย(กายทวาร)โดยการกระทําลงไป(กายกรรม)โดยเดินไปหานํ้ากิน หาแก้ว เทนํ้า ยกแก้วนํ้า ดื่มนํ้า ล้วนแต่เป็นขบวนการย่อยๆของสังขารขันธ์ทั้งสิ้น

        เมื่อเกิดเวทนาคือกระหายนํ้าแล้ว ตัณหาจักเกิดจากเวทนาหรือเริ่มกระทําต่อเวทนาเป็นต้นไปและแทรกเข้ากระทําขณะไหนก็ได้ทั้งสิ้น แม้แต่เมื่อการดื่มนํ้าแก้กระหายเสร็จ(สังขารขันธ์แรกได้ดับหรือจบไปเรียบร้อยแล้ว) เพราะการที่เกิดความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นขันธ์๕อันใหม่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดเวทนาขึ้นอีก อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาใหม่ขึ้น,  ดังนั้นจากความรู้ความเข้าใจในขันธ์๕ และปฏิจจสมุปบาท จักเห็นได้ว่าตั้งแต่ เวทนาซึ่งเป็นมูลเหตุปัจจัยสําคัญที่สุดเป็นต้นไปจนถึงผลคือสังขารขันธ์อันคือความคิด การกระทํา วาจา  ล้วนอาจเกิดตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดตามมาได้ทั้งนั้น

        ดังนั้นจักเห็นได้ว่าเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเล็งเห็นอย่างกระจ่างแจ้งทุกขั้นตอน และได้นํามาสั่งสอนสรรพสัตว์ หลายท่านสงสัยวงจรปฏิจจสมุปบาท เช่นที่ถ้ามีสติที่กองธรรมเวทนาอันเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา แล้วเกิดแค่เวทนาเท่านั้นหรือ?  เพราะบางท่านจักฉงนว่ากระบวนการธรรมชาติแล้วไหงหยุดดื้อๆ ไหนบอกว่าต้องเกิดต้องมีอย่างสมดุลย์ ทําไมไม่มีสังขารขันธ์เกิดขึ้น?  ถ้าเข้าใจและมีสติที่เวทนาได้วงจรจะหยุดณ.ที่เวทนานั้น, เวทนานั้นก็แปรเป็นเวทนาตามธรรมชาติหรือเวทนาไม่มีอามิส(กิเลส) แล้วเกิดสัญญาหมายรู้ ...สังขารขันธ์ขึ้น แล้วเป็นอันจบแค่นั้นเอง คือเกิดตามปกติของขันธ์๕ครบกระบวน,   ตัณหาไม่ได้กระทําต่อสังขารขันธ์หรือ ? (กระทําต่อเวทนาก่อน ตามแสดงในปฏิจจ. แล้วอาจจะกระทําต่อสังขารขันธ์ อันเปลี่ยนรูปหรือหน้าที่มาเป็นธรรมารมณ์หรือรูปชนิดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้ต้องเกิดเวทนาใหม่ขึ้นอีกเช่นกัน จึงล้วนเนื่องมาจากเวทนาทั้งสิ้น  ดูบทวงจรให้เข้าใจแล้วจักตอบปัญหานี้ได้) ทําให้บางคนเกิดวิจิกิจฉาข้อสงสัยในธรรมนั้นอยู่ลึกๆ ไม่เห็นเป็นไปตามที่เข้าใจเอาเสียเลย ทําให้หยุดความก้าวหน้าในการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว

        อีกข้อที่เรามักจะสงสัยในระหว่างขันธ์๕และปฏิจจสมุปบาทในเรื่อง มีสัญญาเป็นตัวชี้ตัวนําให้"เวทนา"ในขันธ์๕ ทําไมในปฏิจจสมุปบาทจึงไม่มี ? เหตุเพราะในปฏิจจสมุปบาทนั้นสัญญานั้นอยู่ในรูปของอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําที่มีกิเลสนอนเนื่องอยู่อันเป็นปัจจัยจึงเกิดอวิชชา ซึ่งแฝงตัวอยู่ในทุกๆกองธรรมอยู่แล้วการที่ถ้าเพิ่มสัญญาเข้าไปก็จักเป็นการซํ้าซ้อน

        เวทนาหรือการเสวยอารมณ์เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงมาประชุมกัน จึงยิ่งไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตา แล้วก็ดับไปตามเหตุปัจจัยอันแปรปรวนนั้น

        หน้าที่อันพึงกระทําต่อเวทนาคือรู้ตามความเป็นจริงในสภาวะนั้นๆแล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นสักแต่ว่าเวทนาอารมณ์ อันเป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดๆดับๆ ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหาและอุปาทาน เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมรวมกันชั่วขณะ และอุเบกขามีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา

