ปฏิจleftาท

ย้อนกลับ

๑๑. ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา-มรณะ และอาสวะกิเลส

คลิกขวาเมนู

        ชาติ อันคือ สังขารูปาทานขันธ์ คือสังขารขันธ์ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานอันแรงกล้าแล้ว จึงเป็นสังขารที่ประกอบด้วยกิเลส ดังนั้นความรู้สึกหรืออาการของจิตต่างๆที่เกิดขึ้นจึงล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของกิเลสในอุปาทาน จึงทำให้เป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยความยึดมั่น และต่อจากนี้ไปขันธ์อื่นๆที่เกิดเนื่องสัมพันธ์กันต่อไปจึงล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันถูกครอบงำด้วยอุปาทานแล้วทั้งสิ้น   ซึ่งเมื่อเกิดมีการคิดนึกปรุงแต่งดำเนินต่อไปในองค์ธรรมชรา สังขารูปาทานขันธ์นี้จากชาติ ก็ย่อมเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็น รูปคือที่ถูกรู้ หรือธรรมารมณ์ที่ถูกรู้ อีกนั่นเอง  แต่ใจที่ไปทำหน้าที่รับรู้ในธรรมารมณ์นี้ถูกครอบงำด้วยอุปาทานแล้ว เพราะการเกิดของชาติ  จึงทำหน้าที่เป็นรูปูปาทานขันธ์ในองค์ธรรมชรา แล้วดำเนินไปตามกระบวนธรรมของจิตหรือขันธ์ ๕ แต่ขันธ์ทั้งหลายในชรานั้นจึงย่อมถูกครอบงำด้วยอุปาทานล้วนสิ้น  จึงเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นวงจรหมุนเวียนเร่าร้อน ยาวนาน

รูป ตา วิญญาณ ผัสสะเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ การเกิดของทุกข์ อันคืออุปาทานสังขารขันธ์หรือสังขารูปาทานขันธ์

จึงทําให้การกระทําใดๆที่เกิดสืบเนื่องต่อไปทั้งทางกาย วาจา ใจ  ล้วนเป็นไปตามอิทธิพลของภพหรืออุปาทาน  กล่าวคือ เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นใหม่และดำเนินต่อไปอีกอย่างต่อเนื่องและแปรปรวน อย่างวนเวียน เป็นวงจรอยู่ในชรา ที่หมายถึง ความแปรปรวน ความถดถอย,  ชรา อันเป็นองค์ธรรมที่กำลังเสพเสวยความทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์  อย่างเต็มรูปแบบ อันเร่าร้อนเผาลน และมักเกิดขึ้นยาวนานเพราะมีการฟุ้งซ่านวนเวียนเข้าไปปรุงแต่งอยู่เนืองๆหรือตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว

       กล่าวคือ ความคิดนึกต่างๆโดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่งหรือคิดฟุ้งซ่าน อันล้วนเป็นขันธ์ ๕ ที่จะเกิดต่อสืบเนื่องต่อไปอีกอันเป็นปกติวิสัยของปุถุชนนั้น ทุกๆความคิดเหล่านั้นจึงล้วนถูกครอบงํากลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ด้วยทั้งสิ้นโดยไม่รู้ตัว  ดังกระบวนธรรมการทํางานของอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่จักเกิดต่อสืบเนื่องในองค์ธรรมต่อไปคือชรา  ก็จะเป็นไปดังต่อไปนี้ 

       อันจักทํางานต่อเนื่องแบบเกิดดับๆ...ดังภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ แบบที่ต่อเนื่อง และแสดงแบบเกิดดับๆๆ...ต่อสืบเนื่องกันในชรา(ชรา-มรณะ)ที่เกิดขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัย   กล่าวคือสังขารูปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุปัจจัยหรือไปทำหน้าที่เป็นรูปูาทานขันธ์ จึงวนเวียนเป็นวงจรของอุปาทานทุกข์ อันแสนเร่าร้อนเผาลน ภายในชราของปฏิจจสมุปบาท

ภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่จักเกิดใน ชรา อย่างค่อนข้างต่อเนื่อง

ธรรมารมณ์    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ใจ(รูปูปาทานขันธ์) anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์  anired06_next.gif เวทนูปาทานขันธ์

มโนกรรม           อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ในชรา วนเวียนเป็น                          

สังขารูปาทานขันธ์ มโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์                     สัญญูปาทานขันธ์

วงจรชราอันล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่ล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทาน

อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕   ได้แก่    รูปูปาทานขันธ์ = อุปาทานรูปขันธ์,     วิญญาณูปาทานขันธ์ = อุปาทานวิญญาณขันธ์

เวทนูปาทานขันธ์ = อุปาทานเวทนาขันธ์,     สัญญูปาทานขันธ์ = อุปาทานสัญญาขันธ์,     สังขารูปาทานขันธ์ = อุปาทานสังขารขันธ์ ที่ยังให้เกิดมโนกรรม

ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียดทั้งวงจรใหญ่ เพื่อประกอบการพิจารณา คลิกที่นี่  

        ชรา อันคือความแปรปรวน ตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว   ชราอันเป็นองค์ธรรมที่กำลังเสวยอุปาทานทุกข์อย่างเต็มรูปแบบ คือเป็นทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลนและมักเกิดอย่างวนเวียนคือฟุ้งซ่านจึงยาวนาน  แต่ถึงอย่างไรก็มรณะดับไปในที่สุด แต่ย่อมมีอาสวะกิเลสร่วมเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีไป  อันมี โสกะ(ความโศก ความเศร้า), ปริเทวะ(ครํ่าครวญ รําพัน อาลัย), ทุกข์(ทุกข์ต่างๆทางกาย), โทมนัส(ความทุกข์อันเกิดแต่ใจ), อุปายาส(ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ ขัดเคืองใจ)  กล่าวคือ เมื่อทุกข์นั้นเริ่มเกิดขึ้นแล้ว(ชาติ) ก็จะเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์(อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา)เช่นกัน คือเกิดการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป(ชราหรืออนิจจัง)ไปตามสภาวะความทุกข์นั้นๆ เป็นดังภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ที่แสดงข้างต้น  คือเกิดอุปาทานขันธ์๕ที่ปรุงแต่งหลายๆครั้งที่เนื่องสัมพันธ์ในเรื่องนั้นๆ  เกิดแล้วดับๆๆ....อย่างแปรปรวน   สิ่งใดเป็นไปตามอุปาทานความพึงพอใจของตัวของตนก็จะรู้สึกเป็นสุข   อุปาทานขันธ์๕ใดไม่เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวของตนก็รู้สึกเป็นทุกข์  เกิดดับๆๆ..วนเวียนเร่าร้อนอยู่เป็นวงจรอยู่เยี่ยงนี้   จึงเป็นภาวะที่เป็นสุข  หรือทุกข์ก็ได้  หรือทั้งสุขทั้งทุกข์คละเคล้ากันไปตามการคิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง  แต่ก็ล้วนแฝงความเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานเหมือนกัน แม้กระทั่งในความสุขทุกอย่าง   และข้อสําคัญคือเป็นไปไม่รู้ตัวหรือรู้ตัวแต่ไม่สามารถออกจากอำนาจอันแข็งแกร่งของภพที่เกิดขึ้นแล้ว ตามอำนาจอุปาทานที่ครอบงำได้

        ที่ชรานี้นี่เอง คือสภาวทุกข์ของสรรพสัตว์ ที่ได้ดำเนินกันเป็นอยู่ในชีวิตอยู่เนืองๆเป็นอเนก  เกิดขึ้นและดำเนินเป็นไปอยู่ตลอดเวลา  เป็นที่เกิดของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นอย่างวนเวียนเป็นวงจรดังข้างต้น จึงอยู่อย่างยาวนานและเป็นไปอย่างเผ็ดร้อนเผาลน   เพียงแต่เป็นไปแบบโดยไม่รู้ตัว แม้ที่บางครั้งเป็นไปในรูปแบบของความสุข  แต่ล้วนจะก่อทุกข์ในภาคหน้า เพราะเมื่อเกิดการมรณะหรือการดับแล้ว ย่อมเกิดปริเทวะคืออาการโหยไห้ อาลัยหา ให้ก่อทุกข์ขึ้นในภาคหน้าเป็นที่สุดนั่นเอง

        มรณะ แต่ในที่สุดตามสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง จึงต้องดับไป(มรณะหรือทุกขัง)ตามกฎพระไตรลักษณ์(ทุกขัง-ความคงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นอาการธรรมดา) แต่ถึงแม้ว่าทุกข์อุปาทานนั้นจะดับไปแล้ว  แต่ก็จะเก็บสั่งสมเป็นสัญญาความจําชนิดที่แฝงกิเลสต่างๆ(สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวอันหมายรวมทั้งความสุขและความทุกข์ที่ได้ดับไปแล้ว)หรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่าอาสวะกิเลส เก็บจำนอนเนื่องไว้ภายในจิตหรือใจ(เพียงรอวันที่จะกําเริบเกิดขึ้นใหม่อย่างแน่นอน)   หรือก็คือเก็บไว้ในรูปสัญญา(ความจํา)ชนิดมีกิเลสแอบแฝงนอนเนื่องในจิตใต้สํานึกนั่นเอง  อันถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ที่ยังคงค้างคา นอนเนื่อง หมักหมม อยู่ในจิตต่อไปอีกนานแสนนาน รอเวลาที่จะคุกรุ่นเป็นสังขารหรือกิเลสอันยังให้เกิดทุกข์ขึ้นมาใหม่โดยไม่รู้ตัว เพราะความละเอียดลึกซึ้งของอาสวะกิเลสดังที่กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น

        อาสวะกิเลส ที่เกิดการสั่งสมขึ้นเหล่านี้  ก็ไปเป็นเหตุปัจจัยหนุนให้วงจรปฏิจจสมุปบาทดำเนินหมุนเวียนต่อไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น  จึงเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่เช่นนี้ตลอดกาลนาน

ดูภาพอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ในชรา ขณะกําลังเกิดขึ้นหรือทํางานอยู่  คลิกที่นี่  

แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของ ชรา-มรณะ ในปฏิจจสมุปบาท

anired06_next.gif ย้อนกลับวงปฏิจจสมุปบาท

๑๒. เพราะอาสวะกิเลสเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชา  จึงมีสังขารขึ้นอีก

กลับสารบัญหน้า ปฏิจจสมุปบาท