        จิตเห็นจิต(จิตตานุปัสสนา) หมายถึง สติเห็นจิตสังขารเช่นโลภะ โทสะ โมหะ ความคิด หดหู่ ฟุ้งซ่าน......ฯลฯ (สติจัดเป็นจิต จัดอยู่ในเจตสิก๕๒ซึ่งคืออาการของจิตต่างๆที่ท่านจําแนกออกเป็น ๕๒ ชนิด และ ๕๐ ชนิดนอกจากสัญญาและเวทนาแล้ว ก็ล้วนจัดเป็นจิตสังขารในขันธ์๕ด้วยเช่นโลภะ โทสะ โมหะ สติ ตลอดจนปัญญา เพราะสังขารขันธ์มีการริเริ่มจงใจขึ้น ต่างกับเวทนาที่เป็นเพียงขบวนการรับรู้

        เห็นจิตในจิต ก็ความหมายเดียวกันหมายถึง เห็นจิตสังขาร(ในขันธ์๕)โดยสติ(จิต), หรือมีสติเห็นมโนสังขาร(หรือจิตสังขาร)ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง หรือพิจารณาจากคําสอนในสติปัฏฐาน๔ในเรื่องจิตที่มีใจความให้มีสติ(จิต)เห็น โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. อันล้วนเป็นจิตสังขารที่เกิดขึ้น แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นอันคืออุปาทาน หรือการไม่มีตัณหาปรุงแต่งเพื่อตัดทอนอุปาทานไม่ให้เกิดนั่นเอง  และอุเบกขามีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา..ตัณหา..อุปาทาน.

 

ข้อคิดแนวปฏิบัติในขันธ์ ๕

เมื่อเกิดสุขเวทนา ไม่ยินดี ด้วยอาการติดเพลิน หรือบ่นถึง คือไม่ยึดมั่น โดยการอุเบกขา

เมื่อเกิดทุกขเวทนา ไม่ยินร้าย ด้วยอาการพิรี้พิไร รำพัน โอดครวญ คือไม่ยึดมั่น โดยการอุเบกขา

เมื่อเกิดอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา รู้เท่าทัน แล้วไม่ปรุงแต่งต่อไป คือไม่ยึดมั่น โดยการอุเบกขา

 _________

หยุดคิดนึกปรุงแต่ง

      หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก  ด้วยเหตุเพราะตัณหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารขันธ์แรกแต่ฝ่ายเดียว, แต่ตัณหา ที่เกิดนั้น อาจเกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)อันเป็นขันธ์๕ชนิดหนึ่งเช่นกันที่เกิดขึ้นตามหลัง(วนเวียน)มาเรื่อยๆก็ได้  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปเสวยเวทนา,ไปสนองเวทนา,ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง.

 _________

         ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฎอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค

ธรรมเทศนาเรื่อง โรค  หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

 

 พระอริยเจ้าล้วนมีทุกขเวทนา,สุขเวทนา,อทุกขมสุข  แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีอุปาทานทุกข์

หรือก็คือ

ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์ ๕ ทั้งใจและกาย(เวทนา)นั้น มีเป็นปกติอันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ

แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์

 _________

ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่"อัปรีย์"

ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่อัปรีย์ คือไม่น่ารัก

ล้วนแต่ทําให้วิ่งแจ้นไปในความวนเวียน

ด้วยอํานาจการผลักดันของความชั่วและความดีนั้น

มาแสวงหา และอยู่กับความสงบที่ไม่ชั่วไม่ดีกันดีกว่า

ไม่ต้องวิ่งวุ่นวาย ทําหน้าที่เพื่อหน้าที่

แล้วอยู่ด้วยความสงบเย็น

พุทธทาสภิกขุ

 _________

จิตส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง

มีผลให้เกิดทุกข์ขึ้นดังนี้

คิดนึกปรุงแต่งแว๊บขึ้น ๑ ครั้ง,  คือการเกิดของขันธ์ ๕ ขึ้น ๑ ครั้ง

เกิดขันธ์ ๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้ง

ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน

เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน

ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น

ดังนั้นจงมีแต่คิดนึกของขันธ์ ๕,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง(อุทธัจจะ).

พนมพร

 ธรรมารมณ์  +  ใจ  +  มโนวิญญูาณขันธ์   anired06_next.gif   เวทนาขันธ์

มโนกรรม                    ขันธ์ทั้ง๕                                

สังขารขันธ์ มโนกรรม คิดนึก                    สัญญาขันธ์

วงจรแสดงขันธ์ทั้ง๕ ที่เกิดการคิดนึกปรุงแต่งจนเป็นวงจร

ธรรมารมณ์ + ใจ(รูปูปาทานขันธ์) anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์  anired06_next.gif เวทนูปาทานขันธ์

มโนกรรม                            อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕                                    

สังขารูปาทานขันธ์ มโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์                     สัญญูปาทานขันธ์

วงจรอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่ล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทาน

 

 กลับหน้าเดิม